Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

How to

วิธีลงทุน Bitcoin ให้รวย สไตล์ Anthony Pompliano EP.2 ตอน Cryptocurrency VS Fiat currency

ใน Episode นี้ Anthony Pompliano จะมาพูดถึงเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง Bitcoin กับเงิน Fiat ให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า เราควรจะเลือกถือครองอะไร ยังไง และด้วยเหตุผลใด

โดย Tom Bilyeu ก็ได้ยิงคำถามกับ Pomp ว่าเวลาที่คุณทำวิทยานิพนธ์ศึกษาเชิงลึกในเรื่องของ bitcoin นั้น มันทำให้คุณเป็น Bitcoin Maximalist หรือเป็นพวกสุดโต่งใน bitcoin หรือไม่อย่างไร?

โดย Pomp ก็ได้ตอบว่า อันที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ เพราะผมมองในมุมมองของการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมซะมากกว่า ซึ่ง bitcoin ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินที่น่าสนใจ

แต่ถ้ามองในมุมเรื่องของการเงินโดยเฉพาะ อันที่จริงแล้วทุกคนต่างก็เป็น maximalist ในเรื่องที่ตนเองสนใจและใช้ในชีวิตประจำวันกันแทบทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้คุณใช้เงิน fiat หรือเงินกระดาษเป็นหลัก คุณก็เป็น Fiat Maximalist เพราะคุณเป็นพลเมืองของประเทศก็ต้องใช้สกุลเงิน fiat ภายในประเทศ, คุณทำงานคุณก็รับเงินเป็นเงิน fiat, คุณออมเงินในธนาคารคุณก็ใช้เงิน fiat, คุณลงทุนก็ใช้เงิน fiat, คุณจ่ายภาษีคุณก็จ่ายด้วยเงิน fiat ดังนั้นนี่ก็สามารถพูดได้เต็มปากว่า คุณก็เป็น Fiat Maximalist หรือเป็นพวกสุดโต่งในเงิน fiat เช่นกัน เพราะคุณไม่ได้สนใจที่จะใช้เงินอย่างอื่นเลย

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นใครในโลกก็ตามที ทุกคนต่างก็เป็น maximalist ในตัวเองกันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น คงไม่มีใครพูดหรอกว่า สกุลเงินที่ฉันถืออยู่ ณ ตอนนี้ เป็นสกุลเงิน A อยู่ 50% และถือสกุลเงิน B อยู่อีก 50% อย่างคนถือเงินดอลล่าร์ก็ถือดอลล่าร์กันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ซะเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว

ดังนั้นหากมองเฉาพะในมุมของเงินโดยเฉพาะ cryptocurrency นั้น เขาเป็น Bitcoin Maximalist เนื่องจาก Bitcoin มันเป็นสกุลเงินที่ในอนาคตมันมีโอกาสมากที่สุดที่จะเข้าไปเป็นเงินสำรองคงคลังระหว่างประเทศของโลกใบนี้

ทีนี้หากมองในมุมของเทคโนโลยี มันจะเป็นมองอีกมุมหนึ่งที่กว้างขึ้นไปอีก ซึ่งต้องยอมรับว่าในวงการเทคโนโลยีมันมีการแข่งขันที่สูงมาก และเวลาที่คุณมองในมุมของเทคโนโลยี คุณก็จะไม่ได้พูดถึง monetary asset หรือสินทรัพย์ในด้านการเงิน แต่จะใช้คำพูดว่า Technology Asset หรือทรัพย์สินที่เป็นเทคโนโลยี

ดังนั้นหากคุณแยกออกแล้วว่าจะมองในมุมไหน ถ้าหากคุณเลือกที่จะมองในมุมของทรัพย์สินทางการเงิน คุณก็จะพบว่า Bitcoin นั้นกำลังแข่งขันอยู่กับ Fiat Currency ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการรักษามูลค่าหรือ Store of Value, ความสามารถในการแลกเปลี่ยน, การจัดเก็บ หรือแม้กระทั่งการถูกควบคุมอย่างเข้มงวดหรือการเป็นอิสระไม่มีพันธนาการใด ๆ

