Site icon Blue O'Clock

100 บทเรียน จาก Michael Dell ผู้ก่อตั้ง Dell Computer

Michael Dell

Michael Dell ผู้ก่อตั้ง Dell Technologies บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลก เจ้าของ Dell Computer และนี่คือ 100 ข้อคิด 100 บทเรียน ที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากเขา

  1. เมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง มีธุรกิจมากมายที่มักจะล้มหายตายจากไป เพราะไม่ยอมปรับตัว ดังนั้น การนั่งรอเฉย ๆ แล้วรอให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้น โดยไม่ทำอะไรเลยนั้น ไม่ใช่ไอเดียที่ดีเอาซะเลย ดังนั้น สิ่งที่คุณควรทำก็คือ เข้าใจสถานการณ์ซะก่อนว่า ณ ตอนนั้น มันเกิดอะไรขึ้น เพื่อที่จะได้เตรียมตัวเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องและเข้ากับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และในปัจจุบันความเร็วในการทำธุรกิจนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ business cycle ในปัจจุบันนั้นกำลังเร็วขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากการมาของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง
  2. Michael Dell บอกว่า หากคุณมีความหวาดกลัว และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นั้น เขาแนะนำว่า อย่าไปทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเลยจะดีกว่า เพราะคุณจะไม่มีความสุขกับการทำงานเลย ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น บริษัททุกบริษัทต่างก็กำลังกลายมาเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น แถมอัตราในการเปลี่ยนแปลงของบริษัทต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มไปในทิศทางนี้ก็เร็วขึ้นซะด้วย ดังนั้นไม่ว่ายังไงคุณก็จะต้องยอมรับมัน คุณจะต้องรู้สึกสบายใจกับการที่จะต้องเผชิญกับความกลัวและการเปลี่ยนแปลง เพราะนั่นคือโลกที่แท้จริงที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง
  3. สิ่งที่ Michael Dell เขาได้เรียนรู้จากการบริหารในองค์กรอย่าง DELL นั้น ก็คือ การที่เขาพยายามเข้าใจถึงปัญหาของลูกค้าที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขนั้น พวกเราจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้กับลูกค้าอย่างไรได้บ้าง ตัวของเขานั้นจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและมีส่วนร่วมกับทีมอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้ทีมนั้นรู้สึกตื่นเต้นกับภารกิจที่พวกเขาได้รับ และจัดการให้การดำเนินงานนั้นเกิดขึ้นจริง สามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้จริง มันเป็นการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า แล้วในท้ายที่สุดสิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลดีต่อบริษัท สร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้แก่บริษัทไปโดยปริยาย
  4. การมีเป้าหมาย การมีภารกิจ พันธกิจ ของบริษัทนั้น มันยิ่งใหญ่เกินกว่า ที่จะตั้งเป้าหมายเป็นแค่เพียงตัวเลข ว่าจะต้องได้ยอดขายเท่านั้นเท่านี้ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ การที่ทุกคนอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำเป้าหมาย เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งนั้นมันจะทำให้พวกเขาอยากลุกออกจากเตียงในทุก ๆ เช้า เพื่อมาทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ
  5. เทรนด์และโอกาสทางธุรกิจในอนาคตทาง Michael Dell บอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้กำลังจะเชื่อมกันด้วย AI ซึ่ง AI จะเข้ามาจัดการระบบระเบียบข้อมูลในปริมาณที่มหาศาลผ่านการเชื่อมต่อด้วย 5G ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลกนี้ ผ่านพวก microcontroller microprocessor ที่จะถูกฝังอยู่ในสิ่งทุกสิ่งอย่างทางกายภาพ ซึ่งนั่นหมายความว่า ต้นทุนในการทำสิ่งเหล่านี้จะถูกลง ดังนั้นหลายสิ่งหลายอย่างในทุก ๆ อุตสาหกรรม ที่เทคโนโลยีที่แม้ว่าจะยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้ก็ยังไม่สามารถทำได้ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา อาจจะต้องนำมาคิดใหม่ และนี่คือยุคเริ่มต้นของยุคใหม่เท่านั้นเอง
  6. Michael Dell เล่าว่า บริษัท Dell Technologies นั้น ไม่ได้ขายเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ประกอบไปด้วย Hardware, Software และ Services เข้าด้วยกัน แต่เริ่มแรกสุดนั้น ก็ต้องเริ่มจาก Hardware ที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เปรียบเสมือนเป็นโครงสร้างพื้นฐานเสียก่อน จากนั้นก็นำ Software และ Services นำเสนอต่อลูกค้าต่อไป กลายเป็น IT Solution แบบครบวงจร
