รู้ก่อน รวยก่อน 50 สัจธรรมเรื่องเงิน ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ โดย Ramit Sethi
Ramit Sethi นักธุรกิจชาวอเมริกัน-อินเดีย ที่ปรึกษาการเงิน และนักเขียน Bestsellers เจ้าของผลงานเขียนชื่อดังอย่าง I will teach you to be rich : ผมจะสอนให้คุณรวย เขาจะแบ่งปันบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับเงินที่ตัวของเขาเองก็อยากรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
และนี่คือเนื้อหา “50 ความจริงเกี่ยวกับเงินที่น่าจะรู้ตั้งนานแล้ว”
- คุณไม่มีเวลามากมายขนาดนั้นในหนึ่งชีวิตนี้ (You don’t have all the time in the world)
ยิ่งคุณเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ชีวิตก็ยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น อย่ารอให้ถึงเวลาที่เหมาะสมแล้วค่อยเริ่ม แต่จงเริ่มต้นตอนนี้เลย จงวางรากฐานการงาน การเงินให้แน่นเสียตั้งแต่วันนี้ แล้วชีวิตในอนาคตจะสบายขึ้นมาก - ไม่มีทางลัดในการสร้างความมั่งคั่ง (There are no shortcuts to building true wealth)
ความมั่งคั่งไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน มันต้องใช้เวลา ความอดทน และความมีวินัย เป็นอย่างมาก มันไม่มีสูตรลับใด ๆ มีแต่การลงมือทำอย่างต่อเนื่อง - ข้อมูลมากมายไม่ได้ทำให้คนเปลี่ยนแปลง (Beating people over the head with more information will not get them to change)
แค่บอกข้อมูลหรือสถิติว่าคนรวยส่วนใหญ่อ่านหนังสือปีละ 50 เล่ม นั้น ไม่ได้ทำให้ทุกคนอยากทำตาม เพราะถ้าคนฟังพวกเขายังไม่เห็นความสำคัญหรือไม่รู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับตัวเอง ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่มีผลอะไรต่อชีวิติของพวกเขา ดังนั้น ถ้าอยากให้คน ๆ นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มจากการเชื่อมโยงข้อมูลกับเป้าหมายหรือความฝันของพวกเขา - จงสนุกกับการใช้ชีวิตให้มากขึ้น (Have more fun)
ตัวของเงินนั้นมันไม่ใช่แค่ตัวเลขในบัญชี แต่เงินนั้นมันทำให้คุณได้ทดลองทำอะไรใหม่ ๆ ได้อย่างมากมาย ได้ใช้ชีวิตแบบที่คุณต้องการ จงใช้มันเพื่อเติมเต็มชีวิตให้สนุกมากยิ่งขึ้น - ทุกสิ่งทุกอย่างมีเวลาที่เหมาะสมของมัน (There’s a time and a place)
บางอย่างเหมาะจะทำตอนที่อายุน้อยอยู่ เช่น สะพายเป้เที่ยวรอบโลก แต่ลองคิดดูสิว่าในวัย 50 ปี คุณคงไม่อยากทำแบบนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นก็จงใช้เงินเพื่อทำตอนนี้เลย - ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ (You don’t have to get things perfect)
จงอย่ารอให้ทุกอย่างเพียบพร้อม เพราะถ้ารอวันนั้นมันจะไม่มีวันเริ่มต้นสักกะที ให้เริ่มลงมือทำเลยเสียตั้งแต่ตอนนี้ แม้ว่าทำผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไร ค่อย ๆ ปรับปรุงแก้ไขไปทีละนิด แล้วคุณจะเก่งขึ้นเอง - จงใช้เงินเพื่อสนับสนุนตัวตนที่คุณอยากเป็น (Think about who you want to be and start spending money on it now)
คุณอยากเป็นคนแบบไหน? ก็ให้เริ่มลงทุนกับตัวเองเลย ถ้าอยากหุ่นฟิต? ก็ให้ไปสมัครฟิตเนส จ้างเทรนเนอร์เดือนละครั้ง แล้วค่อย ๆ เพิ่มอย่างอื่นเข้ามาทีหลังอีกที - มีเงินสำรองเพื่อคว้าโอกาส (Have a big cash reserve to seize opportunities)
โอกาสดี ๆ มักมาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แต่ถ้าคุณมีเงินพร้อม คุณจะคว้าโอกาสนั้นได้ในทันที จงเตรียมพร้อมคว้าโอกาสอยู่เสมอ - ให้สร้างความมั่นคงในชีวิตทั้งสามด้าน (Create a tripod of stability)
