Theory of Multiple Intelligences ทฤษฎีพหุปัญญา ได้ถูกคิดค้นขึ้นโดย Dr. Howard Gardner ในปี ค.ศ. 1983 โดยทาง Dr. Gardner บอกว่า แนวคิดดังกล่าว มันมีจุดเริ่มต้นมาจากเรื่องของ Psychology (จิตวิทยา) ที่ว่า มนุษย์เรานั้นมีจุดแข็งทางปัญญาอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งจุดแข็งเหล่านี้มีความสำคัญมาก ๆ ต่อวิธีการ การเรียนรู้ของเด็ก, ต่อการที่ผู้คนใช้ในการแสดงออกถึงสิ่งที่คิดอยู่ภายในจิตใจ และเป็นวิธีการที่มนุษย์นั้นใช้ในการแสดงออกถึงวิธีการที่พวกเขาเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป
ซึ่งถ้าสมมติว่าหากให้มนุษย์ทุกคนนั้นมีความคิดเหมือนกันทุกประการ และหากให้มนุษย์เรามีสติปัญญาเพียงแค่ประเภทเดียวแล้วนั้น เราก็สามารถสอนทุกคนในสิ่งเดียวกันได้ สอนด้วยวิธีการเดียวได้ และวัดผลทุกคนด้วยเกณฑ์เดียวกันได้ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ยุติธรรมกับทุกคน
แต่เมื่อเราตระหนักได้ว่า ผู้คนแต่คนนั้นมีจิตใจที่แตกต่างกัน มีจุดแข็งที่แตกต่างกัน บางคนเก่งเรื่องการคิด บางคนเก่งเรื่องภาษา บางคนเก่งในเรื่องของตรรกะอย่างมีเหตุมีผล ฯลฯ
ในขณะที่การวัดผลการศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น กลับใช้การวัดผลในทิศทางเดียวกับเด็กนักเรียน นักศึกษาที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน นั่นมันจึงทำให้การวัดผลการเรียนในลักษณะดังกล่าว มันไม่ยุติธรรมเอาซะเลย
ซึ่งถ้าหากเรารู้ว่า เด็กแต่ละคนมีความถนัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป เช่น
- เด็กคนที่ 1 – เขาเก่งในเรื่องของการคิด การจินตนาการ
- เด็กคนที่ 2 – เขาเก่งในเรื่องของการลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ
- เด็กคนที่ 3 – เขาเก่งในเรื่องของการคิดและตั้งคำถามในเชิงปรัชญา
- เด็กคนที่ 4 – เขาเก่งในการเล่าเรื่องราว
เราก็จะสามารถจัดหาโปรแกรม จัดหาทรัพยากรที่เอาไว้นำเสนอเนื้อหาให้แก่เด็ก ๆ ในลักษณะที่เด็กแต่ละคนจะสนใจ และสามารถใช้ความฉลาดทางด้านปัญญาที่แต่ละคนถนัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ และสามารถแสดงความเข้าใจในแบบของตนได้อย่างแท้จริง ในแบบที่เด็กสบายใจที่จะเรียนรู้อีกด้วย
ดังนั้นทาง Dr. Howard เขาจึงโต้แย้งว่า ความฉลาดของมนุษย์เรานั้น ไม่สามารถวัดจากค่า IQ เพียงอย่างเดียวได้ เช่น บางคนคิดเลขได้เร็ว แต่มันก็ไม่ได้หมายถึงว่า เด็กที่คิดเลขช้าจะฉลาดน้อยกว่า
โดยทาง Dr. Howard Gardner นั้น ได้แบ่งจำแนก Multiple Intelligences ออกเป็น 9 ประเภทดังต่อไปนี้ก็คือ
ประเภทที่ 1 – Logical-Mathematical Intelligence ปัญญาด้านตรรกศาสตร์-คณิตศาสตร์
ผู้ที่มีปัญญาในด้านนี้ จะมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีตรรกะ การใช้เหตุและผล การใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณที่ซับซ้อน และตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ ในทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะในการคิดสมการและหาข้อพิสูจน์ รวมไปถึงการแก้ปัญหาในเชิงนามธรรม
ประเภทที่ 2 – Visual-Spatial Intelligence ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
มีความสามารถในการคิดเชิงนามธรรมและหลากหลายมิติ เป็นคนที่สามารถใช้สายตาในการวิเคราะห์วัตถุในมโนภาพได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แก้ไขปริศนาเก่ง
ประเภทที่ 3 – Intrapersonal Intelligence ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง
มีความสามารถในการตระหนักรู้ในตนเอง สามารถวิเคราะห์ตนเองรู้เท่าทันตนเอง เป็นคนที่อารมณ์อ่อนไหว ชอบเก็บตัวและชอบทำงานอยู่คนเดียว สามารถเข้าใจเป้าหมายและแรงจูงใจของตนเองได้เป็นอย่างดี
มักชอบคิดในเชิงปรัชญา และคนที่มีปัญญาประเภทนี้มักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อจดจ่อกับสิ่งที่ตนนั้นสนใจ
ประเภทที่ 4 – Interpersonal Intelligence ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ต่อผู้อื่น
มีความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น มักจะสัมผัสถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด แรงจูงใจของผู้อื่น สามารถทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชอบเอาใจใส่ผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น โดยสามารถเป็นได้ทั้งผู้ตามและผู้นำ โดยจะสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ประเภทที่ 5 – Musical Intelligence ปัญญาด้านดนตรี
มีความไวต่อจังหวะ ระดับเสียง ท่วงทำนอง สามารถซึมซับและเข้าถึงสุนทรียภาพทางดนตรี ได้เป็นอย่างดี และมักมีช่วงเสียงที่ดี มีความสามารถในการร้องเพลง เล่นดนตรี และแต่งเพลงได้ โดยผู้ที่มีปัญญาในด้านนี้จะสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการฟัง
ประเภทที่ 6 – Linguistic Intelligence ปัญญาด้านภาษาศาสตร์
ผู้มีความฉลาดทางภาษา สามารถเข้าใจความหมายอย่างลึกซึ้งในแต่ละคำ ในแต่ละเสียง โดยมักทำได้ดีในการเขียนเล่าเรื่อง การจดจำข้อมูล และการอ่าน
มักเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีจากการอ่าน การจดบันทึก การฟังการสอน และมีทักษะการพูดจูงใจได้ดี เรียนภาษาต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย
ประเภทที่ 7 – Bodily-Kinesthetic Intelligence ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
มีความสามารถในการใช้ร่างกายตนเองได้เป็นอย่างดี มีทักษะทางด้านกีฬาที่โดดเด่น หรืออาจเป็นนักเต้นที่เก่งกาจ รวมไปถึงมีความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์
ซึ่งผู้ที่มีปัญญาในด้านนี้จะเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อเรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยเรียนรู้ผ่าน muscle memory คือการจดจำผ่านกล้ามเนื้อ ได้ดีกว่าการอ่าน ดู หรือฟัง
ประเภทที่ 8 – Naturalist Intelligence ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
มีความเข้าใจในความแตกต่างอย่างลึกซึ้งในธรรมชาติ ที่รวมทั้งพืช สัตว์ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและชีวิต
สามารถดูแลเอาใจใส่ธรรมชาติ ฝึกสัตว์ให้เชื่องได้ดี รับรู้และสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของการเปลี่ยนแปลงในอากาศรอบตัวได้เป็นอย่างดี
ประเภทที่ 9 – Existential intelligence ปัญญาในการคิดใคร่ครวญ
เป็นคนที่ชอบคิด เป็นคนที่สงสัยใคร่รู้ และมักจะตั้งคำถามกับตนเอง เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ เกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน มิติลี้ลับเป็นอย่างไร การดำรงอยู่ของจักรวาลเกิดขึ้นได้อย่างไร
และด้วยศาสตร์ความรู้ที่ทาง GeniusX ALPHA ได้พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ระบบการทำงานของสมองลูกด้วยศาสตร์ใหม่ จากการนำหลักของ ประสาทวิทยาศาสตร์ รวมเข้ากับ จิตวิทยา
NEUROSCIENCE + PSYCHOLOGY = NEURO PSYCHOLOGY
โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน เพื่อใช้ในการออกแบบชีวิตให้กับเด็ก ๆ ได้ตั้งแต่วัยเยาว์
A – Awareness คือ การทำความรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้ว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เราถนัดในด้านไหน และสิ่งไหนที่ไม่ถนัด
L – Learning คือ การเรียนรู้ระบบความคิดและสมอง เพื่อเข้าใจตนเอง รวมถึงผู้อื่น ทำให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น
P – Personality คือ การพัฒนาทักษะและส่งเสริมความถนัด เมื่อเด็กรู้จักตนเองก็จะรู้ว่า ควรเสริมตรงจุดไหนที่จะช่วยพัฒนาได้อย่างถูกจุด คุ้มค่า คุ้มเวลา ไปสู่ความสำเร็จได้เร็วขึ้น
H – Happiness คือ การออกแบบชีวิตอย่างมีความสุข ความตระหนักรู้ในตนเองจะทำให้เด็กเห็นคุณค่า และสร้างชีวิตที่เหลือของเขาอย่างมีความสุข มีเป้าหมายที่อยากจะทำ มีความฝันที่อยากจะเติมเต็ม
A – Action คือ ขั้นสุดท้ายที่มุ่งสู่เป้าหมายและความสำเร็จ เป็นกระบวนการลงมือทำด้วยความกระตือรือร้นจากตัวเด็กเองอย่างมีความสุข
——————————————–