  7. Michael เล่าว่า เขาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ช่วงมัธยมต้น ในวิชาคณิตศาสตร์ที่คุณครูนั้นทำการป้อนคำสั่งเข้าไปใน Machine ตัวหนึ่ง แล้วมันก็สามารถแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ออกมาได้ มันทำให้เขาทึ่งมาก จนกระทั่งในปี 1981 เมื่อตอนที่บริษัท IBM ได้เปิดตัว IBM PC คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมา นั่นมันทำให้เขารับรู้ทันทีได้ว่า ในตลาดกำลังจะมีการขายคอมพิวเตอร์อย่างจริงจังโดยเฉพาะในกลุ่มของธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถจ่ายในราคาไม่กี่พันดอลล่าร์ฯ ก็สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปช่วยเสริมศักยภาพในการทำธุรกิจของแต่ละบริษัทได้ แต่ก็มีเพียงไม่กี่บริษัทที่จะมีกำลังซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในราคาที่สูงเหล่านั้นได้ จนกระทั่งเขาได้ลองนำเครื่อง PC มาแกะดูส่วนประกอบต่าง ๆ เขาก็พบว่า ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ขายกันที่ $3,000 ดอลล่าร์ฯ นั้นมันประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มาจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มีต้นทุนแค่เพียง $500 ดอลล่าร์ฯ เท่านั้นเอง มันทำให้ตัวของเขารู้สึกว่า ราคามันแรงเกินไป ซึ่งการประกอบคอมพิวเตอร์นั้น สามารถเริ่มต้นได้จากไม่กี่ร้อยดอลล่าร์ฯ แล้วค่อย ๆ อัพเกรด แบบที่รถยนต์อัพเกรดกันได้ เขาจึงเริ่มต้นสร้างบริษัทเพื่อผลิตคอมพิวเตอร์ขายเองในปี 1984 ในช่วงที่เขาอายุได้เพียง 19 ปี ภายในหอพักในวิทยาลัย ด้วยเงินเริ่มต้นเพียง $1,000 ดอลล่าร์ฯ และหลังจากนั้นไม่นานเขาก็ลาออกกลางคันมาทำธุรกิจเต็มตัว
  8. Michael บอกว่า หลัก ๆ แล้วที่บริษัท Dell นั้น จะโฟกัสที่ลูกค้าที่เป็นองค์กรเป็นหลัก เพราะเม็ดเงินส่วนใหญ่จะอยู่ที่นั่น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนใหม่ขึ้นมา ในมือถือเครื่องนั้นจะไม่มีอะไรเลยนอกจากเครื่องเปล่า ๆ แต่เมื่อมือถือเครื่องนั้นทำการโหลดแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ บริการต่าง ๆ ลงไปในนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์ในการดาวโหลดหรืออัพโหลดข้อมูลเหล่านั้น ดังนั้น การไปโฟกัสที่การสร้าง infrastructure เซิร์ฟเวอร์ หรือบริการ cloud เพื่อรองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น มีมูลค่ามหาศาลเป็นอย่างมาก
  9. Michael Dell บอกว่า จำนวนตำแหน่งอัตราการจ้างงานใหม่ ๆ ทั่วโลกกว่า 70%-90% นั้น เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการ เกิดจากเหล่าบรรดาธุรกิจ SMEs ต่าง ๆ ที่กำลังเติบโต ที่จะก่อให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ ๆ นับพันล้านตำแหน่ง ดังนั้น นอกจากตัวของเขาจะชอบช่วยเหลือในด้านการศึกษาแล้วนั้น เขายังสนใจที่จะพยายามช่วยเหลือให้เหล่าบรรดาผู้ประกอบการทั้งหลาย สามารถลืมตาอ้าปาก สามารถยืนหยัดในธุรกิจของตนเองได้ ซึ่งมันจะส่งผลดีต่อโลกของเรา
  10. Michael Dell บอกว่า ฮีโร่ของเขาที่เป็นไอดอลในการทำธุรกิจก็คือ Steve Jobs และ Bill Gates ที่พวกเขาเป็นผู้ประกอบการที่มาเปลี่ยนโลก สร้างธรุกิจใหม่ ๆ พลิกโฉมแก่โลกใบนี้
  11. Michael Dell เชื่อว่าหากธุรกิจของคุณสามารถแก้ปัญหาที่สำคัญให้ลูกค้าได้ และยังไม่มีใครแก้ได้ดีเท่า ธุรกิจของคุณก็จะสามารถดำรงอยู่และเติบโตต่อไปได้
  12. องค์กรใดที่ไม่ยอมปรับตัว ไม่พยายามเข้าใจความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป สุดท้ายลูกค้าก็จะหันไปใช้บริการจากที่อื่นแทน เพราะเขามองว่าในโลกที่มีการแข่งขันสูง หากคุณไม่สามารถปรับตัวและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ก็ไม่มีเหตุผลที่ลูกค้าจะต้องอยู่กับคุณต่อไป
  13. ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาและความท้าทายที่ลูกค้ากำลังเผชิญ เพื่อนำมาพัฒนานวัตกรรมที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด
  14. ต้องคิดค้นสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ดีกว่าคนอื่น และทำให้ลูกค้าอยากมาใช้บริการเราต่อเนื่อง นั่นเป็นหนทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่ง Michael Dell ชี้ให้เห็นว่าแค่คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้ได้นั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้ซ้ำ นั่นจึงจะเป็นพื้นฐานของความสำเร็จที่ยั่งยืน
  15. Michael Dell มองว่า ถึงแม้ Dell Technologies จะเติบโตมาอย่างยาวนาน แต่ 40 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นเท่านั้น เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว เขายังเชื่อว่าโอกาสที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกในทุก ๆ ด้านด้วย technology นั้นมีอยู่มากมายมหาศาลรออยู่ในอนาคต
  16. Michael Dell เน้นย้ำว่าการมี “วัฒนธรรมองค์กร” ที่ดี เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีเสียอีก เพราะวัฒนธรรมคือสิ่งที่หล่อหลอมให้เกิดทีมงานและผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเขาเชื่อว่า DNA หรือวัฒนธรรมองค์กรของ Dell นั่นเองที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้พนักงานมีแรงบันดาลใจคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นเลิศออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ
  17. การเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ รู้จักปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น คือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถรับมือและเติบโตได้ท่ามกลางการแข่งขันในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  18. ความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และการรักษาชื่อเสียงของบริษัท เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้เวลาสร้างขึ้นมานาน แต่อาจสูญเสียไปได้ในพริบตา จึงต้องหวงแหนรักษาไว้ให้ดี
  19. ในยามที่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ บางครั้งก็ต้องใช้สัญชาตญาณ ประกอบกับประสบการณ์ที่สั่งสมมา ไม่ใช่แค่คำนวณตัวเลขให้ออกมาสวยงาม บางทีการตัดสินใจที่ดีที่สุดอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ให้ผลกำไรงามที่สุดเสมอไป
  20. แม้การทำธุรกิจจะต้องมีการแข่งขัน แต่การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม ให้ความสำคัญกับการศึกษา และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนในชุมชนก็เป็นสิ่งที่ผู้นำธุรกิจไม่ควรมองข้าม
  21. Dell นั้นประสบความสำเร็จเพราะมีวิธีการขายคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ ในขณะที่บริษัทอื่นเน้นขายผ่านร้านค้าปลีกหรือผู้แทนจำหน่าย Dell กลับเลือกที่จะขายตรงให้กับลูกค้าแบบ direct sales ผ่านทางโทรศัพท์และเว็บไซต์ ซึ่งการขายตรงแบบนี้ทำให้ Dell สามารถประหยัดต้นทุนได้มาก เพราะไม่ต้องแบ่งกำไรให้กับพ่อค้าคนกลาง ไม่ต้องสต็อกสินค้าเยอะ สามารถผลิตสินค้าตามออเดอร์ที่ได้รับ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากสินค้าค้างสต็อก นอกจากนี้ Dell ยังสามารถรับฟีดแบ็กจากลูกค้าได้โดยตรง นำมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น ตอบสนองความต้องการได้รวดเร็วกว่าคู่แข่ง ด้วยความได้เปรียบด้านต้นทุนและความรวดเร็วในการปรับตัวนี้ ทำให้ Dell ยังเติบโตได้ดีถึง 15% ในปีที่ตลาด PC โดยรวมกำลังแย่ ลดลงถึง 5% และยังครองความเป็นผู้นำตลาดได้อย่างต่อเนื่อง สรุปง่ายๆ ก็คือ โมเดลขายตรงของ Dell ช่วยประหยัดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และปรับตัวได้ไวกว่าคู่แข่ง จึงยังเติบโตได้ดีแม้ตลาดจะชะลอตัว จุดนี้แหละเป็นความได้เปรียบที่ทำให้ Dell ประสบความสำเร็จ
  22. นอกจากตลาดในประเทศสหรัฐฯ ที่ Dell มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 30% แล้ว Michael Dell ยังมองว่าตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน อินเดีย บราซิล ฯลฯ คือตลาดที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก เพราะ Dell ยังมีส่วนแบ่งเพียงแค่น้อยนิดในตลาดเหล่านั้น
  23. Dell พยายามรักษาวัฒนธรรมแบบ entrepreneurial ที่สร้างบรรยากาศในองค์กรให้พนักงานรู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของกิจการ เอาไว้ ถึงแม้จะเติบโตเป็นบริษัทใหญ่แล้วก็ตาม โดยกระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังทีมงานแต่ละส่วน ไม่รวมศูนย์ที่ส่วนกลางจนเกินไป ให้อิสระทีมได้คิดค้นทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าโดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง
  24. Michael Dell ให้ข้อคิดว่า บริษัทด้านเทคโนโลยี จำเป็นต้องร่วมมือกับภาครัฐอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดนโยบายที่เอื้อให้ธุรกิจ IT เติบโตได้ดี ยกตัวอย่างเช่น การผลักดันให้มีนโยบายพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) ให้ครอบคลุมมากขึ้น, มีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ดิจิทัล (Digital Rights), กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy) ของผู้ใช้ และนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งหากภาครัฐเห็นความสำคัญและออกนโยบายที่เหมาะสมมาส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้ ก็จะช่วยให้อุตสาหกรรม IT ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สามารถเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและยั่งยืนได้ในระยะยาว Dell ในฐานะผู้นำธุรกิจไอทีระดับโลก จึงให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับรัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวม

  25. Dell จะเข้าไปทำตลาดใหม่ก็ต่อเมื่อ 1) ตลาดนั้นมีขนาดใหญ่ 2) สามารถทำกำไรได้ 3) มีมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ชัดเจน
  26. Michael Dell ยอมรับว่าเคยทำผิดพลาดหลายครั้ง เช่น เคยผันตัวไปขายผ่านห้างค้าปลีกซึ่งก็ไม่ได้ผลดี แต่ก็เรียนรู้ได้เร็วและแก้ไขทันก่อนที่จะกลายเป็นวิกฤตร้ายแรง ความผิดพลาดจึงเป็นบทเรียนสำคัญให้ Dell เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
  27. ในฐานะผู้ประกอบการ จงหมั่นตั้งคำถามกับตัวเองอยู่เสมอว่าในอนาคตอะไรจะเป็นวิธีที่ดีกว่าในการทำธุรกิจ เราจะคิดค้นมันขึ้นมาได้ก่อนคนอื่นหรือไม่ เพราะธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคือธุรกิจที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เสมอ
  28. Michael Dell มองว่าการแข่งขันในตลาด IT จะทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหลายบริษัทจะพยายามควบรวมกิจการกัน เพื่อเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน (Economy of Scale) และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เรียกว่ายุคของการรวมศูนย์ (Consolidation) ในวงการ IT นั่นเอง