ด้านแรกความสัมพันธ์ดี ด้านที่สองงานที่ใช่ และด้านที่สามมีบ้านที่อบอุ่น ซึ่งสามอย่างนี้แหละ จะเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับชีวิต เพราะเมื่อฐานของคุณแข็งแรง คุณจะกล้าเสี่ยงและเติบโตได้มากขึ้น - คุยเรื่องเงินกับแฟนตั้งแต่เนิ่น ๆ (Talk about money early in your relationship)
เพราะเรื่องเงินเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่ารอให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยพูด จงเปิดใจคุยเรื่องเงินกันตั้งแต่แรกกับคนที่คุณกำลังคบหาด้วย เพื่อความเข้าใจและความสบายใจในระยะยาว - ยิ่งคุณหาเงินได้มากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งเป็นคนใจกว้างได้มากเท่านั้น (The more you make, the more generous you can be)
การมีเงินเยอะ ๆ ไม่ได้แค่ทำให้คุณภาพชีวิตของคุณดียิ่งขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่การมีเงินเยอะยังช่วยให้คุณสามารถแบ่งปันและช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้นด้วย จงใช้โอกาสนี้ในการทำสิ่งดี ๆ ให้กับคนรอบตัว และสังคม - จงทำความคุ้นเคยกับการสูญเสียเงิน (Get used to waste)
ไม่มีใครทำทุกอย่างได้แบบเป๊ะ ๆ หรอก ซึ่งการเสียเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นเรื่องปกติ อย่าไปเครียดกับมันมากจนเกินไป แต่ก็อย่าปล่อยให้มันเป็นเรื่องบานปลาย - คุณไม่จำเป็นต้องทำตามที่คนอื่นทำเสมอไป (You don’t have to do what everyone else is doing)
คุณไม่จำเป็นต้องซื้อบ้าน จัดงานแต่งงาน หรือมีลูก ๆ ตามใคร ๆ เพราะหลายคนก็ชอบการอยู่คนเดียวมากกว่า จงเลือกใช้ชีวิตในแบบที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง เพราะชีวิตของคุณ คุณต้องเลือกเอง! - ลองใส่เสื้อผ้าที่คุณชอบก่อนดูป้ายราคา (Try on the clothes you love before you look at the price tag)
ให้เลือกสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกมั่นใจและเป็นตัวของตัวเองก่อน แล้วค่อยดูว่ามันเหมาะกับงบประมาณของคุณหรือไม่ เพราะความสุขนั้นมันสำคัญกว่าราคา - อย่าใช้บริการมินิบาร์ในตู้เย็นของโรงแรม (This is just my own lesson: don’t use the mini bar)
เพราะขนมกับน้ำในมินิบาร์นั้นแพงเว่อร์ ให้เดินไปร้านสะดวกซื้อข้างนอกจะดีกว่า ให้ประหยัดเงินไว้ทำอย่างอื่น - เปิดใจรับผู้คนที่หลากหลายและวิถีการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากเรา (Expose yourself to different people and ways of living)
จงอย่าปิดกั้นตัวเอง ให้ลองคุยกับคนที่คิดต่างจากคุณ เรียนรู้วิธีการใช้เงินและการใช้ชีวิตของพวกเขา คุณอาจจะได้ไอเดียดี ๆ ที่ไม่เคยคิดมาก่อนก็เป็นได้ - จงระวังคนที่คุณได้รับคำแนะนำมา (Be careful who you take advice from)
ให้ฟังคำแนะนำจากคนที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ ในด้านนั้น ไม่ใช่ใครก็ไม่รู้ที่เอาแต่พูดแต่กลับไม่มีประสบการณ์จริง เพราะชีวิตคุณสำคัญเกินกว่าจะเชื่อใครง่าย ๆ - จงยอมรับความจริงและเตรียมตัวให้พร้อมล่วงหน้า (Acknowledge reality and prepare ahead)
ถ้ารู้ว่าสักวันหนึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายก้อนโต เช่น งานแต่งงาน ก็ให้เริ่มเก็บเงินไว้เลยตั้งแต่วันนี้ แม้จะยังไม่เจอตัวเจ้าสาวก็ตามที - จงระวังคำพูดของตัวเอง (Monitor your language)