ซึ่งจากศาสตร์ของ GeniusX ALPHA นั้น จะสามารถแบ่งเด็กออกได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นอีก 30 ประเภทย่อย ๆ ตามความถนัดหลักและความถนัดรองลงมา โดยมีดังนี้
ประเภทที่ 1 – เด็กประเภท G – Game Changer นักสู้ผู้นำ
เป็นเด็กที่กล้าคิด กล้าทำ ตัดสินใจเร็ว มีความมั่นใจในตนเอง ใจร้อน ชอบการแข่งขัน สู้ไม่ถอย
วิธีการเรียนรู้กับเด็กประเภท G – มักจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้ลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีความยากและท้าทายความสามารถของตนเอง ด้วยเหตุนี้ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กประเภทนี้จึงเป็นการเรียนรู้แบบแข่งขัน (Competitive learning) เพราะเด็กมีบุคลิกภาพความเป็นผู้นำที่โดดเด่น มีความสามารถในการชักจูงผู้อื่น ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญเด็กมักจะพยายามทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับรางวัลหรือสิ่งตอบแทนที่ตนเองต้องการ ดังนั้นวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กประเภทนี้ที่สุดคือ การเล่นเกมและการแข่งขันในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเดี่ยว แบบคู่ หรือแบบกลุ่มก็ตาม
ประเภทที่ 2 – เด็กประเภท E – Entrepreneur พ่อค้าผู้เห็นโอกาส
เป็นเด็กที่ชอบด้านการค้าขาย แลกเปลี่ยน ช่างเจรจาต่อรอง ไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น
วิธีการเรียนรู้กับเด็กประเภท E – มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเห็นช่องทางหรือผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ และยังชอบเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู เพื่อน และบุคคลต่าง ๆ ที่เด็กชื่นชอบ โดยเรียนรู้ด้วยวิธีการแสดงออกหรือการเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นลักษณะการเรียนรู้ของเด็กประเภทนี้จึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการสังเกต (Observational learning) ซึ่งเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้อื่นที่พบเจอในชีวิตประจำวัน โดยการจดจำสิ่งที่ผู้นั้นทำแล้วหลังจากนั้นก็ทำตามเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการในที่สุด
ประเภทที่ 3 – เด็กประเภท N – Network นักเชื่อมสัมพันธ์
เป็นเด็กที่มีความเป็นมิตร สามารถเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ชอบเข้าสังคม ชอบการทำงานเป็นทีม และเป็นคนที่ทำให้กลุ่มเพื่อนมีเสียงหัวเราะ กล้าแสดงออก
วิธีการเรียนรู้กับเด็กประเภท N – มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีเพื่อนเยอะ เป็นผู้ให้ และเป็นผู้ได้รับความสนใจจากผู้อื่นอยู่เสมอ อีกทั้งยังคอยทำหน้าที่จัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่เสมอ ดังนั้นการเรียนรู้ของเด็กประเภทนี้จึงมีลักษณะเป็นกลุ่มแบบร่วมมือ (Cooperative learning) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับหลาย ๆ คนด้วยการให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูล พึ่งพาอาศัย และแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภายใต้บรรยากาศที่ราบรื่นอบอวลไปด้วยมิตรภาพ โดยเด็กประเภทนี้จะมีหน้าที่คอยประสานความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นระหว่างตนเองกับเพื่อน หรือระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
ประเภทที่ 4 – เด็กประเภท I – Information นักปราชญ์ผู้รอบรู้
เป็นเด็กที่มีเหตุผล มีวินัย ชอบการอ่านและศึกษาค้นคว้าข้อมูลอยู่เสมอ มักจะเป็นเด็กที่อยู่ในกฎเกณฑ์ ในกฎระเบียบ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง คิดหรือตัดสินใจอะไรจะใช้เวลานาน
วิธีการเรียนรู้กับเด็กประเภท I – มีความเฉลียวฉลาด รอบรู้ มีเหตุผล ชอบศึกษาค้นคว้าและรับฟังข้อมูลรอบตัวอยู่เสมอ ซึ่งเด็กจะสามารถจดจำรายละเอียดได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีก่อนเริ่มลงมือทำงานเสมอ เพราะเด็กประเภทนี้จะมีความระมัดระวังในการทำงานสูง เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้น ดังนั้นลักษณะการเรียนรู้ของเด็กประเภทนี้จึงเป็นการเรียนรู้แบบการวิเคราะห์ (Analytic learning) ซึ่งเด็กจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นลำดับขั้นตอนเป็นระบบระเบียบที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากการตั้งคำถาม วางแผนการทำงาน ศึกษาค้นคว้า และตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจทุกครั้ง