แต่ประเด็นจริง ๆ ที่เขาต้องการจะสื่อก็คือ มันเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Fiat Money กับ Sound Money มากกว่า โดย Fiat Money นั้นเราต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่ามันถูกควบคุมโดยรัฐบาล แต่ในขณะที่คำว่า Sound Money หรือเงินทั่มั่นคงที่จะไม่ถูกบั่นทอนมูลค่าในระยะยาว หรืออีกในหนึ่งก็คือ เงินที่อยู่นอกระบบจากการถูกควบคุม ไม่มีใครสามารถสร้างมันเพิ่มขึ้นได้ตามใจชอบ ยกตัวอย่างเช่น ทองคำ ที่ผู้คนต่างให้ค่าว่ามันเป็น Sound Money ในเวอร์ชั่นที่จับต้องได้ ซึ่งมนุษย์เราไม่สามารถสร้างขึ้นมันมาเองได้ ในขณะที่ Bitcoin นั้นมันก็คือ Sound Money ในรูปแบบของ Digital จับต้องไม่ได้

ดังนั้นคุณจะเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นว่า ตอนนี้เรากำลังพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่าง Sound Money กับ Fiat Money อยู่ จะทำให้คนทั่วไปส่วนใหญ่เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น ถ้าดูในฝั่งของการผลิตจะพบว่า Fiat Money มีอัตราการผลิต 18 เดือนล่าสุดที่สูงมาก สูงคิดเป็นจำนวน 38% ของปริมาณทั้งหมดตั้งแต่เคยมีการพิมพ์แบงค์ดอลล่าร์ออกมากันเลยทีเดียว ในขณะที่ Sound Money ไม่มีใครสามารถสร้างมันขึ้นมาเองได้เลย ต้องทำเหมืองขุดเอา

และถ้าจะให้มองว่า อะไรมีมูลค่าเป็นยังไง ตัวเขาเองก็ไม่ได้สนใจมันมากนัก เอาเป็นว่า ลองดูจากตัวอย่างนี้จะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

เมื่อยกตัวอย่างในเรื่องของ Purchasing Power หรืออำนาจในการจับจ่ายใช้สอย ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมานี้ของ bitcoin เช่น เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เราใช้ 1 bitcoin ในการซื้อขนมปังได้ 1 ก้อน แต่ในปัจจุบัน เราใช้แค่เพียง 0.00001 bitcoin เท่านั้น พอเขาเห็นดังนี้ก็เริ่มเก็ทแล้วว่า เฮ้ย! นี่มันเข้าท่าแฮะ เพราะเมื่อเขาหันมาถือ bitcoin สิ่งของต่าง ๆ รอบตัวก็ดูราคาถูกลง

แต่ในขณะที่การถือเงิน fiat อย่างเงินดอลล่าร์เอาไว้ กลับกลายเป็นว่าของทุกอย่างรอบตัวอะไรก็ดูแพงไปหมด ซึ่งจากตัวอย่างใน Episode ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการยกตัวอย่างไปแล้วว่า ถ้าเราเลือกที่จะถือเงินดอลล่าร์ ในวันนี้สามารถใช้เงิน $2 ในการซื้อขนมปังได้ 1 ก้อน แต่พอวันเวลาผ่านไป 10 ปี กลับต้องใช้ถึง $4 ในการซื้อขนมปัง 1 ก้อน

ซึ่งสาเหตุที่จะต้องเปรียบเทียบมูลค่าเป็น fiat currency หรือเปรียบเทียบเป็นเงินดอลล่าร์นั้น ก็เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นว่า ทรัพย์สินแต่ละอย่างมีมูลค่าอะไรเท่าไหร่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมถามคุณว่า ตอนนี้ราคาหุ้นของ Amazon หุ้นละเท่าไหร่ ซึ่งคุณก็ต้องตอบเป็นดอลล่าร์ เพื่อใช้ในการสื่อสารและทำความเข้าใจตรงกันว่าทรัพย์สินนั้น ๆ มันมีมูลค่าเท่าไหร่กันแน่

โดยเวลาที่เราดูกราฟภาพรวมของตลาดหุ้นก็จะพบว่า ตลอดหลายสิบปีที่ผ่าน มันมีแต่จะขึ้น กราฟชัน 45 องศาสวยเชียว แต่นั่นมันเป็นการนำตลาดหุ้นไปเปรียบเทียบกับเงินดอลล่าร์ แต่พอนำไปเปรียบเทียบกับ Asset อื่น เช่น ทองคำ กลับพบว่ามันมีค่าลดลง

ส่วนถ้าเทียบกับ Bitcoin นี่ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาล่าสุดนี้ มันสามารถทำผลงานได้ดีกว่า Asset อื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาดทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่เลยก็ว่าได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันชนะ fiat currency ได้อย่างสิ้นเชิง

และในยุคนี้ก็ถือว่าเรากำลังอยู่ในยุคของการล้มเหลวของสกุลเงิน fiat โดยเคยมีคำกล่าวจาก Henry Ford ผู้ก่อตั้งรถยนต์ Ford มหาเศรษฐีในอดีตว่า

It is well enough that people of the nation do not understand our banking and monetary system, for if they did, I believe there would be a revolution before tomorrow morning.

