Robert Kiyosaki นักเขียนชื่อดังเจ้าของผลงานเขียน Rich Dad Poor Dad พ่อรวยสอนลูก เจ้าพ่ออสังหาฯ ที่ ณ ปี 2021 เขามีทรัพย์สินอยู่ที่ $100 ล้านดอลล่าร์ฯ หรือราว ๆ 3 พันล้านบาท สำหรับคอนเท้นต์นี้ เขาจะมาแชร์บทเรียนในเรื่องของการเงินที่เราจำเป็นต้องรู้หากต้องการมีอิสรภาพทางการเงิน
เรื่องที่ 1 – How to read a financial statement เรียนรู้วิธีการอ่านงบการเงิน
พ่อรวยสอนเขาว่า คุณจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการอ่านงบการเงินส่วนบุคคลให้ออกก่อน โดยหลัก ๆ แล้วจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
- Income statement
- Balance sheet
- Statment of cashflow
แต่เรื่องแปลกก็คือ นักศึกษาที่พึ่งจบใหม่กว่า 99% นั้นกลับอ่านงบดุลส่วนบุคคลไม่เป็นหรือไม่รู้เรื่องนี้ซะด้วยซ้ำ ทั้ง ๆ ที่เรื่องของการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องใช้ในชีวิตเป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาที่คุณต้องการติดต่อทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร
โดยทางธนาคารจะไม่ขอดูใบปริญญาหรือถามคุณว่าคุณจบเกรดอะไรมาหรอก เพราะสิ่งที่พวกเขาจะถามหาจากคุณก็คือ Financial Statement หรืองบการเงินส่วนบุคคล ซึ่งถ้าหากคุณมีงบการเงินที่ดี ไม่ว่าคุณจะต้องการเงินเท่าไหร่พวกเขาก็จะหามาประเคนให้คุณ
เรื่องที่ 2 – The Differnet types of income ความแตกต่างของรายได้แต่ละประเภท
Robert Kiyosaki ได้แบ่งประเภทของกลุ่มคนออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- E – Employee หมายถึง พนักงานประจำ ที่ทำเงินเพื่อรับเงินเดือน
- S – Self-employee หมายถึง นายตัวเอง ฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก รวมไปถึง คุณหมอเจ้าของคลีนิค ทนายความที่เปิดสำนักว่าความ
- B – Business owner หมายถึง เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพนักงานในบริษัทกว่า 500 คน
- I – Investor หมายถึง นักลงทุน
ซึ่งแม้เป็นเรื่องในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่เราสามารถเลือกที่จะเป็นคนกลุ่มใดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
- ตอน Robert Kiyosaki ยังหนุ่ม ๆ นั้น เขาเคยทำอาชีพเป็นนักบินมาก่อน ซึ่งเขาได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นั่นจึงทำให้เขาอยู่ในสถานะเป็น Employee
- ซึ่งหากเขาเลือกที่จะลาออกจากบริษัท เพื่อมารับจ้างเป็นนักบินพานักท่องเที่ยวข้ามเกาะจากฝากทะเลไปยังอีกฟากฝั่งหนึ่งก็ได้เช่นกัน โดยเขาจะได้รับค่าจ้างเป็นรอบ ๆ ไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ Self-employee หรือการเป็นนายตัวเอง
- หรือหากเขาสร้างบริษัทสายการบินเขาก็จะอยู่ในกลุ่มของ Business Owner ที่มีพนักงานหลายร้อยหลายพันชีวิตที่คอยขับเคลื่อนบริษัท
- และสุดท้าย เขาก็สามารถเลือกที่จะลงทุนในธุรกิจสายการบินได้เช่นกัน โดยจะถูกจัดเป็นฐานะของ Investor หรือนักลงทุน
ซึ่งการที่จะเลือกเล่นในบทบาทใดก็ตาม ล้วนแล้วมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะใช้ชุดความคิดไม่เหมือนกัน ชุดความรู้ที่ใช้ก็ไม่เหมือนกัน ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละบทบาทก็ไม่เหมือนกัน โดยเขาบอกว่า พ่อจนของเขาอยู่ในบทบาททางด้านซ้ายก็คือ ไม่เป็น Employee ก็เป็น Self-employee ส่วนพ่อรวยนั้นจะอยู่ในบทบาททางฝั่งขวาก็คือ เป็น Business owner หรือ Investor
เรื่องที่ 3 – Why you should work for assets not a paycheck เหตุผลว่าทำไมเราจึงควรโฟกัสที่สินทรัพย์ไม่ใช่เงินเดือน
คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาไปกับการใช้จ่ายในเรื่องของการกินหรูอยู่แพง ซื้อบ้านหลังใหญ่ ถอยรถสุดหรูออกจากโชว์รูม ทำให้คนกว่าร้อยละ 99 โฟกัสไปที่เรื่องของการหารายได้สูง ๆ และถ้าหากรายได้ไม่พอก็จะเลือกทำงานให้มากขึ้นให้นักขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทำ OT จนดึกจนดื่นเข้างานหลายกะ ไม่ก็หาอาชีพเสริมหลังจากเลิกงานหลัก มันทำให้โฟกัสทั้งหมดตกอยู่ที่การหารายได้เป็นหลัก
ในขณะที่หากเราเปลี่ยนโฟกัสที่การเพิ่มจำนวน Assets ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยโฟกัสไปที่ Assets ที่สามารถสร้าง cashflow หรือกระแสเงินสดออกมาได้เรื่อย ๆ โดยแค่เราเปลี่ยนโฟกัสไปที่การนำเงินจากการทำงานไปสร้าง Assets ก่อนที่จะนำไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
ซึ่งเมื่อขนาดของ Assets มันใหญ่มากพอที่จะผลิตกระแสเงินสดเพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้แล้ว นั่นเท่ากับว่า ต่อให้เราไม่ได้ทำงานก็ยังคงมีรายได้จาก Assets มาช่วยใช้จ่ายในแต่ละเดือนอยู่ หรือจะเรียกได้ว่า เรามีอิสรภาพทางการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการมีอิสรภาพทางเงินไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องมีเงินร้อยล้านพันล้าน สมมติในแต่ละเดือนคุณใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท ถ้า Assets สามารถสร้างกระแสเงินสดได้เกิน 30,000 บาท นั่นก็เท่ากับว่าคุณได้มีอิสรภาพทางการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนที่เหลือก็คอยดูว่า Asset เหล่านั้น ยังคงมีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอ และหากคุณต้องการเพิ่มความมั่งคั่งให้กับชีวิต คุณก็โฟกัสว่าจะต้องสร้าง Assets อีกเท่าไหร่ ก็ตามที่คุณตั้งเป้าเอาไว้ได้เลย แค่โฟกัสที่เดียวก็สามารถแก้ไขปัญหาการเงินได้ในทุกช่องทาง
เรื่องที่ 4 – Why savers are losers เหตุผลที่คนออมเงินคือผู้แพ้ในเกมการเงิน
Robert Kiyosaki คือคนหนึ่งที่ไม่เคยเชื่อถือในเงิน Fiat หรือเงินกระดาษที่รัฐบาลปริ้นท์ออกมาเลยแม้แต่น้อย ดังนั้นการออมเงินสดหรือเงิน fiat เอาไว้ในธนาคารนั้นเขาจะไม่ทำมันอย่างเด็ดขาด ซึ่งทันทีที่เขาได้เงิน fiat มา เขาจะนำมันไปแปลงเป็น Assets ในทันที โดยเขายกตัวอย่างจากการที่เขานำเงิน fiat ไปซื้อแร่เงินเก็บเอาไว้ โดยเขาบอกว่าเขาซื้อมันมาตั้งแต่ราคา $1.40 และในปัจจุบันมันมีค่า $16 หรือมูลค่าโตขึ้นกว่า 11 เท่า หรือจะพูดในอีกทางหนึ่งก็คือ เงิน fiat หรือเงินดอลล่าร์นั้นด้อยค่าลงถึง 11 เท่า!
ซึ่งหากเอาให้เห็นภาพง่ายกว่านั้นก็คือ ในสมัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่ของเรานั้น อาจจะใช้เงินซื้อข้าวซื้อก๋วยเตี๋ยวกันชามละไม่ถึงสิบบาท และทองคำก็ราคาประมาณหลักพันถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะสัก 4,000 บาท แต่ในขณะที่ปัจจุบันนี้ เงินสิบบาทเท่ากันแต่กลับซื้อข้าวกินไม่ได้สักกะชามแล้ว ในขณะที่ราคาทองคำอยู่ที่ประมาณ 20,000 กว่าบาท โตขึ้นกว่า 5 เท่าเลยทีเดียว
และนั่นคือเหตุผลที่ Robert Kiyosaki มักจะเรียกเงิน fiat ว่า fake money เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ สามารถปริ้นท์มันออกมาเท่าไหร่ก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ทำซ้ำได้ แต่ในขณะที่แร่เงิน แร่ทองคำ หรืออย่าง Bitcoin นั้น ไม่สามารถปลอมแปลงขึ้นได้
เรื่องที่ 5 – What did school teach you about money โรงเรียนสอนอะไรเกี่ยวกับเรื่องของการเงินบ้าง
ไม่มี พวกเขาไม่สอนอะไรคุณเลยเกี่ยวกับเรื่องของการเงินภายในโรงเรียน ดังนั้นคุณจึงจำเป็นที่จะต้องขวนขวายหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการเงินเองในโลกภายนอกโรงเรียนกันเอาเอง
Resources