  29. Dell ได้เพิ่มงบประมาณไปที่การวิจัยและพัฒนา (R&D – Research and Development) สำหรับสินค้ากลุ่มเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับองค์กร และกลุ่มโซลูชันสำหรับลูกค้าบริษัท (Enterprise Solution) โดยใช้งบไปถึงครึ่งหนึ่งของงบ R&D ทั้งหมดเลยทีเดียว สาเหตุที่ Dell ให้ความสำคัญกับสินค้าสองกลุ่มนี้ เพราะมองว่าเป็นสินค้าที่ทำกำไรได้มาก (High Margin Products) และตลาดยังมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต

  30. Michael Dell เชื่อว่าความล้มเหลวคือส่วนประกอบสำคัญของความสำเร็จ หากไม่เคยล้มเหลวเลยแสดงว่าเราไม่ได้ลองอะไรใหม่ ๆ เขาจึงสนับสนุนให้ทีมงานกล้าลองผิดลองถูก เพราะนั่นคือวิธีการเดียวที่จะนำไปสู่การค้นพบนวัตกรรมและโอกาสใหม่ ๆ
  31. ทุกวันนี้ Michael Dell รู้สึกสบายใจมากขึ้นที่จะเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวและความผิดพลาดในอดีต ซึ่งแตกต่างจากสมัยที่เขียนหนังสือเล่มแรกเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวุฒิภาวะและประสบการณ์ที่มากขึ้น ทำให้กล้าเปิดเผยมุมมองที่เปราะบางมากขึ้นโดยไม่กลัวการถูกตัดสิน
  32. ช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดของ Dell คือตอนที่บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดดจาก 890 ล้านดอลลาร์เป็น 2,100 ล้านดอลลาร์ในเวลาเพียงปีเดียว ซึ่งในตอนนั้นบริษัทยังไม่พร้อมรับมือการเติบโตระดับนี้ แต่จากมุมมองย้อนหลังพบว่าหากไม่เติบโตเร็วขนาดนี้ Dell อาจไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งและอยู่รอดมาถึงทุกวันนี้ได้
  33. มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่ Dell ตัดสินใจซื้อกิจการของตัวเอง (go private) ที่เปลี่ยนจาก public company หรือบริษัทมหาชน ไปเป็นบริษัทเอกชนหรือแบบ private company ก็เพื่อปลดล็อคศักยภาพของบริษัท เร่งการลงทุนในด้านใหม่ ๆ และเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลกับแรงกดดันระยะสั้นจากนักลงทุนและตลาดหุ้น ซึ่งแม้จะมีความเสี่ยงและความยากลำบาก แต่ท้ายที่สุดก็พิสูจน์ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
  34. Michael Dell บอกว่าการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดในชีวิตเขา คือการลงทุน 1,000 ดอลลาร์เพื่อเริ่มต้นบริษัท Dell ในสมัยเรียนมหาวิทยาลัย รองลงมาคือความพยายามของแม่เขาที่จ้างครูมาสอนแก้ปัญหาการติดอ่างตั้งแต่ในวัยเด็ก ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะเป็นอุปสรรคในอาชีพการงานของเขาในภายหลัง
  35. ในมุมมองของ Michael Dell นั้นมองว่าคู่แข่งก็เป็นแรงจูงใจที่ดี แต่การเปรียบเทียบกับคู่แข่งมากเกินไปอาจจำกัดศักยภาพของเรา เพราะคู่แข่งอาจไม่ได้ดีพอที่จะเป็นเป้าหมาย เราจึงควรมุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้า มากกว่าแค่ไล่ตามคู่แข่ง เพราะลูกค้าต่างหากที่จะบอกเราได้ดีที่สุดว่าต้องทำอะไรต่อไป
  36. แม้ Michael Dell จะเป็นคนเก่งในด้านธุรกิจ แต่เขาก็ยอมรับว่าเป็นคนขี้อายและเก็บตัวโดยธรรมชาติ การต้องพูดในที่สาธารณะจึงเป็นเรื่องท้าทายและไม่ใช่บุคลิกที่แท้จริงของเขา แต่เขาก็ฝืนทำเพราะรู้ว่ามันจำเป็น และพยายามฝึกฝนตัวเองจนเก่งขึ้นเรื่อย ๆ
  37. วิธีการ “เติมพลังงาน” ที่ดีที่สุดสำหรับ Michael Dell คือการได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ รวมถึงการออกกำลังกายและการเดินเล่นท่ามกลางธรรมชาติเป็นประจำ ซึ่งช่วยให้จิตใจแจ่มใสพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ
  38. ในช่วงวัยรุ่น Michael Dell เคยถูกจับได้ว่าขับรถเร็วและทำผิดกฎจราจรบ่อยครั้งจนต้องเข้าไปพบตำรวจ ซึ่งเขารู้สึกแย่มากที่ทำให้ครอบครัวต้องเสียใจ เหตุการณ์นี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนให้เขาปรับปรุงตัวและรู้จักรับผิดชอบมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คนเก่งก็เคยทำผิดพลาดได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องกล้ายอมรับและเรียนรู้จากมัน
  39. Michael Dell แนะนำว่า คุณควรกล้าเสี่ยงมากขึ้น เขามองว่ายังมีอีกหลายคนที่มีศักยภาพแต่ไม่กล้าลองทำอะไรใหม่ๆ เพราะกลัวล้มเหลวและอยากทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบตั้งแต่ครั้งแรก ทั้งที่ความจริงแล้วการเรียนรู้ผ่านความผิดพลาดนี่แหละจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในท้ายที่สุด
  40. Michael Dell เชื่อว่าการมีความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) เป็นคุณสมบัติสำคัญของนักธุรกิจ เพราะมันจะผลักดันให้เราศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา สำหรับเขาความอยากรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เด็ก เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เขามาถึงจุดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ได้
  41. Michael Dell ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีคู่คิดหรือเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ยากลำบาก อย่างในกรณีการทำ privatization ที่เปลี่ยนจากบริษัทมหาชนกลับมาเป็นบริษัทเอกชนในช่วงหนึ่งนั้น Jamie Dimon ซีอีโอของ JP Morgan Chase ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่คอยให้การสนับสนุนเขาตลอดมา
