Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

How to

1 ในทางเลือกที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ

สำหรับบทความนี้ Patrick Bet-David ที่ปรึกษานักธุรกิจร้อยล้าน ได้ให้ข้อคิดสำหรับคนที่กำลังจะเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัว โดย ณ ปัจจุบันนี้อาจจะทำงานเป็นพนักงานประจำอยู่ แต่ครั้นจะลาออกไปลุยเส้นทางนายตัวเองเลยก็ดูจะสุ่มเสี่ยงเกินไป เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน แต่หารู้ไม่ว่า การเริ่มต้นเส้นทางการเป็นผู้ประกอบการนั้น สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ยังเป็นพนักงานประจำอยู่ได้เลย หรือแม้จะเป็นเพียงพาร์ทเนอร์หรือฟรีแลนซ์ ก็สามารถเริ่มต้นเส้นทางการเป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน

โดยหนึ่งในวิธีการที่เรียกว่าดีที่สุดในการเป็นผู้ประกอบการนั้นก็คือ การเริ่มต้นจากการเป็น Intrapreneur โดยคำนี้แปลได้ว่า การเป็นผู้ประกอบการภายใต้ประกอบการที่เป็นบอสของเราอีกทีหนึ่ง งงไหมครับ? ถ้าเช่นนั้น ลองมาดูตัวอย่างของ Intrapreneur กันสักหน่อย

หลายคนคิดว่า เราจะต้องเริ่มต้นการเป็นผู้ประกอบการอย่างโดดเดี่ยวหรือเริ่มต้นจากศูนย์ แต่หากดูจากตัวอย่างมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยติดอันดับโลกหลาย ๆ คนอย่าง Sean Parker ที่เคยทำธุรกิจเกี่ยวกับการแชร์เพลงบนโลกออนไลน์ชื่อดังในอดีตอย่าง Napster แต่ก็ต้องล้มเลิกและเจ๊งไปอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากถูกค่ายเพลงต่าง ๆ ฟ้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์

จนกระทั่งเขาได้มีโอกาสไปพบกับ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook ที่ ณ ตอนนั้น Facebook ยังรันธุรกิจไปด้วยเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด และหลังจากที่ Sean Parker มีโอกาสได้พูดคุยกับ Mark Zuckerberg ในท้ายที่สุด เขาก็สามารถนำพาไปพบกับนายทุนใหญ่คนแรกของ Facebook นั่นก็คือ Peter Thiel อดีตผู้ร่วมก่อตั้งระบบชำระเงินออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Paypal.com โดยลงทุนเงินก้อนแรกบน Facebook ด้วยมูลค่ากว่า 500,000 ดอลล่าร์ฯ หรือราว ๆ กว่า 15 ล้านบาท โดย Sean Parker ได้รับหุ้นของ Facebook จากการเป็นตัวกลางในการดีลครั้งนี้ประมาณ 6.47% ซึ่งนั่นมันก็ทำให้เพียงพอที่ Sean Parker จะกลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้านทันทีหลังจากที่ Facebook เข้าตลาดหลักทรัพย์ โดย ในปี 2018 Sean Parker มีทรัพย์สินอยู่ที่ 2.7 พันล้านเหรียญฯ หรือราว ๆ กว่า 8 หมื่นล้านบาท โดยที่นำพาตัวเองไปเป็นคนในตำแหน่งที่เรียกว่า Intrapreneur และเขาก็ยังกลายเป็นประธานบอร์ดบริหารของ Facebook คนเองอีกด้วย

ทีนี้เราลองมาดูกันว่า ลักษณะของ Intraprenuer เมื่อเทียบกับการเป็น Entrepreneur นั้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

  • Intrapreneur พวกเขาคิดแบบเดียวกันกับ Entrepreneur
  • Intrapreneur พวกเขาทำงานแบบเดียวกันกับ Entrepreneur – ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาไม่เคยคิดว่าจะทำงานเพียงแค่ตอน 9 โมงเช้าจนถึง 5 โมงเย็น แต่พวกเขาทำงานจนดึก ๆ ดื่น ๆ และทำงานอยู่ตลอดเวลา
  • Intrapreneur พวกเขามีความตื่นตัวแบบเดียวกันกับ Entrepreneur – ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพวกเขามีไอเดียหรือเรื่องราวอะไรใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ พวกเขาก็พร้อมที่จะเรียกทีมงานประชุมเพื่อหารือทันที พร้อมที่จะมีทติ้งในทันที
  • Intrapreneur พวกเขามีความคิดและขวนขวายในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • Intrapreneur พวกเขามีความคิดว่าเขาคือส่วนหนึ่งของบริษัท ไม่ใช่คิดว่านี่คือบริษัทของหัวหน้าหรือบอส พวกเขาจะไม่ใช้คำว่า ผมและคุณ แต่พวกเขาจะใช้คำว่า พวกเรา
  • Intrapreneur คอยปกป้องทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัทราวกับเจ้าของปกป้องยังไงยังงั้น

ซึ่งสิ่งเดียวที่ดูเหมือน Intrapreneur จะแตกต่างจาก Entrepreneur ก็คือ พวกเขาไม่ได้ลงเงินเอง พวกเขาไม่ได้เป็นคนที่ริเริ่มก่อตั้งบริษัทขึ้นมา เพราะหน้าที่นี้ตกอยู่กับ Entrepreneur ที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทและเป็นคนลงเงิน

และการที่คุณจะเป็น Intrpreneur ในบริษัทใดบริษัทหนึ่งได้นั้น ขั้นแรกสุดคุณลองสำรวจตนเองดูว่า คุณทำงานเพียงแค่หวังว่าจะได้รับเงินเดือนในทุก ๆ สิ้นเดือน หรือคุณทำเพื่อให้ธุรกิจของเจ้านายเติบโตมากที่สุด และคุณจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญของธุรกิจนั้น แต่มีข้อแม้ว่า เจ้าของบริษัทนั้น ๆ ก็ต้องมีวิทัยทัศน์ในการอ้าแขนเปิดรับคนที่จะเป็น Intrpreneur ด้วยเช่นกัน

และนี่ก็คือ 1 ในเส้นทางเลือกที่ดีสุดทางหนึ่ง ของคนที่ต้องการจะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ ด้วยการเป็น Intrapreneur
ที่คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นเองทั้งหมดจากศูนย์และไม่ต้องลงเงินเอง คุณก็สามารถเติบโตเป็น Entrepreneur ที่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

Resource