Henry Ford

หมายถึง “มันเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้วที่มีเพียงคนหยิบมือที่เข้าใจระบบการเงินและการธนาคาร เพราะถ้าหากพวกเขาส่วนใหญ่เข้าใจระบบนี้แล้วล่ะก็ เมื่อนั้นในเช้าวันรุ่งขึ้นจะต้องเกิดการปฏวัติ เกิดจราจลอย่างใหญ่หลวงกันเลยทีเดียว”

นั่นคือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการศึกษาโดยเฉพาะเรื่องของการเงิน

นั่นทำให้คนอเมริกันจำนวนกว่าร้อยละ 55 ที่เลือกที่จะถือครอง Asset เพราะมันทำให้พวกเขาได้เปรียบในเกมการเงิน ซึ่งอันที่จริงแล้ว ที่พวกเขาถือครองทรัพย์สิน พวกเขาไม่ได้มีเจตนาที่จะเหยียบย่ำซ้ำเติมกับคนที่มีฐานะน้อยกว่า เพราะคุณก็คงจะเคยเห็นคนรวยหลายคนที่เป็นคนจิตใจดีมีเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซะด้วยซ้ำ แต่มันเป็นผลพวงจากการออกแบบระบบการเงินที่มันบังคับให้พวกเขาเลือกที่จะครองทรัพย์สิน เพื่อที่จะได้อยู่รอดในเกมการเงินในระบบนี้

เพราะระบบนี้จะคงอยู่ต่อไป ไม่เปลี่ยนแปลง และเราเองก็ไม่มีพลังมากพอที่จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรใด ๆ ในระบบนี้ได้เลย และเราก็ไม่สามารถไปชี้สั่งใครได้ว่า อย่าไปเลือกระบบนั้น มาเลือกระบบนี้สิ เพราะแต่ละคนก็มีสิทธิเสรีภาพในตนเองอยู่แล้ว

ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ เมื่อมันมีช้อยส์ให้เลือกขึ้นมาระหว่างระบบแบบเดิม ๆ กับระบบแบบใหม่ หากเราเลือกได้ เราก็คงเลือกว่า เราได้ประโยชน์จากระบบใดบ้างเพื่อส่งผลดีแก่อนาคตทางการเงินของเรา

ซึ่งหล่าบรรดามหาเศรษฐีต่างรู้ดีว่า พวกเขาจะสามารถได้รับประโยชน์จากระบบการเงินด้วยวิธีใด ซึ่งหากพวกเขาอยากมีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น พวกเขาก็จะต้องเลือกที่จะถือครองทรัพย์สิน ถือครอง Asset ไม่ใช่เงินดอลล่าร์ ไม่ใช่ fiat currency

ซึ่ง Tom ก็ขอเสริมเพิ่มเติมว่า การที่คุณจะเลือกถือครอง Asset ที่ดีนั้น Asset ชิ้นนั้นจะต้องมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาวด้วย โดยไม่ว่าคุณจะเลือกลงทุนใน Asset ตัวใดก็ตามทีนั้น อย่าใช้แค่ความหวัง หรือใช้แค่อารมณ์ หรือนึกคิดไปเองว่า ราคามันจะขึ้นตลอดไป ซึ่งที่ Pomp เขาเลือกที่จะลงทุนใน Bitcoin นั้นก็เป็นเพราะ เกิดจากการทำการบ้าน เกิดจากการศึกษามาเป็นอย่างดี และเกิดจากการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาตลอดสิบกว่าปีตั้งแต่ bitcoin ได้ถือกำเนิดขึ้นมา แต่ก็ต้องยอมรับความจริงอีกข้อหนึ่งด้วยว่า ผลงานในอดีตก็ไม่ได้เป็นการการันตีถึงผลงานในอนาคตด้วยเช่นกัน ดังนั้น มันอยู่ที่คุณจะเลือกด้วยตัวคุณเอง

แล้วมาติดตามกันต่อใน Episode ถัดไปนะครับ


กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin & Cryptocurrency

อันดับ 1 ของไทย คนส่วนใหญ่นึงถึง Bitkub

อันดับ 1 ของโลก คนส่วนใหญ่นึกถึง Binance


*หมายเหตุ : คอนเท้นต์นี้ไม่ใช่การแนะนำในการลงทุน เป็นการจัดทำเพื่อเป็นกรณีศึกษาจาก Raoul Pal เท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาและตัดสินใจลงทุนด้วยตัวท่านเอง

Resources