Site icon Blue O'Clock

4 อุปนิสัยที่ดีของมหาเศรษฐี ที่เขาทำกันทุกวัน

อุปนิสัยของคนรวย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนธรรมดา ๆ คนหนึ่งกลายมาเป็นคนที่ร่ำรวยและประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสูงนั้น มาจากการมี Good Habits หรืออุปนิสัยที่ดี ที่ส่งผลให้เกิดการกระทำที่ดีในทุก ๆ วันแบบอัตโนมัติ แต่การที่สร้างอุปนิสัยที่ดีขึ้นมาใหม่ได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยการบ่มเพาะในช่วงแรกอยู่พอสมควร ช่วงแรกคุณอาจจะรู้สึกอึดอัดขัดใจอยู่สักหน่อย แต่เมื่อสมองและร่างกายของคุณเริ่มชินมันจะกลายเป็นนิสัยใหม่เกิดขึ้นในตัวของคุณเอง จนกระทั่งมันกลายเป็นสันดานที่ดี และมันจะส่งผลให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน การเงินได้ในที่สุด และนี่ก็คือ 4 อุปนิสัยของมหาเศรษฐีรุ่นพี่สอนน้อง

อุปนิสัยข้อที่ 1 – เป็นนักอ่านที่ยอดเยี่ยม (Be A Great Reader)

Oprah Winfrey เศรษฐีนีชาวอเมริกัน เจ้าแม่ทอร์คโชว์และสื่อทีวี ที่ ณ ปัจจุบันเธอคือ 10 ผู้หญิงที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาที่สร้างฐานะขึ้นมาได้ด้วยตนเอง โดยมีทรัพย์สินอยู่ที่ 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๆ กว่า 8 หมื่นล้านบาท โดยเธอได้ให้คำแนะนำว่า เธอได้ตกผลึกและตระหนักได้ว่า เธอรับรู้ว่าการอ่านหนังสือคือหนึ่งในสัญญาณที่สำคัญมากที่สุดในชีวิตอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลให้เธอประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเธอได้เล่าย้อนกลับไปในสมัยที่เธออายุได้ 16 ปี ซึ่งงานแรกของเธอก็คือการเป็นผู้ประกาศข่าวทางรายการวิทยุ แถมเธอยังเป็นผู้ประกาศข่าวหญิงผิวสีคนแรกของอเมริกาอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่ทำให้เธอได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ประกาศข่าวตั้งแต่อายุยังน้อยก็คือ การที่เธอนั้นเป็นนักอ่านที่ยอมเยี่ยม เพราะเมื่อคุณเป็นนักอ่านที่ยอดเยี่ยม มันจะส่งผลให้คุณสามารถอ่านออกเสียงด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน การออกเสียงอักขระ สำเนียงและภาษาที่สละสลวย รวมไปถึงการใช้คำศัพท์อย่างถูกต้อง เหมาะสมทั้งจังหวะเวลาและสถานการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้ แต่คุณสามารถทำมันได้จนเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้ผู้คนต่างมองคุณราวกับว่าคุณเป็นคนที่โคตรเจ๋ง โคตรฉลาด ทั้ง ๆ ที่คุณก็ยังเป็นคุณคนเดิมอยู่นั่นแหละ

อุปนิสัยข้อที่ 2 – กล้าที่จะเดิมพัน (Take Bold Bets)

Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ของโลกอย่าง Amazon.com ที่ส่งผลให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกคนปัจจุบัน ด้วยทรัพย์สินมูลค่า 109.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๆ 3.3 ล้านล้านบาท ได้กล่าวเอาไว้ว่า ในฐานะที่เขาเป็นผู้นำองค์กรของ Amazon หน้าที่หลักของเขาก็คือ การที่เขาจะต้องส่งเสริมให้คนในองค์กรกล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำและรักที่จะทำในสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะโดยธรรมชาติของสมองมนุษย์นั้นถูกออกแบบมาให้อยู่โซนปลอดภัย อยู่ให้ไกลจากความเสี่ยงหรืออันตราย รวมไปถึงความไม่แน่นอนความแปลกใหม่ ดังนั้นมันเป็นเรื่องที่ยากเอาการที่ผลักดันให้ผู้คนกล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย และนั่นก็คือหน้าที่หลักในฐานะผู้นำขององค์กร เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาทดลองทำในสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งแน่นอนว่าการทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนนั้น ก่อให้เกิดโอกาสในการล้มเหลวที่สูงมาก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่โอกาสอันน้อยนิดในการทดลองบางอย่างประสบความสำเร็จขึ้นมา มันสามารถส่งผลกระทบในด้านบวกที่สามารถชดเชยกับความล้มเหลวที่ผ่านมาได้เป็นเข่ง

โดย Jeff Bezos ได้ยกตัวอย่างโปรเจคที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ ที่สามารถทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างมหาศาล เช่น

ซึ่งนี่คือโปรเจคใหม่ ๆ ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง แต่ในระหว่างการทดลองและทดสอบนั้น ก็เกิดข้อผิดพลาดระดับพันล้านเหรียญฯ หรือหลายหมื่นล้านบาทเช่นเดียวกัน ที่กว่าจะเกิดผล

ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ที่ล้มเหลวนั้น เป็นเพราะพวกเขาไม่กล้าที่จะทำอะไรใหม่ ๆ จนกระทั่งถึงวันที่ทุกอย่างมันสายไปแล้ว ดังนั้นหากล้มเหลวในระหว่างทาง จงเดินต่อไป ทำการทดสอบทดลองต่อไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ อย่ารอให้ถึงวันสุดท้ายในวันที่ต้องเลือกว่าบริษัทจะอยู่หรือไป จงอย่าให้เวลานั้นมาถึง