เพราะคำพูดนั้นส่งผลต่อความคิด ถ้าคุณพูดว่าตัวเองทำไม่ได้ คุณก็จะทำมันไม่ได้จริง ๆ จงพูดในสิ่งที่ทำให้ชีวิตของคุณก้าวหน้าขึ้น - อย่าให้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มาควบคุมหรือกำหนดการตัดสินใจเรื่องใหญ่ ๆ (Don’t let the tail wag the dog)
ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจย้ายบ้านเพียงเพราะค่าครองชีพในถิ่นนั้น ๆ ถูกกว่า ซึ่งมันอาจไม่เหมาะสมกับเป้าหมายหรือความต้องการจริง ๆ ของคุณ - บางสิ่งคุ้มค่าที่จะจ่ายแพง (Certain things are worth paying a lot for)
จงอย่ากลัวที่จะลงทุนกับสิ่งที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น เช่น เสื้อผ้าดี ๆ บุคลากรเก่ง ๆ หรือประสบการณ์สุดพิเศษ ถ้ามันคุ้มค่าสำหรับคุณ ก็จัดไปเลยอย่าให้เสีย - บางสิ่งก็ไม่คุ้มค่าที่จะจ่ายแพง (Some things are not worth paying a lot for)
เพราะค่าใช้จ่ายบางอย่างไม่จำเป็นต้องเสียแพง ๆ เลย เช่น ค่าธรรมเนียมกองทุนที่โหด ๆ ที่คุณสามารถจัดการเงินด้วยตัวเองได้ หรือหาทางเลือกที่ดีกว่า แล้วนำเงินที่ประหยัดได้นั้นไปใช้ในเรื่องอื่นที่คุ้มค่ากว่า - นำเงินที่ประหยัดได้เอาไปลงทุน (If you save money on unnecessary expenses, invest the difference)
โดยเงินที่คุณสามารถประหยัดได้จากการไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ให้เอาไปลงทุนเพราะเงินจะได้งอกเงย ดีกว่าเอาไปใช้กับของที่ไม่จำเป็น - การเป็นหนี้บัตรเครดิตไม่ใช่เรื่องปกติ (It’s not normal to carry credit card debt)
การที่ใครสักคนเป็นหนี้บัตรเครดิตไม่ใช่เรื่องปกติของคนธรรมดาทั่วไป จงรีบจัดการหนี้ให้หมด แล้วใช้บัตรเครดิตอย่างมีสติ - ให้ทำสิ่งต่าง ๆ ตามความสามารถทางการเงินของคุณ (Do things at the level you can afford)
อย่าฝืนทำอะไรที่มันเกินตัว ซึ่งถ้าตอนนี้งบประมาณคุณยังไม่ถึง ก็ให้เลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองไปก่อน พอฐานะดีขึ้น ค่อยขยับขยายกันอีกที - กำหนดให้งบประมาณแบบไม่จำกัดสำหรับบางสิ่งบางอย่าง (Decide where you want an unlimited budget)
ให้เลือกสิ่งที่คุณรักแล้วจัดงบให้เต็มที่ ซึ่งสำหรับ Ramit คือเรื่องของหนังสือ ถ้าเขาอยากอ่านเล่มไหนก็ซื้อเลย เพราะมันคือการลงทุนกับตนเอง - การเช่าบ้านอาจดีกว่าการซื้อบ้าน (Renting can be a better financial decision than buying)
ซึ่งการเช่าบ้านไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป เพราะถ้าคำนวณแล้วคุ้มกว่า ก็เช่าไปเถอะ อย่าไปยึดติดว่าจะต้องซื้อบ้านอย่างเดียวเท่านั้น - พูดคุยเรื่องเงินกับภรรยาหรือสามีนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก (Talking about money with your partner is not weird)
ให้เปิดใจคุยเรื่องเงินกันตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้วางแผนชีวิตไปในทิศทางเดียวกัน อย่ารอให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยคุย - อย่าหลงกลไปกับสิ่งที่คุณเห็นเพียงผิวเผิน (Don’t be misled by what you see on the surface)
เพราะบางคนที่ใช้เงินเยอะ พวกเขาอาจมีหนี้ท่วมหัวก็เป็นได้ จงอย่าไปเปรียบเทียบตัวคุณเองกับใคร ๆ ให้สนใจเฉพาะเรื่องของตัวคุณเองจะดีกว่า - กำไรจากการขายบ้านไม่ได้หมายความว่าได้กำไรจริง ๆ (Just because people say they made money on their house doesn’t mean they actually did)
