Site icon Blue O'Clock

WHY SERIES ep.3 : คำถามฉุกคิด เพื่อค้นหา WHY ด้วยตัวคุณเอง

freepik.com

และหลังจากที่เรารู้แล้วว่า เราเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่ออะไร และเราจะค้นหา WHY ของเราเจอได้ยังไง สำหรับในบทความนี้ก็จะเป็นตัวอย่างของคำถามที่จะนำทางไปสู่คำตอบของ WHY ที่คุณกำลังค้นหาอยู่ โดยมีคำกล่าวที่ว่า “หากคุณต้องการคำตอบที่ดี คุณต้องเริ่มต้นด้วยการถามคำถามที่ดีซะก่อน” เพราะมันก็เหมือนกับการตั้งโจทย์ที่ดี หากคุณตั้งโจทย์ผิดตั้งแต่แรก คุณก็ไม่ต้องคาดหวังกับคำตอบที่ออกมาเลย เพราะเมื่อคำถามมันห่วย คำตอบก็ต้องห่วยตามเป็นธรรมดา

และในบทความนี้ Jack Canfield นักเขียนหนังสือชื่อดังระดับโลกอย่าง Chicken Soup for the Soul และหนังสืออีกกว่า 250 เล่ม ที่สามารถขายได้มากกว่า 500 ล้านเล่ม ใน 40 ภาษาทั่วโลก จะมาแนะนำวิธีการค้นหา WHY จากเจตจำนงของคุณ

5 ขั้นตอนการค้นหา WHY ที่คุณรักและหลงใหลในชีวิตของคุณ

ขั้นตอนที่ 1 – จงระบุลักษณะนิสัย 2 บุคคลิก ที่ตรงกับตัวคุณมากที่สุด โดยเลือกจากบุคคลิกทั้ง 26 ข้อดังต่อไปนี้

1. Authentic – เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือ ตรงไปตรงมาไม่หน้าไหว้หลังหลอก
2. Brave – เป็นคนกล้าหาญ พร้อมเผชิญหน้ากับความเสี่ยง
3. Character-driven – มักเป็นคนนำเรื่องอยู่เสมอ คอยผลักดันให้ผู้อื่นติดตามและไว้วางใจในตัวเอง
4. Decisive – เป็นคนเด็ดขาดไม่ถูกก็ผิด
5. Engaging – เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู
6. Fearless – เป็นคนใจถึง กล้าได้กล้าเสีย
7. Goal-oriented – เป็นคนมีเป้าหมาย ชอบมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเป็นสำคัญ
8. Humble – เป็นคนถ่อมเนื้อถ่อมตน
9. Inspiring – เป็นคนชอบสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่น
10. Just – มีความเป็นธรรม เป็นคนที่ชอบความเสมอภาคโดยใช้หลักของเหตุผลและความจริง
11. Knowledgeable – เป็นคนรอบรู้ เฉลียวฉลาด
12. Listener – เป็นผู้ฟังที่ดี
13. Motivating – เป็นคนที่ชอบสร้างแรงกระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่น เป็นคนที่ชอบให้คำปรึกษาแก่คนอื่นอยู่เสมอ
14. Noble – เป็นผู้ดี มีท่วงท่าสง่างาม
15. Optimistic – เป็นคนมองโลกในแง่ดี
16. Progressive – เป็นคนหัวก้าวหน้า ชอบบุกเบิกในเส้นทางใหม่ ๆ ชอบการเติบโตในสายอาชีพการงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
17. Qualitative – เป็นคนมีคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ
18. Reliable – เป็นคนที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ทั้งในยามดีหรือยามร้าย เป็นคนรักษาคำพูด
19. Supportive – เป็นคนที่ชอบซับพอร์ทคนอื่น ช่วยเหลือผู้อื่น สนับสนุนผู้อื่นอยู่เสมอ
20. Trustworthy – เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต
21. Unbiased – เป็นคนเถนตรง ไม่มีอคติ ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
22. Visionary – เป็นคนที่มีจินตนาการ ชอบสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
23. Wise – เป็นคนฉลาด มีปัญญา
24. Excellent – เป็นคนยอดเยี่ยม เจ๋ง เวลาทำอะไรก็จะพยายามทำมันออกมาให้มีคุณภาพสูงที่สุด
25. Yearning – เป็นคนที่มีความโหยหา หิวกระหาย อยากได้มากขึ้น อยากทำให้มากขึ้น อยู่ตลอดเวลา
26. Zealous – เป็นคนที่มีความกระตือรือร้น