อุปนิสัยข้อที่ 3 – คุณไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เจ๋งที่สุด (You don’t have to be the best)

Jack Ma ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Alibaba เว็บไซต์ B2B ยักษ์ใหญ่ของโลก ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในประเทศจีน ได้กล่าวว่า Don’t try to be the best. Be the first. หมายถึง คุณไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เก่งที่เจ๋งที่สุด แต่จงเป็นคนแรกที่ทำ ไม่ว่าจะเป็น การเป็นคนแรกที่เริ่มการเปลี่ยนแปลง, เป็นคนที่แรกที่สามารถก้าวข้ามความท้าทายใหม่ ๆ หรือเป็นคนแรกที่สามารถแก้ปัญหายาก ๆ นั้นได้

โดยเหตุผลที่ Jack Ma มองว่าการเป็นคนที่ยอดเยี่ยมที่สุดนั้น ก็เปรียบเสมือนนักกีฬาที่ได้เหรียญทองโอลิมปิค ที่สามารถมีแชมป์เปี้ยนได้เพียงคนเดียว ซึ่งเมื่อเขามองมาที่ตัวเองก็พบว่า ตัวเขาคงไม่โชคดีพอที่จะเป็นคน ๆ นั้น แต่หากพูดถึงการพยายามทำในสิ่งใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีคนเคยทำ หรือเคยมีคนทำแล้วแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เขาสามารถเป็นคน ๆ นั้นได้ เพราะเขาเชื่อมั่นในตนเองว่า หากได้ลองลงมือทำแล้ว เขาจะไม่ยอมแพ้ระหว่างทางอย่างแน่นอน ดังนั้นจงหาจุดแข็งและจุดเด่นของตัวคุณเองให้เจอ แล้วจงใช้มันให้เป็นประโยชน์ เพราะโดยธรรมชาตินั้นมนุษย์เราเกิดมาต่างก็มีความพิเศษไม่เหมือนกัน ดังนั้นจงเป็นตัวของคุณเองและนี่ก็คือกุญแจสำคัญสู่ความร่ำรวยและประสบความสำเร็จ

อุปนิสัยข้อที่ 4 – ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยดี (Treat People Nicely)

John Paul DeJoria มหาเศรษฐีที่สร้างฐานะขึ้นมาได้ด้วยตนเองจากคนยากไร้ที่ใช้รถยนต์เป็นห้องนอน แต่เหลือเงินติดกระเป๋าเพียง 700 ดอลล่าร์ฯ สู่เจ้าของผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาเส้นผมแบรนด์ Paul Mitchell ที่มีทรัพย์สินกว่า 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๆ 9.3 หมื่นล้านบาท ได้เล่าให้ฟังว่า ในสมัยที่เขาทำงานเป็นเซล์แมนให้กับบริษัทอื่นนั้น เขามักจะพบว่า บริษัทส่วนใหญ่ปฏิบัติต่อพนักงานได้ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่นัก โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบเจ้านายกับลูกน้อง ที่ถูกน้องอยู่ในสถานะตอบได้แค่เพียงว่า ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน

เขาจึงได้ข้อคิดว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เขามีบริษัทเป็นของตนเองแล้วล่ะก็ เขาจะไม่ทำเช่นนั้น แต่เขาจะปฏิบัติต่อพนักงานอย่างดี เพราะถ้าเป็นตัวเขาเองเขาก็อยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อเขาดีด้วยเช่นกัน ดังนั้นจงเอาใจเขามาใส่ใจเรา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทของเขามีกำไรมากพอในระดับหนึ่ง เขาก็ได้เริ่มโครงการอาหารกลางวันฟรีสำหรับพนักงาน มีสระว่ายน้ำบริการให้ฟรี หรือแม้กระทั่งตอนที่บริษัทมีกำไรที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เขาก็นำกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ มาจัดกองทุนเกษียณให้กับพนักงานเพื่อให้มีเงินใช้ก้อนหนึ่งในยามเกษียณอายุ

และเมื่อคนในบริษัทของคุณมีความสุข พวกเขาก็จะส่งมอบความสุข ส่งมอบความรักให้กับลูกค้าต่อ ซึ่งลูกค้าก็สามารถรับรู้ได้ว่าพวกเขาทำออกมาจากใจ ไม่ใช่แค่เพียงทำตามที่หัวหน้าสั่ง ดังนั้น ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทเขาก็คือ มีคนลาออกน้อยมาก นั่นหมายถึงคุณก็จะต้องดูแลพวกเขาไปจนกว่าพวกเขาจะเกษียณนั่นเอง

และหากคุณเริ่มซีเรียสและจริงจังกับการเรียนรู้จากคนที่ร่ำรวยและประสบความสำเร็จอย่างสูง วันนี้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลพรีเมี่ยมคอนเท้นต์ได้แล้วบน Blue O’Clock Academy ใน ซีรี่ย์ Top 10 Mentors : 10 สุดยอดบทเรียนจากมหาเศรษฐีรุ่นพี่สอนว่าที่มหาเศรษฐีรุ่นน้องคนต่อไป โดยคุณสามารถลงทะเบียนได้ในราคาพิเศษตามรายละเอียดที่ลิงค์ด้านล่างวีดีโอนี้ได้เลยครับ


 
 

 

 

 

Resources

Exit mobile version