อยากสำเร็จจงฟัง คำแนะนำจาก Jeff Bezos ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก
Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com จากธุรกิจร้านขายหนังสือออนไลน์สู่การเป็น Everything Store หรือขายทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ โดยในปี 2020 เขามีทรัพย์สินอยู่ที่ 184.6 พันล้านเหรียญฯ หรือราว ๆ 5.6 ล้านล้านบาท เป็นบุคคลที่ร่ำรวยอันดับ 1 ของโลก โดยในโพสต์นี้ Jeff Bezos จะมาให้คำแนะนำสำหรับคนที่ต้องการเริ่มต้นเลือกเดินในเส้นทางการเป็นนายตนเอง
โดยเริ่มต้นจากการที่พิธีกรได้ถามคำถามกับ Jeff Bezos ว่า “ในฐานะที่คุณเป็นผู้ประกอบ นักธุรกิจ และบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก คุณจะให้คำแนะนำอย่างไรบ้างกับคนที่ต้องการที่จะเดินในเส้นทางของการเป็นผู้ประกอบการที่ร่ำรวยและประสบความสำเร็จอย่างสูง”
โดย Jeff Bezos ได้ตอบว่า…
อันดับแรกสุด คุณไม่ควรเริ่มต้นทำตามกระแสที่ร้อนแรง ณ ขณะนั้น ซึ่งไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ตามที จะมีประโยคที่มักได้ยินบ่อย ๆ เช่น ไม่ทำตอนนี้ตกขบวนนะ ทำตามกระแสนี้สิรวยแน่ ๆ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แน่นอนว่ามันมีคนที่จับกระแส ตามกระแสทัน และกลายเป็นคนรวยขึ้นมาได้ แต่ต้องยอมรับว่ามีคนส่วนใหญ่ที่ทำไม่ได้แบบนั้น
ซึ่งสิ่งที่คุณควรทำคือการรักษาตำแหน่งของคุณเอาไว้ รักษาความเป็นตัวตนของคุณเอาไว้ เตรียมตัวคุณเอาไว้ให้พร้อมรับมือกับโอกาสที่กำลังจะก้าวเข้ามาในอนาคต และพร้อมที่จะคว้าโอกาสนั้นเอาไว้ ซึ่งการที่จะทำอย่างนั้นได้ คุณจำเป็นที่จะต้องทำในสิ่งที่คุณชอบ ทำในสิ่งที่คุณรัก ทำในสิ่งที่คุณหลงใหลเป็นอย่างมาก
และนี่คือคำแนะนำอันดับ 1 ที่เขามักจะแนะนำใครต่อใครก็ตามที่ขอคำแนะนำในการเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ธุรกิจแรกหรือแม้กระทั่งธุรกิจ Startup ใหม่ ๆ ที่เกิดภายในองค์กรที่มีบริษัทแล้วก็ตามที คุณจงทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นเป็นสิ่งที่คุณสนใจมันจริง ๆ เป็นสิ่งที่คุณหลงใหลมันจริง ๆ
ซึ่งหลักการที่เขาเป็นคนรวย ไม่ใช่เพราะเขาอยากรวย แต่มันเกิดขึ้นเพราะเขาสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าออกมาต่างหาก เพราะเมื่อผลิตภัณฑ์มันยอดเยี่ยม มันก็ดึงดูดให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการและยอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับบริการของเขาเป็นจำนวนมาก แต่หากคุณแค่อยากรวย คุณอาจจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เงินมา หรือเผอเรอจนไม่ได้ใส่ใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มันดียิ่งขึ้นในทุก ๆ วัน โดยจะเห็นได้ว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในระยะยาวนั้น แต่ละบริษัทล้วนแล้วแต่ทุ่มงบประมาณในแผนก R&D Research and Development หรือแผนกการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ กันหนักมาก
คำแนะนำต่อมาที่เขาแนะนำก็คือ (Customer Centric) คือการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ให้ทุกสิ่งทุกอย่างคิดในมุมมองของลูกค้า ว่าหากคุณคือลูกค้าของบริษัทของตัวเอง พวกเขาต้องการอะไร พวกเขามีปัญหาอะไร และพวกเขาต้องการความช่วยเหลือแบบใด เพื่อให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดียิ่งขึ้น
Resources