ขั้นตอนที่ 2 – จากลักษณะนิสัยและบุคคลิกของคุณในขั้นตอนที่ 1 คุณชอบที่จะแสดงออกต่อผู้อื่นอย่างไรบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น หากบุคคลิก 2 อย่างของคุณคือ Knowledgeable และ Wise  หรือพูดรวม ๆ คือ เป็นคนเฉลียวฉลาดและชอบเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คุณจึงแสดงออกด้วยการเผยแพร่ความรู้ที่คุณมีอยู่ออกสู่สาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นทางการเขียนหนังสือ เขียนบทความ ทำวีดีลง Youtube ทำคอร์สเรียนออนไลน์ ออกมาเพื่อสอนผู้อื่น เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 – โลกนี้จะเป็นอย่างไร หาก ณ ตอนนี้คุณสามารถทำในขั้นตอนที่ 2 ได้เจ๋งโคตร ๆ

สมมติว่า จากขั้นตอนที่ 2 คือการสร้างสื่อการเรียนรู้ดี ๆ เพื่อเผยแพร่แก่ผู้อื่นบนโลกออนไลน์ หาก ณ ตอนนี้คือสื่อที่คุณทำมันเป็นสื่อที่เจ๋งโคตร ๆ โลกนี้คงมีคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ และช่วยกันพัฒนาโลกให้ดีขึ้นไปอีก เพราะเมื่อแต่ละคนที่เสพย์สื่อที่ดีเข้าไปแล้ว ก็จะเริ่มมีแนวความคิดที่ดีขึ้น เจ๋งขึ้น มีรายได้มากยิ่งขึ้น และแบ่งปันช่วยเหลือแก่ผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น โลกก็จะน่าอยู่ยิ่งขึ้นนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 4 – คุณให้คะแนนกับสิ่งที่คุณทำในสิ่งที่รักและหลงใหลนี้กี่คะแนน

จาก 3 ขั้นตอนที่ผ่านมา คุณก็พอจะรู้บ้างแล้วว่า มีอะไรบ้างที่คุณทำแล้วรู้สึกรักและหลงใหลที่จะทำมันอย่างสนุกสนานและไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย ทีนี้ ลองให้คะแนนตัวคุณเอง ณ ตอนนี้ดูว่า หากคะแนนเต็ม 10 ตอนนี้คุณให้คะแนนในเรื่องนี้ของตัวคุณเองเท่าไหร่?

ขั้นตอนที่ 5 – หากคะแนนยังไม่เต็ม 10 จะมีวิธีใดบ้างเพื่อให้คะแนนเต็ม 10

และสมมติว่าคุณให้คะแนนตัวเองในขั้นตอนที่ 4 ยังไม่เต็ม 10 คำถามต่อมาที่คุณควรตั้งคำถามกับตัวเองก็คือ แล้วฉันจะต้องทำอะไรอีกบ้าง เพื่อให้ตัวเองนั้น ได้คะแนนเต็ม 10 เช่น ศึกษาให้มากขึ้น, ลงมือทำมากขึ้น, พัฒนาทักษะให้เก่งยิ่งขึ้น, เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น

สุดท้ายนี้ ลองแชร์กันหน่อยครับว่า เพื่อน ๆ แต่ละคนมีลักษณะบุคคลิกภาพแบบใดกันบ้าง และตอนนี้ให้คะแนนตัวเองกันกี่คะแนน?

บทความ WHY SERIES

Resources

Exit mobile version