การขายบ้านแล้วบอกได้กำไรนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว คุณอาจลืมคิดค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ค่าซ่อมบำรุง ค่านายหน้า หรือดอกเบี้ยเงินกู้ คุณต้องคิดให้ครบถ้วนกระบวนการก่อนแล้วค่อยบอกว่ากำไรจริง ๆ นั้นเหลือเท่าไหร่ - อย่าพูดถึงความมั่งคั่งรุ่นต่อรุ่นหากคุณยังมีหนี้ก้อนโตอยู่ (Don’t talk about generational wealth when you are in massive debt)
ถ้าคุณยังมีหนี้ก้อนโต อย่าเพิ่งฝันไกลถึงการสร้างความมั่งคั่งในรุ่นต่อ ๆ ไปของตระกูล จงจัดการหนี้ให้หมดก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องการลงทุนในระยะยาว - เวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นลงทุนคือวันนี้ (The second best time to start investing is today)
แม้ว่าเวลาที่ดีที่สุดในเริ่มต้นลงทุนอาจเป็นเมื่อหลายปีก่อน แต่การเสียดายไปมันก็ไม่ช่วยอะไร จงเริ่มลงทุนตั้งแต่วันนี้เลย ดีกว่ารอไปเรื่อย ๆ แล้วก็ไม่ได้เริ่มสักกะที - จงเฉลิมฉลองกับทุกก้าวของความสำเร็จ (Celebrate the journey)
ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความสำเร็จใหญ่ ๆ แล้วค่อยฉลอง ซึ่งทุกความก้าวหน้าเล็ก ๆ ก็ควรจัดฉลองบ้าง เพื่อเติมพลังใจให้มีแรงก้าวต่อไป - อย่าเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย (Don’t be a doomer)
ถ้าคุณมัวแต่คิดลบ ทุกอย่างรอบตัวก็จะดูแย่ไปหมด ให้มองหาโอกาสและมองโลกในแง่ดีบ้าง มันจะทำให้ชีวิตคุณสดใสขึ้นเยอะเลย - ระวังตัวชี้วัดปลอม ๆ (Beware of fake metrics)
คนที่อวดอ้างว่าตนเองนั้นอ่านหนังสือได้ปีละ 100 เล่ม หรือมีโชว์ว่ามีลูกน้องเยอะ ๆ นั้น ก็ไม่ได้แปลว่าเขาคนนั้นประสบความสำเร็จจริง ๆ - งานประจำ 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นนั้นไม่ใช่งานของคนขี้แพ้ (9-to-5 jobs are not for losers)
อย่าไปเชื่อที่ใครต่อใครมักบอกว่างานประจำมันงานที่น่าเบื่อ เพราะงานประจำก็คืองานที่มั่นคงและสามารถสร้างรายได้ ได้เหมือนกัน สิ่งที่สำคัญคือคุณทำงานเหล่านั้นให้มันได้ดีแค่ไหนมากกว่าต่างหาก - การพูดว่าตัวคุณกำลังลำบากนั้นมันเป็นเรื่องปกติ (It’s okay to talk about where you’re struggling)
คุณไม่จำเป็นต้องเก็บเรื่องทุกอย่างเอาไว้คนเดียว ให้ลองเปิดใจพูดถึงความท้าทายบ้าง มันจะทำให้คนอื่นเข้าใจและพร้อมช่วยเหลือคุณมากขึ้น - สิ่งที่ทำให้คุณมาถึงตรงจุดนี้ได้นั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่จะพาคุณไปต่อได้เสมอไป (What got you here won’t get you there)
เพราะทักษะหรือวิธีคิดแบบเดิม ๆ อาจไม่สามารถพาคุณไปต่อได้ไกลกว่านี้ จงเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา - ให้ของขวัญกับตัวเองในช่วงเวลาที่น่าจดจำปีละครั้ง (Give yourself the gift of at least one moment of true awe every year)
ให้คุณใช้เงินไปกับการหาเวลาทำอะไรบางอย่างที่ทำให้คุณรู้สึกทึ่งหรือตื่นเต้นบ้าง มันคือของขวัญที่สำคัญในการเติมเต็มชีวิต - อย่าคิดถึงแต่ตัวเอง (Don’t just think of I and me)
จงใช้เงินและความสำเร็จของคุณเพื่อช่วยเหลือคนรอบข้างและสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมบ้าง มันจะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมายมากยิ่งขึ้น - อย่าซื้อของเพียงเพราะคิดว่าคุณสมควรได้รับ (Don’t buy something just because you think you deserve it)
การแค่คุณรู้สึกว่า “ฉันควรได้รับสิ่งนี้” มันไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องซื้อมันเสมอไป เพราะถ้าคุณยังจ่ายมันไม่ไหว ก็อย่าเพิ่งซื้อ ดังนั้น จงรู้จักตัวเลขทางการเงินของตัวเองและใช้จ่ายอย่างมีสติ - จงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพักผ่อน (Become an expert in leisure)
