Site icon Blue O'Clock

เข้าใจสมอง เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ด้วย Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์) | Blue O’Clock x GeniusX

Neuroscience

คนเราแต่ละคนนั้นล้วนแล้วมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคม ที่มักอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม

โดยการรวมกลุ่มของผู้คน ก็นำมาซึ่งการพัฒนา และนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่สังคม

แต่ด้วยความที่แต่ละตัวบุคคลนั้นมีทั้งความคิด เหตุผล อารมณ์ พฤติกรรมและการกระทำ ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการที่จะทำให้กลุ่มคนในแต่ละกลุ่ม ในแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภายในครอบครัวหรือภายในห้างร้านบริษัทต่าง ๆ เกิดความเข้าอกเข้าใจกันได้ดียิ่งขึ้น มีความขัดแย้งที่น้อยลง ได้นั้น

ก่อนอื่น เราก็จำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักกับตัวตน ตัวของเราเอง และเรียนรู้ รู้จักกับตัวตนของผู้อื่น ซึ่งศาสตร์ความรู้ใหม่ในยุคปัจจุบันที่จะสามารถช่วยให้แต่ละคนทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์)

Neuroscience – ประสาทวิทยาศาสตร์ คืออะไร?

Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบประสาท และสมอง

โดยเป็นการผสมผสานความรู้หลากหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ชีววิทยา(Biology), วิทยาศาสตร์การแพทย์(Medical science), จิตวิทยา(Psychology)

และในปัจจุบันก็ได้มีการนำศาสตร์ด้าน Computer และ Engineer มาศึกษาร่วมกับระบบประสาทอีกด้วย

ซึ่ง Neuroscience นี้ มีการศึกษาตั้งแต่ระดับชีวโมเลกุล ระดับพันธุกรรม ขยายจนไปถึงการอธิบายเรื่องของพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้คนในสังคมที่มีต่อกัน

Neuroscience from bottom to top

ซึ่งเนื้อหาในตอนนี้ จะยกตัวอย่างจากการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนเรา ที่แต่ละคนก็มีความแตกต่างกันออกไปทั้งในด้านความคิด การกระทำ การแสดงออก การตัดสินใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของสมองของแต่ละคนนั้นใช้ไม่เท่ากัน ตามทฤษฎี The Triune Brain

The Triune Brain – ทฤษฎีสมองสามส่วน คืออะไร?

ทฤษฎี The Triune Brain ได้ถูกนำเสนอโดย Dr. Paul MacLean เป็นนายแพทย์ นักจิตเวช และนักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ที่เขาได้แบ่งสมองของมนุษย์เรานั้นออกเป็น 3 ส่วน ตามการวิวัฒนาการและการเจริญเติบโต นั่นก็คือ

ส่วนที่ 1 – Reptilian Brain : สมองสัตว์เลื้อยคลาน

สมองชั้นในสุด เป็นส่วนที่เรียกว่า ก้านสมอง (Brain stem) ถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์มีสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอด (Instinctive Mind) โดยเฉพาะ

ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนของสมองมนุษย์ที่ได้รับตกทอดมรดกมาจากสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์

โดยมันจะทำงานภายใต้จิตไร้สำนึก(Unconscious) ความหมายก็คือ มันจะทำงานโดยอัตโนมัติ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ใช้สติ ไม่มีความรู้ตัว

โดยเป้าหมายหลักอย่างเดียวก็คือ ทำให้มีชีวิตรอดอยู่ต่อไปได้ ซึ่งเป็นกระบวนการทางจิตที่เราไม่รู้ตัว เช่น การหิว การขับถ่าย การนอนหลับ การสืบพันธุ์ การเอาตัวรอด เช่น การหายใจ การไอ การจาม เหล่านี้ อยู่ในส่วนสมองของสัตว์เลื้อยคลานแทบทั้งสิ้น

โดยสมองในส่วนนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพันธุกรรม และจะเจริญเติบโตเต็มที่ในครรภ์มารดาประมาณกว่า 90%

ส่วนที่ 2 – Old mammalian brain : สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมยุคโบราณ

สมองชั้นกลาง ที่มีชื่อเรียกว่า Limbic system หรือ Limbic brain เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์(Emotical Mind) เป็นส่วนที่ใช้สติ มีความรู้ตัว

สมองส่วนนี้ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ และการเรียนรู้ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 0-8 ขวบ

ทำงานภายใต้จิตใต้สำนึก (Subconscious) ความหมายก็คือ อารมณ์ ความรู้สึกที่อยู่ภายในจิตใจ เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด แต่มนุษย์นั้น สามารถกด กักเก็บไม่แสดงอารมณ์นั้น ๆ ออกมาได้

ซึ่งเป็นเพราะมนุษย์เรานั้นมีจิตสำนึก (Conscious) คือภาวะที่รู้ตัว มีการคิดวิเคราะห์ ใช้เหตุผล มีกระบวนการตัดสินใจ ที่เป็นผลมาจากสมองส่วนชั้นนอกสุด