  42. Michael Dell ไม่คิดว่าการตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อเริ่มทำธุรกิจ Dell เป็นความเสี่ยงที่ใหญ่หลวงนัก เพราะมหาวิทยาลัยเท็กซัสอนุญาตให้ลาออกไปทำธุรกิจได้ชั่วคราวแล้วกลับมาเรียนใหม่ได้ โดยไม่มีผลเสียทางการศึกษา เขาจึงตกลงกับพ่อแม่ว่าถ้าธุรกิจไปได้ดีก็จะทำต่อ แต่ถ้าไม่สำเร็จก็จะกลับไปเรียนให้จบ
  43. แม้พ่อแม่ของ Michael Dell จะไม่เห็นด้วยที่เขาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อมาทำธุรกิจ แต่สุดท้ายเขาก็ตัดสินใจยืนยันที่จะทำตามความฝันของตัวเอง แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านไป 1-2 ปี พ่อแม่ก็เริ่มเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่เขาเลือกมากขึ้น
  44. Michael Dell มักจะพูดคุยและทำงานพร้อมทานมื้อเย็นที่บ้าน แทนที่จะออกไปทานข้างนอก เพื่อที่จะได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวและลูก ๆ ด้วย ลูกชายของเขายังได้มาร่วมรับประทานอาหารเย็นกับแขกของ Dell ด้วย และได้เรียนรู้หลายอย่างจากประสบการณ์นั้น
  45. สิ่งสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานในองค์กร ได้แก่ 1) การมีพันธกิจที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าแค่ผลกำไร ที่ทำให้พนักงานอยากอุทิศตัวเพื่อมัน 2) ทำให้พนักงานรู้สึกว่าสามารถเติบโตและแสดงศักยภาพได้เต็มที่ในองค์กร 3) สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง ให้ทุกคนมีส่วนร่วมและประสบความสำเร็จได้อย่างเท่าเทียม
  46. Michael Dell เชื่อว่าคนเราจำนวนมากไม่กล้าลองทำอะไรใหม่ ๆ เพราะกลัวความล้มเหลว และอยากให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่ทีแรก ทั้งที่จริงแล้วการทดลองและเรียนรู้ผ่านความผิดพลาดต่างหากจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เราจึงควรกล้าเสี่ยงและลองผิดลองถูกบ้าง
  47. Dell มีคำกล่าวติดปากว่า “ถ้ากำลังจะผ่านนรก ก็อย่าหยุดเดิน” (if you’re going through hell, keep going) ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันอุปสรรคไปให้ได้
  48. Michael Dell คิดว่าสิ่งสำคัญที่ควรปลูกฝังให้ทุกคนทำตาม หากออกกฎหมายบังคับได้ คือการให้มีความกตัญญูต่อสิ่งที่ตัวเองมี และรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง โดยไม่โทษคนอื่น แต่ลุกขึ้นมาลงมือทำด้วยตัวเองเพื่อให้ความฝันเป็นจริง
  49. แม้คนภายนอกมักมองว่าการตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัย การทำให้ Dell กลายเป็นบริษัทเอกชน หรือการควบรวมกิจการครั้งใหญ่ เป็นความเสี่ยงครั้งสำคัญของ Michael Dell แต่สำหรับเขาแล้วมันไม่ใช่ความเสี่ยงที่ใหญ่โตเกินไปเลย เพราะเขามองเห็นโอกาสที่อยู่เบื้องหลังความเสี่ยงนั้นอย่างชัดเจน และมั่นใจว่าจะต้องผ่านมันไปได้แน่นอน
  50. ตอนเริ่มก่อตั้งบริษัท Michael Dell ยอมรับว่าเขาไม่มีสมดุลชีวิตเลย เพราะทำงานหนักตั้งแต่เช้ายันดึกทุกวัน แต่พอบริษัทเริ่มเติบโตและมีระบบการทำงานที่ดีแล้ว เขาก็ปรับตัวมากขึ้น รู้จักใช้เวลาอย่างคุ้มค่าและเลือกจุดที่จะทุ่มเทพลังงานลงไป เพื่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด ไม่ใช่แค่ทำงานหนักไปเรื่อยโดยไร้จุดหมาย
  51. Michael Dell เล่าว่าเขาเคยทำงานที่ร้านอาหารจีนตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยเริ่มจากล้างจาน ก่อนจะค่อย ๆ ก้าวหน้าขึ้นเป็นผู้ช่วยบริกรและพนักงานต้อนรับ แต่สิ่งที่ได้มากกว่าค่าจ้างคือประสบการณ์การทำงานจริงตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญให้เขาเติบโตมาเป็นนักธุรกิจที่แข็งแกร่งทั้งความคิดและจิตใจ
  52. Dell มีทีมวิศวกรฝีมือดี ที่สามารถต่อวงจรด้วยมือบนแผงวงจรคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ ของบริษัทได้ Michael Dell ยังเก็บแผงวงจรพิมพ์ที่ประกอบด้วยมือโดยวิศวกรคนแรกของบริษัทไว้เป็นที่ระลึกถึงจุดเริ่มต้นของ Dell ซึ่งแม้จะดูเรียบง่าย แต่กลับมีคุณค่าทางใจมหาศาล
  53. Michael Dell และภรรยาตั้งใจวางแผนชีวิตเพื่อจะมีครอบครัวและลูกหลายคน โดยไม่อยากให้การทำงานหนักมาขวางกั้นความสุขครอบครัว เขายอมรับว่าถ้าเน้นแต่งานไปอีก 10 ปีโดยไม่คิดมีครอบครัวละก็ สุดท้ายเขาก็จะรู้สึกไม่มีความสุขอยู่ดี จึงต้องวางแผนชีวิตให้ครอบคลุมทั้งสองด้านนี้
  54. หนึ่งในบทเรียนจากความผิดพลาดครั้งสำคัญของ Dell คือการวางแผน supply chain ผิดพลาด ตั้งแต่การสั่งซื้อวัตถุดิบ การผลิต จนถึงส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า จนทำให้สินค้าขาดตลาด ทั้ง ๆ ที่ลูกค้าต้องการสูง เหตุการณ์นี้เกือบทำให้ Dell ต้องปิดกิจการ เพราะไม่มีสินค้าขาย ไม่มีรายได้เข้ามา มีแต่รายจ่าย จนสุดท้ายทำให้ระบบ supply chain ของ Dell กลายเป็นหนึ่งในจุดแข็งที่ทำให้ Dell โดดเด่นกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ ในธุรกิจคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว เพราะสามารถจัดการวางแผนได้แม่นยำ ส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา โดยมีสต็อกค้างน้อยที่สุด จึงประหยัดต้นทุนได้มาก