แม้คุณจะชอบการทำงานหนัก แต่คุณก็ต้องรู้จักพักผ่อนให้เป็นด้วย จงใช้เวลาไปกับสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดี ไม่ใช่แค่ทำงานแล้วเฝ้ารอแต่วันหยุด จงใช้ชีวิตให้คุ้ม - เปลี่ยนความคิดลบให้เป็นบวก (Reframe your negative thoughts)
จงหยุดพูดว่า “ฉันทำไม่ได้” แล้วเปลี่ยนเป็น “ตอนนี้ฉันยังไม่เก่ง แต่ฉันกำลังเรียนรู้” เพราะทัศนคติที่ดีจะพาชีวิตคุณไปได้ไกลกว่าที่คุณเคยคิดเอาไว้ - บางคนเต็มใจที่จะถูกหลอก เพราะไม่อยากทำงานหนัก (Some people will willingly get scammed because they don’t want to do the hard work)
เพราะมันไม่มีทางลัดสู่ความรวยแบบง่าย ๆ หรอก อย่าหลงกลพวกหลอกขายฝัน ถ้าอยากประสบความสำเร็จ ต้องลงมือทำเอาเอง - คูณสองหรือคูณสามค่าใช้จ่ายก้อนโต (Double or triple big expenses)
ถ้าหากคุณคิดที่จะไปท่องเที่ยวหรืออยากที่จะจัดงานแต่งงาน Ramit ก็บอกตรงนี้เอาไว้เลยว่า คุณจะได้ใช้เงินมากกว่าที่คิดคำนวณเอาไว้เสมอ เพราะฉะนั้นให้ทำการคูณสองหรือคูณสามของงบประมาณที่เคยตั้งเอาไว้เลย จะได้ไม่พลาด - เรียนรู้ที่จะพูดว่าคำว่า “ไม่” (Learn to say “no”)
บางครั้งพูดปฏิเสธบ้างก็ได้ ไม่ใช่ตอบตกลงไปซะทุกอย่าง เช่น “ขอโทษนะ ฉันยังไม่พร้อมไปในทริปนี้ เพราะฉันกำลังโฟกัสกับการเก็บเงินอยู่” ซึ่งมันเป็นคำสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายและไม่ต้องรู้สึกผิดอะไร - ชื่นชมและขอบคุณผู้คนอย่างจริงใจ (Take a second and appreciate people)
เวลาที่มีคนทำอะไรดี ๆ ให้คุณ อย่าลืมขอบคุณพวกเขาเหล่านั้นอย่างจริงใจ เพราะการแสดงความขอบคุณเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นมา - หากไม่สามารถชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวนได้ จงอย่าใช้บัตรเครดิต (If you can’t pay it off next month, don’t use your credit card)
ถ้าคุณรู้ว่าเดือนหน้าไม่มีจ่ายบัตรเครดิตเต็มจำนวน ก็อย่าเพิ่งรูดบัตรเครดิต ให้รอเก็บเงินให้พอก่อนแล้วค่อยใช้ จะได้ไม่ต้องเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น - คนที่คุณรักจะจำได้ว่าใครเคยช่วยเหลือพวกเขาเอาไว้ในยามลำบาก (Your loved ones remember who steps up when they need help)
ช่วงเวลาที่ยากลำบากคือช่วงที่คนรอบข้างต้องการคุณจริง ๆ แสดงออกด้วยการช่วยเหลือ แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ พวกเขาก็จะจดจำเหตุการณ์นั้นได้ - ไม่มีใครสนใจ จนกว่าคุณจะแสดงให้พวกเขาเห็นว่าควรได้รับสนใจ (Nobody cares, so show them in a way that makes them care)
เพราะคนอื่นไม่สนว่าคุณเหนื่อยแค่ไหน พวกเขาแค่อยากรู้ว่าคุณช่วยอะไรพวกเขาได้บ้าง จงแสดงให้เห็นว่าคุณมีคุณค่าและทำให้พวกเขาสนใจในตัวคุณ
และทั้ง 50 ข้อเกี่ยวกับเรื่องของการเงินที่หากรู้เร็วกว่านี้ ชีวิตก็คงจะเปลี่ยนไปอีกเยอะเลย แต่ข่าวดีก็คือ… คุณยังไม่สายที่จะเริ่ม!
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยไหน ตอนนี้คือเวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นจัดการเงินอย่างจริงจัง ลงมือทำสิ่งเล็ก ๆ ที่จะพาคุณไปสู่ชีวิตที่มั่งคั่งและมีความสุขอย่างแท้จริง
จำไว้ว่า ความมั่งคั่งไม่ใช่แค่เรื่องเงินในบัญชี แต่คือการมีชีวิตที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ดี ๆ ความสัมพันธ์ที่มีความหมาย และความสุขในแบบของคุณเอง
โดย Ramit Sethi
Resources