วิธีสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยในยุค Bitcoin by Raoul Pal EP.3 ตอน ความเสี่ยงของ Cryptocurrency
ตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องของความเสี่ยงที่อาจขึ้นได้กับการลงทุนใน Cryptocurrency
โดยคำถามต่อมาคือ ตอนนี้เรากำลังอยู่ในโลกของอินเตอร์เน็ต และโลก crypto ก็เป็นดิจิตอลโดยสมบูรณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์ที่ Facebook, Instagram และ WhatsApp ล่มไปกว่าครึ่งวัน ไม่มีใครสามารถเข้าใช้งานได้
จะเป็นอย่างไรถ้าหากอินเตอร์เน็ตล่มแล้วเราไม่สามารถเข้าถึงเงินของเรา เข้าถึง cryptocurrncy ของเราได้ หรือไม่ก็โดน Cyberattack โจมตีเงินดิจิตอลของเรา เพราะแน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ก็กังวลในเรื่องเหล่านี้
โดย Raoul Pal ก็ตอบว่า สาเหตุที่เรียกว่าระบบ Decentralized หรือระบบการกระจายศูนย์ของ Blockchain นั้นก็เป็นเพราะ เครือข่ายของระบบมันไม่ได้รวมตัวกันอยู่ที่ใดที่หนึ่งเฉกเช่นอย่าง Facebook ที่มีคนคอยควบคุมระบบก็คือบริษัทของ facebook เจ้าเดียว ในขณะที่ระบบ blockchain นั้น คอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เข้าร่วม Network จะการมีการเก็บข้อมูลที่เหมือนกันทุกประการกับคอมพิวเตอร์แต่ละที่ ดังนั้นหากจะปิดเครือข่าย blockchain ทั้งหมดนั้น มันก็หมายถึงจะต้องมีการปิดอินเตอร์เน็ตทั้งโลกในเวลาเดียวกัน ซึ่งมันแทบเป็นไปไม่ได้เลย ส่วนการล่มของ Facebook นั้น เป็นปัญหาที่บริษัท Facebook ไม่ใช่ปัญหาการล่มของอินเตอร์เน็ต เพราะ Facebook ล่ม อินเตอร์เน็ตไม่ได้ล่ม
ต่อให้มีสงครามนิวเคลียร์ทั่วโลก แต่ถ้ายังหลงเหลือคอมพิวเตอร์สักเครื่องที่รันระบบ Network นั้นอยู่ มันก็ไม่หายไปไหน และพอสงครามนิวเคลียร์จบเข้าสู่ระยะฟื้นฟู เดี๋ยวมันก็แพร่กระจายใหม่ ซึ่งเอาเข้าจริงหากเกิดสงครามนิวเคลียร์สิ่งที่คุณต้องกังวลเป็นสิ่งแรกไม่ใช่เรื่องของ crypto แน่ ๆ มันน่าจะเป็นการเอาชีวิตให้รอดก่อนควรเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
ส่วนถ้าเกิดอินเตอร์เน็ตล่มทั้งโลกจริง อย่างมากคุณก็เข้าสู่ระบบไม่ได้สักระยะ แต่ crypto บน blockchain มันไม่ได้หายไปไหน และถ้าอินเตอร์เน็ตล่ม คนที่จะโดนก่อนเลยก็คือกลุ่มของธนาคาร เพราะในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ก็หันมาใช้ i-banking ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตกันกว่าร้อยละ 90 หรือกว่าร้อยละ 99 ซะด้วยซ้ำ ดังนั้น แบงค์โดนก่อนเพื่อนเลย ดังนั้นอินเตอร์เน็ตล่มมันไม่ใช่ปัญหาของ crypto มันเป็นปัญหาของธนาคารทั่วโลกซะมากกว่า
ส่วนการที่ blockchain จะถูกแฮ็คนั้นในทางทฤษฎีมีความเป็นไปได้ แต่ในทางปฏิบัตินั้น สามารถทำได้ยากมาก เพราะมันเป็นแบบระบบ Decentrarized แบบกระจายศูนย์ หากทำการแฮ็คแล้วต้องแฮ็คเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดทั่วโลกในเวลาที่พร้อมกัน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
คำถามต่อมาคือ ในช่วงที่ผ่านมาทางรัฐบาลจีนได้มีการแบนตลาด cryptocurrency ทั้งหมดภายในประเทศ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ หรือเกิดกับอเมริกาด้วยหรือไม่ ทางผู้คุมกฎจะมองอย่างไร เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันดีว่า cryptocurrency นั้นได้ให้อำนาจทางการเงินแก่ประชาชน และการที่รัฐรู้สึกว่าเหมือนกำลังจะเสียอำนาจทางการเงินในการควบคุมประชาชนให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ
โดย Raoul Pal ได้ให้คำตอบว่า แน่นอนทาง Regulator หรือผู้คุมกฎจะต้องออกกฎควบคุมอะไรบางอย่างออกมา แต่ก็อย่างที่เรารู้ว่ากฎหมายในปัจจุบันมันล้าหลังเอามาก ๆ มันเป็นกฎหมายตั้งแต่ปี 1934 ซะด้วยซ้ำ กฎหมายมันตามเทคโนโลยีไม่ทัน ซึ่งมันยากมากที่จะห้ามให้ประชาชนคนทั่วไปห้ามซื้อขาย cryptocurrency แต่จะดีกว่าหากทาง Regulator จะออกคำเตือนว่ามันเป็นทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องระมัดระวัดในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจติตอลเหล่านี้ เพราะอาจสูญเงินทั้งหมดได้ ซึ่งแนวทางนี้น่าจะดีกว่าการห้ามไปเลย เพราะในยุคปัจจุบันผู้คนก็ต้องการสิทธิเสรีภาพในการเลือกช้อยส์การลงทุนได้ด้วยตนเองได้อย่างอิรสะเสรี
และในปัจจุบันขนาดตลาดของ crypto มีมูลค่ารวมแล้วมากกว่า $2 Trillion และในอนาคตหากมันโตเป็น $10 Trillion การที่ Regulator จะมาบอกว่านี่มันเป็นแค่ตลาดเล็ก ๆ ไม่ใช่ตลาดจริง ๆ จัง ๆ นั้น ดูจะเป็นพูดที่ไม่เมคเซ้นส์เอาซะเลย ดังนั้นทางเลือกของ Regulator นั้นก็อาจจะมีแนวโน้มในการประนีประนอมซะมากกว่า ดังคำกล่าวที่ว่า ถ้าห้ามไม่ได้ก็เข้าร่วมด้วยซะเลย
ส่วนประเทศจีนนั้น เนื่องจากเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ดังนั้นพวกเขาสามารถสั่งห้ามประชาชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับ crypto ได้อย่างเด็ดขาด แต่ก็อย่างที่เห็น แม้ว่าประเทศจีนจะสั่งแบน crypto แต่เนื่องจาก crypto บนอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต มันอยู่บนบล็อกเชน มันก็โตของมันต่อไปได้ไม่มีปัญหา เพราะไม่มีใครสามารถหยุดมันได้
ส่วนคนจีนที่ต้องการเข้าวงการ crypto จริง ๆ พวกเขาก็แค่บินไปต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ แล้วก็เปิดบัญชีเข้าถึง crypto ได้อยู่ดี แล้วก็กลับประเทศจีน
และสาเหตุที่จีนแบน crypto นั้น เป็นเพราะพวกเขากำลังอยู่ในช่วงผลักดันหยวนดิจิตอลที่พวกเขามีอำนาจในการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งที่จีนแบน crypto นั้น เป็นเพราะมันเป็นสิ่งที่พวกเขาควบคุมไม่ได้ ไม่ใช่แบนเพราะ crypto ว่ามันไม่ดี ว่ามันไม่เจ๋ง
ส่วนทางรัฐบาลทั่วโลกก็กำลังเร่งสร้างสกุลเงินดิจิตอลของรัฐเอง ก็คือ CBDC : Central Bank Digital Currency ซึ่งแม้ว่ามันจะอยู่บน blockchain แต่มันไม่ได้มีจำนวน supply ที่จัดอย่างแน่นอน เพราะธนาคารกลางมีหน้าที่ในการผลิตเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอันที่จริงมันก็ไม่ได้แตกต่างจากเงิน fiat เงินกระดาษแบบปกติสักเท่าไหร่นัก แต่สิ่งที่จะเพิ่มเติมเข้ามาก็คือ มันสามารถส่งเงินดอลล่าร์หากันได้ในแบบทันทีทันใด
และแน่นอนว่าคนที่อยู่ในระบบนี้จะต้องมีการทำ KYC : Know Your Customer คือการระบุตัวตนที่ชัดเจนว่าเป็นใครมาจากไหน และเงินกำลังเดินทางจากใครไปที่ใด ซึ่งก็อาจจะเป็นการดีที่ได้ตัดตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินจากพ่อค้าคนกลาง แต่แน่นอนว่ามันไม่ใช่ cryptocurrency ที่อำนาจอยู่ในมือประชาชน เพราะ CBDC อำนาจจะอยู่ที่ธนาคารกลางและรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งสิ่งที่ธนาคารกลางจะทำนั้นมันตรงข้ามกับสิ่งที่ cryptocurrency พยายามจะเป็น
กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin & Cryptocurrency
อันดับ 1 ของไทย คนส่วนใหญ่นึงถึง Bitkub
อันดับ 1 ของโลก คนส่วนใหญ่นึกถึง Binance
*หมายเหตุ : คอนเท้นต์นี้ไม่ใช่การแนะนำในการลงทุน เป็นการจัดทำเพื่อเป็นกรณีศึกษาจาก Raoul Pal เท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาและตัดสินใจลงทุนด้วยตัวท่านเอง
Resources