  55. Michael Dell ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของการเชื่อในเสียงชื่นชมและคำสรรเสริญจากภายนอกมากเกินไป เช่น มีนิตยสารที่ยกย่องให้เป็น CEO ยอดเยี่ยม จนอาจเคลิ้มและชะชะล่าใจ จังหวะนั้นนั่นแหละอาจเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความล้มเหลวได้
  56. ทุกคนต้องการแรงบันดาลใจจากความหลงใหล (passion) ในการทำสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่แข็งแกร่งกว่าปัจจัยอื่น ๆ และในฐานะผู้นำ สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ทีมงานรู้สึกว่างานที่พวกเขากำลังทำนั้นมีความหมาย มีความสำคัญ และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกได้ นั่นจะกระตุ้นให้พวกเขาทุ่มเทเพื่อภารกิจนั้นอย่างเต็มที่
  57. องค์กรที่ดีควรเป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะมีภูมิหลังหรือความชอบส่วนตัวแตกต่างกันอย่างไร ผู้นำจึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและเป็นมิตร ที่ใครก็ตามสามารถใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยเรื่องเพศ เชื้อชาติ หรือความแตกต่างใด ๆ
  58. ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต้องรู้จักปรับตัวให้ไว มิฉะนั้นอาจถูกคู่แข่งที่คล่องตัวกว่าแซงหน้าไปอย่างรวดเร็ว Michael Dell เปรียบเปรยว่าอยู่ในอุตสาหกรรมนี้เหมือนอยู่บนสนามแข่ง “ต้องเร็วหรือตาย ต้องเปลี่ยนแปลงหรือล่มสลาย” (quick or dead, change or die) เลือกเอา
  59. ผู้ประกอบการและนักลงทุนที่กล้าเสี่ยงในเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศและของโลก เพราะจะช่วยผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ เช่น พลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม หรือระบบสาธารณสุข ดังนั้นสหรัฐฯ ควรภูมิใจและสนับสนุนคนกลุ่มนี้ ไม่ใช่มองว่าเป็นภัยคุกคามต่อระบบเดิม
  60. ธุรกิจที่ดำเนินงานโดยมีเป้าหมายเพื่อสังคม (social purpose) เป็นแกนหลัก กำลังมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก บางครั้งอาจส่งผลกระทบได้มากกว่าองค์กรการกุศลเสียอีก เพราะมีความยืดหยุ่น คล่องตัว และสามารถขยายผลได้รวดเร็วกว่า
  61. ในการทำธุรกิจ หากเราเลือกโฟกัสและทุ่มเทพลังงานไปกับสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ และสร้างผลกระทบได้ ย่อมดีกว่าการพะวงกับสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ดังเช่นช่วงที่หลายคนไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสม ทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา การทำงาน หรือการเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาที่ Dell เลือกมุ่งแก้ไข เพราะเชื่อว่าจะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้
  62. Michael Dell เชื่อว่าการมีคู่ชีวิตที่ดี เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จ ทั้งในฐานะที่ปรึกษาและ sounding board ที่ช่วยให้มองเห็นมุมมองที่แตกต่าง รวมถึงการที่มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงยาวนานกว่า 32 ปี ก็เป็นจุดยึดเหนี่ยวให้เขาไม่หลงทางท่ามกลางความสำเร็จ
  63. Michael Dell เชื่อว่าการมีคนรักที่ดีเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จ ทั้งในฐานะที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำที่ช่วยให้เขามองเห็นมุมมองที่แตกต่าง นอกจากนี้การมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงและยาวนานมากกว่า 35 ปี ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขามั่นคงและไม่หลงทางท่ามกลางความสำเร็จของเขา
  64. นอกจากการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นประเด็นสำคัญในแง่ความเท่าเทียม ช่วยเปิดโอกาสทางการศึกษาและการทำงานให้กับผู้คนแล้ว Michael Dell ยังเชื่อว่ามันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ของโลกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม หรือการพัฒนาระบบสุขภาพให้ดีขึ้น
  65. การลงทุนกับโรงพยาบาลเด็ก Dell Children’s Hospital เกิดจากปัญหาการขาดแคลนสาธารณสุขที่รองรับการเติบโตของเมืองออสตินที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกทศวรรษ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเชิงระบบด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนได้ในระยะยาว
  66. Michael Dell มองว่าหนึ่งในสิ่งดีที่อาจเกิดขึ้นหลังโควิด-19 คือการที่ผู้คนจะมีความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ต่อกันมากขึ้น เมื่อเห็นว่าทุกคนต่างก็ได้รับผลกระทบ และตระหนักว่าทุกชีวิตมีความเชื่อมโยงพึ่งพากัน ซึ่งหากเราช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก็จะนำไปสู่การสร้างโลกที่ดีขึ้นได้
  67. Michael Dell เชื่อว่างานที่สำคัญและภาคภูมิใจที่สุดของเขาและภรรยา คือผลงานทางด้านการกุศลผ่านมูลนิธิ ไม่ใช่แค่ความสำเร็จทางธุรกิจ
  68. การเลี้ยงดูลูกให้ซึมซับแนวคิดเรื่องการเป็นผู้ให้ผ่านการพาไปทำกิจกรรมการกุศลด้วยกันตั้งแต่เด็ก ทำให้ลูก ๆ ของ Michael และ Susan Dell เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสาธารณะ อยากช่วยเหลือสังคมในแบบของตัวเอง โดยที่พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องบังคับ
