ทำไมการลดหย่อนภาษีถึงเป็นเรื่องที่เหล่าบรรดาคนที่เสียภาษีทุกคนจำเป็นที่จะต้องรู้ นั่นก็เพราะมีหลายต่อหลายคนที่เสียภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว แต่บ้างก็ยังไม่ได้ใช้การลดหย่อนภาษีอย่างคุ้มค่า ทำให้เสียภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่บุคคลเหล่านั้น สามารถยื่นเรื่องการขอลดหย่อนภาษีได้หลากหลายช่องทาง ที่ทางรัฐได้กำหนดมาให้ นั้นสามารถนำไปช่วยลดจำนวนภาษีที่จะต้องจ่ายในแต่ละปี ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้ ซึ่งในคอนเท้นต์นี้เราจะมาดูกันว่า การลดหย่อนภาษีนั้นมีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง และตัวเราจะสามารถใช้ประโยชน์เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีอย่างไรได้บ้าง
โดยการลดหย่อนภาษีนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท หลัก ๆ ก็คือ
ประเภทที่ 1 – ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวได้ในทันทีจำนวน 60,000 บาท
- ในกรณีที่มีครอบครัวแต่งงานจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถลดหย่อนได้อีก 60,000 บาท (แต่คู่สมรสนั้นจะต้องไม่มีเงินได้)
- ค่าลดหย่อนจากค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งหากสามีนำไปยื่นมีข้อแม้ว่าภรรยาจะต้องไม่มีเงินได้
- ค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาทต่อคน ส่วนบุตรคนที่สองเป็นต้นไปเพิ่มสูงสุดได้อีก 30,000 บาท หรือแปลง่าย ๆ ว่า ตั้งแต่บุตรคนที่สองเป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แถมยังไม่จำกัดจำนวนบุตรด้วย ความหมายก็คือ มีบุตรเยอะก็ยื่นลดหย่อนภาษีได้เยอะ
- ค่าลดหย่อนการอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา ตัวเองแท้ ๆ ทางสายเลือด ได้อีกคนละ 30,000 บาท แต่มีข้อแม้ว่าทางบิดา-มารดา นั้นจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีต่อคน และจะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แต่ต้องระวังว่า หากมีพี่น้องหลายคนจะต้องตกลงว่าใครจะเป็นฝ่ายดูแล ฝ่ายนั้นก็จะได้รับสิทธิการลดหย่อน ส่วนฝ่ายที่ไม่ได้ดูแลจะไม่ได้รับสิทธิการลดหย่อน ส่วนบิดา-มารดา แท้ ๆ ของคู่สมรสก็สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้เช่นกันแต่มีข้อแม้เพิ่มเติมว่า คู่สมรสจะต้องไม่มีเงินได้
- ค่าลดหย่อนจากการอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการ บุคคลทุพพลภาพ ได้ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และจะต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการและรวมไปถึงจะต้องมีหนังสือการรับรองการเป็นผู้อุปการะด้วย
ประเภทที่ 2 – ค่าลดหย่อนภาษี ประเภท ประกันภัย การสะสมทรัพย์ การลงทุน
- ค่าลดหย่อนประกันชีวิตลดได้จากการที่จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะต้องเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพ ลดได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
เมื่อรวมค่าลดหย่อนประกันชีวิต+ประกันสุขภาพส่วนตัวต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5,100 บาท
- ค่าลดหย่อนประกันสุขภาพของบิดา-มารดา ไม่เกิน 15,000 บาท และมีข้อแม้เช่นเดียวกันว่าทางบิดา-มารดา นั้นจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีต่อคน
- ค่าลดหย่อนประกันชีวิตบำนาญลดได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของรายได้
- ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) ไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของเงินได้
- ค่าลดหย่อนกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของเงินได้
- ค่าลดหย่อนกองทุนครู (โรงเรียนเอกชน) ไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของเงินได้
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF(Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกิน 30% ของเงินได้
- กองทุนรวมเพื่อการออม SSF(Super Saving Funds) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หรือไม่เกิน 30% ของเงินได้
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดได้สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
โดยกองทุน RMF+SSF+PVD+กบข.+กอช. เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ซึ่งสำหรับเพื่อน ๆ วัยทำงานท่านใดที่กำลังมองหาช่องทางในการลดหย่อนภาษีในช่วงท้ายปี 2564 นี้ ทางธนาคารกรุงไทยก็ได้มีดีลเด็ดในโครงการที่ชื่อว่า Krungthai Investment Festival 2021 ที่นอกจากจะได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีแล้ว ยังมีสิทธิ์ได้รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 60,000 บาท* เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันตามที่กำหนด
ส่วนถ้าใครมีบัตรเครดิต KTC อยู่แล้วก็สามารถใช้ในการผ่อนชำระ 0% นาน 3 เดือน* หรือเลือกรับเครดิตเงินคืนสูงสุดจำนวน 15%* เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตกรุงไทย-แอกซ่าอีกด้วย
และนอกจากนั้นหากใครที่ลงทุนกองทุน KTAM SSF หรือ RMF ทุก ๆ 50,000 บาท จะได้รับเครดิตเงินคืนเข้ากองทุน KTSTPLUS 100 บาท* (ระยะเวลาโปรโมชั่น 4 ม.ค. – 30 ธ.ค. 2564)
“ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน”
[*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารและบริษัทกำหนด]
ซึ่งดีลดี ๆ แบบนี้ต้องรีบกันหน่อยนะครับ โดยคุณสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
โดยคุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Krungthai.com
หรือคลิกที่ลิงค์รายละเอียดด้านล่างวีดีโอนี้ได้เลยครับ – https://bit.ly/3DZ5fap
ประเภทที่ 3 – ค่าลดหย่อนภาษี ประเภทอสังหาริมทรัพย์
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
ประเภทที่ 4 – ค่าลดหย่อนภาษี ประเภทการบริจาค
- บริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท
- บริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้สูงถึง 2 เท่าของยอดบริจาคจริง (แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว)
- บริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง (แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว)
ประเภทที่ 5 – ค่าลดหย่อนภาษีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
ค่าลดหย่อนในหมวดนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละปี จะมีค่าลดหย่อนเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของรัฐ
และนี่ก็คือ ค่าลดหย่อนภาษีทั้ง 5 ประเภทที่วัยทำงานทุกคนสามารถใช้เพื่อไปลดหย่อนภาษีก่อนที่จะนำไปคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด