สภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ โดยทาง Patrick ได้บอกว่า
- ค่าเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา สูงสุดในรอบ 40 ปี มีค่า inflation สูงถึง 8.5%
- ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นกว่า 48% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันกับเมื่อปี 2021 ปีที่แล้ว
- ค่าเช่าบ้านขนาดสองห้องนอนในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 22% เมื่อเทียบกับปี 2021 ปีที่แล้ว
ซึ่งสำหรับคนฐานะปานกลางค่อนไปทางบนขึ้นไปนั้น อาจจะดูว่ามันเพิ่มขึ้นไม่เท่าไหร่ แต่สำหรับคนปานกลางลงมานั้น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะค่าแรงในแต่ละปีนั้น ส่วนใหญ่ก็เพิ่มขึ้นไม่เกิน 10%
ดังนั้น หากใครที่มีรายได้โตน้อยกว่าค่าเงินเฟ้อและค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ แล้วนั้น จะลำบากมาก ๆ ในการที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้
ทีนี้มาดูตัวเลขในตลาดเงินต่าง ๆ กันบ้าง
ทั้ง ๆ ที่บริษัทเหล่านี้ เป็นบริษัทที่ดีทั้งนั้น แต่ทำไมกลับมีราคาหุ้นที่ตกต่ำลง ซึ่งมันอาจใช้เป็นอินดิเคเตอร์เพื่อบ่งบอกว่า ตลาดขาลงต่ำสุดกำลังมาถึงแล้วหรือไม่?
โดย Pat บอกว่า ที่ปรึกษาด้านการเงินของเขาบอกว่า ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ทาง FED ขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกัน 2 ครั้ง ขึ้นไปภายในไตรมาสเดียว โอกาสที่จะเกิดสภาวะ Recession นั้น มีโอกาสสูงถึงร้อยละ 60 ภายในระยะเวลา 18 เดือน นับจากวันขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะเป็นช่วงปลายปี 2023 หรืออาจจะเป็นช่วงต้นปี 2024 หรืออย่างแย่สุดก็ภายในปี 2022 นี้เลย
How bad will things really get?
ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ สิ่งที่หลายคนอาจเห็นตามสื่อโซเชียลที่มักจะเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นอย่างเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีจากหุ้น เศรษฐีจากโลกคริปโตฯ ที่จู่ ๆ ก็มีกูรู ผู้เชี่ยวชาญที่เผยแพร่ความสำเร็จ ความรวย เกิดขึ้นอย่างมากมาย
แต่ Pat บอกว่า เราจะต้องฟังคำแนะนำอย่างระมัดระวังจากคนเหล่านั้น เพราะที่ผ่านมามันเป็นตลาดขาขึ้นมาโดยตลอด ไม่ว่าใครจะเอาเงินไปลงตลาดไหนก็ปังแทบทั้งสิ้น มันจึงมีคำว่า Lucky Millionaire หรือเศรษฐีที่ร่ำรวยขึ้นจากการโชคดีอย่างมากมาย
แต่สิ่งที่จะวัดว่า ใครเป็นเศรษฐีตัวจริงนั้น มันจะวัดกันในช่วงตลาดขาลง 2-3 ปี ต่อจากนี่แหละว่า ถ้าใครยังสามารถร่ำรวยอยู่ในขณะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ นั่นแหละ ถึงจะเรียกว่าเป็นตัวจริง
ส่วนสถานการณ์ความไม่สงบสุขของโลก ณ ตอนนี้ ก็สุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดสงครามได้ ไม่ว่าจะเป็น สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ที่อาจลุกลามไปเป็นสงครามโลก ที่มีสหรัฐอเมริกาและจีน เข้ามาร่วมด้วย
นอกจากนั้น โลกยังต้องเผชิญกับค่าเงินเฟ้ออย่างรุนแรง อย่างในสหรัฐอเมริกา ค่า CPI มีค่าสูงถึง 8.5% ส่วนในประเทศไทยค่า CPI ก็มีค่าสูงถึง 7.86%
แถมเหล่าบรรดาธุรกิจ SMEs ต่าง ๆ ก็ยังคงต้องเผชิญและฝ่าฟันกับวิกฤต covid-19 ไปให้ได้ แถมยังจะต้องเตรียมตัวเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่อาจเป็นครั้งใหญ่กว่ารอบไหน ๆ ที่โลกเคยมีมาก็ได้
โดย Sir Winston Churchill อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า
“The farther back you can look, the farther forward you are likely to see”
หมายถึง “ยิ่งคุณมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมาได้นานแค่ไหน คุณก็สามารถมองไปข้างหน้าได้ไกลเท่านั้น”
ซึ่งแม้ว่า หลายคนจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ในโลกการลงทุน ผลงานในอดีต ไม่สามารถใช้การันตีผลลัพธ์ในอนาคตได้” นั่นก็เป็นเพราะ กฎหมายการลงทุนโดยปกตินั้น ไม่อนุญาตให้ผู้คนเชิญชวนหรือให้คำแนะนำในการลงทุนใด ๆ เพื่อเป็นการชี้ชวน
และเช่นเดียวกันเนื้อหานี้ ก็ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวจาก Patrick Bet-David คนเดียวเท่านั้นเอง
ส่วนนี่ก็คือวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้เกิด Market Crash 10 อันดับที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกมาแล้ว ที่เรียงลำดับความรุนแรงจากน้อยไปหามาก
อันดับที่ 10 Covid-19 Pandemic – FEB 19, 2020 – MAR 23, 2020
- The market dropped -34%
- Duration was 33 days
อันดับที่ 9 Computer Trading – AUG 25, 1987 – OCT 19, 1987
- The market dropped -36.1%
- Duration was 55 days
อันดับที่ 8 Dotcom Bubble & 9/11 – MAR 10, 2000 – OCT 2, 2002
- The market dropped -36.8%
- Duration was 26.8 months
อันดับที่ 7 World War II Crash – OCT, 1939 – APR 28, 1942
- The market dropped -38%
- Duration was 32 months
อันดับที่ 6 Panic of 1907 – JAN, 1907 – NOV, 1907
- The market dropped -40.4%
- Duration was 11 months
อันดับที่ 5 Continuance of great depression – SEP, 1932 – FEB 27, 1933
- The market dropped -40.6%
- Duration was 5 months and 20 days
อันดับที่ 4 USD off gold standard, Watergate, OPEC – JAN 11, 1973 – OCT 3, 1974
- The market dropped -48.2%
- Duration was 20 months and 23 days
อันดับที่ 3 Great Recession – OCT 9, 2007 – MAR 9, 2009
- The market dropped -54.1%
- Duration was 17 months
อันดับที่ 2 New deal programs were cut & Taxes increased – MAR 6, 1937 – MAR 31, 1938
- The market dropped -54.5%
- Duration was 12 months and 25 days
อันดับที่ 1 Great Depression – SEP 3 1929 – JUL 9, 1932
- The market dropped -89.2%
- Duration was 34 months
ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว Pat พยายามจะสื่อให้เห็นว่า เวลาที่ Market Crash หรือตลาดหุ้นพังลงนั้น มันสามารถตกลงได้ตั้งแต่ -40% จนถึง -90% กันเลยทีเดียว โดยจะกินช่วงเวลาอยู่ที่ราว ๆ 1 เดือน จนถึง 3 ปี
แต่สิ่งที่ Pat บอกว่า แทนที่จะไปโฟกัสที่การกลัวการเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้น เขาอยากให้ดูข้อมูลต่อจากนี้ก่อนก็คือ ช่วงที่ตลาดเฟื่องฟู ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ตลาดพังลง
- WWII – 6/1938 – 2/1945 (81 months)
- Vietnam war era – 2/1961 – 12/1969 (108 months)
- Reaganomics/cold war – 11/1982 – 7/1990 (93 months)
- Tech bubble – 3/1991 – 3/2001 (112 months)
- US housing bubble – 11/2001 – 12/2007 (74 months)
- Covid pandemic – 6/2009 – 2/2020 (128 months)
- Post pandemic – 4/2020 – 9/2022 (29 months)
จะเห็นได้ว่า ยุคเฟื่องฟูสุด ๆ ก่อนที่จะเกิดตลาดพังลงนั้น เศรษฐกิจมักจะเติบโตกันยาว ๆ แบบไม่มีหยุดไม่มีหย่อน ที่มีระยะช่วงเวลาตั้งแต่ 6-10 กว่าปี
ซึ่งหากใครก็ตามที่สามารถฝ่าฟันวิกฤตครั้งใหญ่ที่อาจกำลังจะมาถึงในช่วง 6-24 เดือนนับจากนี้ไปได้ โดยสามารถทำได้อย่างถูกต้อง ถูกที่ถูกเวลาแล้วล่ะก็ หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะเกิดการเติบโตต่อเนื่องยาวนานไม่ต่ำกว่า 5-10 ปี ที่กว่าจะมีเหตุการณ์ตลาดพังลงอีกครั้ง
ซึ่งในช่วงหลังเกิดวิกฤตนี้นี่แหละ ที่จะมีเหล่าบรรดาเศรษฐีหน้าใหม่ที่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัว และประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นตัวจริงในสนามรบ ในสนามธุรกิจของโลกใบนี้
โดยบริษัทที่ประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ มีหลายบริษัทที่เริ่มต้นในช่วงที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็น
- General electric got started in 1908
- Hewlett-Packard got started during the 1937 (Fear of WWII)
- Microsoft got started during the 1973
- Uber, Airbnb all started after the great recession crash in 2008
แล้วก็จบกันไปกับ Episode ที่ 3 แล้วมาติดตามกันต่อใน Episode ที่ 4 นะครับ
Resources