  69. Michael Dell และ Susan Dell ได้ตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศล (Dell Foundation) ขึ้น เพื่อตอบแทนสังคมจากความสำเร็จที่ได้รับ และมองว่านี่จะเป็นเรื่องที่เขาจะทุ่มเทมากขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับโลกใบนี้
  70. มูลนิธิ Dell ให้ความสำคัญกับเรื่อง “ความโปร่งใส” มาก ยินดีแบ่งปันประสบการณ์ทั้งความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผ่านโครงการ Lessons Learned เพื่อให้บรรดามูลนิธิอื่น ๆ สามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ได้ เพราะเชื่อว่าการแบ่งปันข้อผิดพลาดจะช่วยไม่ให้คนอื่นเดินซ้ำรอยเดิม นำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้ในระยะยาว
  71. Michael Dell มองว่าองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีโครงการ CSR และกิจกรรมจิตอาสาที่ดี ก็สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้ไม่แพ้มูลนิธิเลย ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไหน ทุกคนล้วนมีพลังที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงโลกได้ในแบบของตัวเอง
  72. มูลนิธิ Dell เชื่อมั่นในการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาครัฐ และมูลนิธิอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และบางครั้งก็ร่วมมือกันแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม
  73. Michael Dell มองว่าบริษัทส่วนใหญ่ทุกวันนี้กำลังกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีไปหมดแล้ว ดังนั้นผู้นำที่ไม่กล้าเผชิญความเปลี่ยนแปลงและไม่ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็จะประสบปัญหาในการบริหารงานแน่นอน
  74. Dell เชื่อว่าพนักงานทุกคนควรมีส่วนร่วมกับพันธกิจขององค์กร ที่มากกว่าแค่การทำกำไร แต่เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้สังคม ซึ่งจะกระตุ้นแรงบันดาลใจให้พนักงานทุ่มเทและผูกพันกับงานมากขึ้น
  75. Dell Technologies ยังคงเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยลูกค้าเป็นศูนย์กลาง โดยพยายามแก้ปัญหาให้กับลูกค้า และมีการคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ Dell เติบโตอย่างยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้
  76. Michael Dell มองว่าเทคโนโลยี AI กำลังเปลี่ยนแปลงโลก และจะเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สำคัญในทศวรรษหน้า โดยมีพื้นฐานมาจากปัจจัยหลักคือ การเพิ่มขึ้นของข้อมูลอย่างมหาศาล ซึ่งกำลังเป็นความท้าทายและโอกาสสำหรับทุกธุรกิจที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  77. การทำธุรกิจต้องกล้าที่จะทำผิดพลาด แล้วเรียนรู้จากมัน ไม่อย่างนั้นจะไม่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น ต้องเปิดใจทดลอง ลองผิดลองถูก และปรับตัวไปเรื่อย ๆ
  78. ผู้นำที่แท้จริงไม่ใช่แค่คนที่มีตำแหน่ง แต่เป็นคนที่คนอื่นอยากติดตาม เพราะเขาสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ชี้ทางไปสู่อนาคต และช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จได้
  79. ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การยึดติดกับ “standard” หรือมาตรฐานเดิม ๆ อาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป บางครั้งเราต้องกล้าที่จะสร้างนวัตกรรมที่แตกต่าง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้า แม้จะไม่ตรงกับสิ่งที่เคยเป็นมาตรฐานมาก่อนก็ตาม
  80. Michael Dell ยังเชื่อมั่นในบทบาทของ “ตลาดเสรี” (free market) ที่จะช่วยกระตุ้นการแข่งขัน นวัตกรรม และขยายขนาดของเศรษฐกิจโดยรวมได้ดีที่สุด แม้จะยอมรับว่าไม่ใช่ระบบที่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ยังไม่เห็นระบบไหนที่ดีกว่านี้
  81. Michael Dell ยังคงเชื่อมั่นและมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าต่อไป เพื่อ “ประชาธิปไตยการเข้าถึงเทคโนโลยี” (democratize access to technology) ให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากขึ้น ในราคาที่ถูกลง ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และความเจริญรุ่งเรืองของสังคมในระยะยาว
  82. Michael Dell สนับสนุนให้คนหนุ่มสาวปัจจุบันเรียนรู้ทักษะด้านการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อย ๆ
  83. สิ่งสำคัญคือต้องทำในสิ่งที่ตัวเองรักและมีใจรักอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ทำตามกระแสหรือเพราะคนอื่นบอกว่ามันเจ๋ง เพราะความหลงใหลและความสนใจจริง ๆ จะเป็นแรงผลักดันให้เราค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ได้
  84. Michael Dell มองว่าสิ่งที่น่าเสียดายก็คือ หลังจากที่มนุษย์เหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จในปี 1969 ความก้าวหน้าด้านอวกาศหลังจากนั้นค่อนข้างจำกัด ทั้ง ๆ ที่เทคโนโลยีในด้านอื่นก้าวหน้าไปมาก ดังนั้นเขาอยากเห็นความพยายามและความร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อให้เกิดการก้าวกระโดดครั้งใหม่ด้านอวกาศ