ส่วนที่ 3 – Neomammalian brain : สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมยุคใหม่

สมองชั้นนอกสุด เรียกว่า Neocortex brain ที่ทำให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ขั้นสูง (Analytical Mind) ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ สามารถวางแผนการได้ สามารถยับยั้งชั่งใจได้ หรือที่คนเราเรียกกันว่า มีวุฒิภาวะ

โดยสมองส่วนนี้ยังไม่ได้รับการพัฒนาภายในครรภ์มารดา แต่จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรก และเมื่ออายุครบ 3-6 ขวบ สมองส่วนนี้จะได้รับพัฒนาประมาณ 80%
แต่พออายุ 9 ขวบ ก็จะพัฒนาได้กว่า 90% และสามารถเติบโตไป จนกระทั่งอายุ 25 ปี

โดยสมองในส่วนนี้ได้รับอิทธิพลน้อยมากจากพันธุกรรม (10%-20%) เพราะสมองค่อยมาเติบโตภายหลังการคลอดแล้ว

และเนื่องจากบางคนอาจใช้สมองส่วนอารมณ์เยอะ บางคนใช้สมองส่วนเหตุผลเยอะ หรือบางคนอาจใช้สมองส่วนสัญชาตญาณเยอะ จึงส่งผลให้ระบบความคิด พฤติกรรมและการกระทำของแต่บุคคลแตกต่างกันออกไป

ซึ่งอาจสามารถแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ (ที่ยังสามารถแบ่งออกเป็น 30 ลักษณะย่อย ๆ ตามมาได้อีกด้วย) ตามสูตรของ G.E.N.I.U.S. X ดังนี้

ประเภทที่ 1 – Type G – Game Changer นักสู้ผู้เปลี่ยนเกม

เป็นคนประเภทที่คิดเร็ว ทำเร็ว กล้าคิด กล้าทำ ใจร้อน เบื่อง่าย ชอบทำอะไรใหม่ ๆ

ประเภทที่ 2 – Type E – Entrepreneur นักธุรกิจสมองใส

เป็นคนประเภทที่ไม่ยอมเสียเปรียบใคร เจรจาต่อรองเก่ง เก็บเงินเก่ง

ประเภทที่ 3 – Type N – Network นักเจรจาผู้เชื่อมโยง

เป็นคนสนุก ชอบสร้างเสียงหัวเราะให้คนรอบข้าง คุยเก่ง เพื่อนเยอะ

ประเภทที่ 4 – Type I – Information นักปราชญ์ผู้รอบรู้

เป็นคนละเอียดรอบคอบ คิดเยอะ ดูอะไรจะดูละเอียดมาก มีระเบียบ ข้อมูลเยอะ

ประเภทที่ 5 – Type U – Unique ศิลปินผู้รักอิสระ

เป็นคนที่มีความละเอียดอ่อน อารมณ์ศิลปินสูง จะทำอะไรต้องรออารมณ์

ประเภทที่ 6 – Type S – Sharing แม่พระผู้ใจบุญ

เป็นคนใจดี ชอบให้ ชอบแบ่งปัน มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ มีอะไรก็จะเก็บความรู้สึกไว้คนเดียว

โดยแต่ละคนก็จะมีลักษณะเด่น ลักษณะรอง ที่มีค่าเปอร์เซ็นต์แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าหากทุกคนรู้ว่าตัวตนของเราเป็นอย่างไร คนรอบข้างของเราเป็นอย่างไร ก็จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละบุคคลได้ และสามารถปรับตัวเข้าหากันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาความไม่เข้าใจกันได้

ซึ่งแบบทดสอบ GeniusX ที่เป็นแบบทดสอบที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นมาจากศาสตร์ของ Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์) ที่เมื่อทำแบบทดสอบแล้ว ก็จะทำให้เราสามารถระบุประเภทของแต่ละบุคคลได้อย่างแม่นยำ สามารถนำมาใช้ได้กับครอบครัว / Startup / HR บริหารองค์กร / และผู้บริหารระดับสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับด้านใดตามจุดประสงค์ที่เราต้องการ

โดยเพื่อน ๆ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ฟรีที่นี่ >>> ทำแบบทดสอบเวอร์ชั่นฟรี ( https://www.neurogenius.com/geniusx-brainskill )

หรือหากต้องการทำแบบทดสอบเพื่อระบุตัวตนอย่างละเอียด ก็สามารถเข้าทำแบบทดสอบเวอร์ชั่นพรีเมี่ยมได้ที่นี่ >>> ทำแบบทดสอบพรีเมี่ยม ( https://www.neurogenius.com/go/BLUE20 )

ซึ่งสำหรับแฟน ๆ Blue O’Clock จะมีส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมอีก 20% อีกด้วย ( อย่าลืมใส่โค้ดนี้ก่อนสั่งซื้อ >>> CODE : BLUE20 )

และหลังจากทำแบบทดสอบ GeniusX กันแล้ว ก็มาแชร์กันหน่อยนะครับว่า ใครมีสมองประเภทใดกันบ้าง

Resources

Exit mobile version