  85. Michael Dell เล่าว่าในช่วงต้นของการทำธุรกิจ เขาไม่ได้คิดว่าบริษัทจะโตแค่ไหน เพราะมุ่งแค่คิดทีละก้าว คิดว่าจะขยายแค่ 10 เท่าจากที่เป็นอยู่ คิดแต่ละขั้นไป ไม่คิดไกลถึง 100 หรือ 1000 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการเดินไปทีละก้าวนั่นเอง
  86. Michael Dell แนะนำให้ผู้ประกอบการหรือผู้นำต้องนึกถึงคำถาม “ทำไม” (Why) เสมอ เวลาเจอปัญหาต้องถามว่าทำไมถึงเกิดแบบนี้ ต้องขุดลงไปให้ลึกเพื่อเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหา ไม่ใช่มองแค่ผิวเผิน แล้วจะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด
  87. Michael Dell มองว่าในอนาคตเทคโนโลยี “biological science” จะมาบรรจบกับ “computational science” มากขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสใหม่ที่น่าตื่นเต้น เช่น ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ผสานกับพลัง AI และ data science
  88. Michael Dell เล่าว่าช่วงที่เขายังเป็นวัยรุ่น เขามักจะใช้เวลาว่างไปกับการเล่นคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน และไปสังสรรค์กับกลุ่มคนที่ทำงานด้าน IT ตามบริษัทต่าง ๆ เพื่อดูดซับความรู้ ประสบการณ์จากพวกเขา ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับอนาคต
  89. บริษัท Dell Technologies มองว่าตัวเองนั้นเป็น “บริษัทที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น” สำหรับการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), ระบบเครือข่าย 5G และการประมวลผลบนคลาวด์ (cloud) เป็นต้น
  90. Michael Dell เล่าว่าเขาได้ไปเรียนหลักสูตรภาวะผู้นำที่ Stanford เมื่ออายุ 24 ปี และได้ใช้โอกาสตอนบ่ายไปขอพบและพูดคุยกับ CEO ของบริษัท IT ชั้นนำในซิลิคอนวัลเลย์หลายแห่ง ซึ่งนับเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ล้ำค่ามาก และเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่กล้าเข้าหาผู้ใหญ่เพื่อขอคำปรึกษา
  91. Michael Dell เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ศักยภาพที่แท้จริงของตัวเองเต็มที่ เพราะกลัวความผิดพลาด ไม่กล้าเสี่ยง ทั้งที่สิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้และความสำเร็จ
  92. Michael Dell มีความสงสัยใคร่รู้ตลอดเวลา โดยชอบอ่านหนังสือ ติดตามข่าวสาร และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ ซึ่งปัจจุบันอินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้อย่างไม่จำกัด
  93. แม้จะเป็นผู้ก่อตั้ง แต่ Michael Dell ก็เคยมอบตำแหน่ง CEO ให้คนอื่นมาแล้วในอดีต ซึ่งแม้สุดท้ายจะไม่ได้ผลอย่างที่คาดหวัง แต่ก็ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้บริษัทเปลี่ยนแปลงและเติบโตได้อีกขั้น
  94. จุดแข็งสำคัญของการเป็น founder และ CEO อย่าง Michael Dell คือเขามีอิสระที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ในบริษัทได้ง่ายกว่า CEO ที่มาจากการจัดจ้างภายนอก เพราะเขารักและผูกพันกับบริษัท Dell Technologies อย่างเต็มเปี่ยม
  95. แม้จะทำธุรกิจมานาน แต่ Michael Dell ยังคงตื่นเต้นและมุ่งมั่นเต็มที่เหมือนเดิม เพราะมองว่าอุตสาหกรรม IT ยังคงน่าสนใจที่สุดในโลก และยังมีเรื่องใหม่ ๆ ท้าทายให้เรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจากผู้ก่อตั้งหลายคนที่เลือกถอยห่างออกมาเมื่อบริษัทเติบโตมากแล้ว
  96. Michael Dell เล่าว่า ตั้งแต่เป็นเด็ก พ่อแม่ของเขาจะสนับสนุนให้ลูก ๆ ได้ทดลองทำสิ่งต่าง ๆ เช่นถอดแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้ว่ากล่าวตำหนิ ซึ่งเป็นการปลูกฝังนิสัยด้านความคิดสร้างสรรค์และความกล้าที่จะลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เขากล้าลองทำสิ่งใหม่ ๆ เรื่อยมา
  97. บริษัท Dell Technologies ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ethic of responsibility” หรือ “จริยธรรมแห่งความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายถึงการที่พนักงานทุกคนไม่ได้มีหน้าที่แค่สังเกตปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อเห็นปัญหาแล้ว ก็ต้องลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหานั้นด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนอื่น หรือโยนความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่น
  98. Michael Dell เน้นย้ำเรื่อง “การสร้างคุณค่า” (creating value) ว่าเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ โดยบริษัทใดก็ตามที่ไม่ได้สร้างคุณค่าอะไรเลย ก็ไม่สมควรได้กำไร
  99. Michael Dell กล่าวติดตลกว่าถึงโลกของเราจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เร็วระดับ gigahertz มากขึ้น แต่ผู้คนก็ไม่สามารถพูดได้เร็วขึ้นกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าความสามารถของมนุษย์
  100. Michael Dell แนะนำผู้ประกอบการอยู่ 2 เรื่องหลัก ๆ ก็คือ 1) เตรียมตัวล้มเหลวและทำผิดพลาดให้เยอะ เพราะนั่นคือวิธีเดียวที่จะเรียนรู้ได้ 2) อย่ารอแผนที่สมบูรณ์แบบ จงเริ่มลงมือทำ ทดลอง และปรับปรุงไปเรื่อย ๆ

Resources

Exit mobile version