ประเภทที่ 5 – เด็กประเภท U – Unique ศิลปินผู้รักอิสระ
เป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีโลกส่วนตัวสูง รักอิสระ ไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์
วิธีการเรียนรู้กับเด็กประเภท U – มักจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีมุมมองที่แตกต่างไม่เหมือนใคร มีอารมณ์ที่อ่อนไหวและละเอียดอ่อนมาก มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการกว้างไกล ไม่ชอบอยู่ในกรอบที่จำกัด ชอบลงมือทำงานตามความสนใจของตนเอง แต่ก็ไม่ค่อยมีการคิดวางแผนล่วงหน้าสักเท่าใดนัก ดังนั้นลักษณะการเรียนรู้ของเด็กประเภทนี้จึงเป็นการเรียนรู้แบบอิสระ (Independent learning) ซึ่งเป็นการจินตนาการและลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยไม่ต้องการให้ใครมาตีกรอบ ชี้นำ หรือจำกัดการทำงาน เด็กจะสามารถควบคุมตนเองให้ทำงานได้สมบูรณ์อย่างน่าทึ่งหากเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจจริง ๆ
ประเภทที่ 6 – เด็กประเภท S – Sharing แม่พระผู้ใจบุญ
เป็นเด็กที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจดี เป็นผู้เสียสละ ชอบแบ่งปัน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น อ่อนไหว
วิธีการเรียนรู้กับเด็กประเภท S – เป็นคนที่มีจิตใจดี มีเมตตา มีน้ำใจ ชอบเสียสละ และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ มองโลกในแง่ดี รักสงบ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ก่อนที่จะทำสิ่งใดมักจะนึกถึงจิตใจของผู้อื่นเป็นอันดับแรก ด้วยเหตุนี้เด็กประเภทนี้จึงสามารถเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย ไม่ค่อยขัดแย้งกับใคร และเป็นที่รักของทุกคน ดังนั้นลักษณะการเรียนรู้ของเด็กประเภทนี้จึงเป็นการเรียนรู้แบบร่วมใจ (Collaborative learning) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความเสียสละ ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันโดยไม่นึกผลประโยชน์ส่วนตน ทุกคนจึงมีความสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
———————————
ซึ่งแบบทดสอบ GeniusX ALPHA ที่เป็นแบบทดสอบที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นมาจากศาสตร์ของ Neuropsychology (ประสาทจิตวิทยา) ที่เมื่อทำแบบทดสอบแล้ว ก็จะทำให้เราสามารถระบุประเภทของแต่ละบุคคลได้อย่างแม่นยำ สามารถนำมาใช้ได้กับครอบครัว / Startup / HR บริหารองค์กร / และผู้บริหารระดับสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับด้านใดตามจุดประสงค์ที่เราต้องการ
โดยสามารถทำแบบทดสอบเพื่อระบุตัวตนอย่างละเอียด ในเวอร์ชั่นพรีเมี่ยมได้ที่นี่ >>> ทำแบบทดสอบพรีเมี่ยม ( https://www.neurogenius.com/go/BLUEAP )
ซึ่งสำหรับแฟน ๆ Blue O’Clock จะมีส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมอีก 20% อีกด้วย ( อย่าลืมใส่โค้ดนี้ก่อนสั่งซื้อ >>> CODE : BLUEAP )
และหลังจากทำแบบทดสอบ GeniusX ALPHA กันแล้ว เราก็จะสามารถเข้าใจเด็ก ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ลดเวลาในการตามหาความถนัดของเด็ก ๆ ได้ในทันที รู้จุดเด่น จุดด้อยของเด็ก ที่สามารถแก้ไขและพัฒนาได้ทันท่วงทีนั่นเอง
Resources
- https://howardgardner.com
- https://www.multipleintelligencesoasis.org/
- https://www.youtube.com/watch?v=iYgO8jZTFuQ
- https://www.niu.edu/citl/resources/guides/instructional-guide/gardners-theory-of-multiple-intelligences.shtml
- https://youtu.be/q_bU9x36FAQ
- https://www.cnbc.com/2021/03/10/harvard-psychologist-types-of-intelligence-where-do-you-score-highest-in.html
- https://en.wikipedia.org/wiki/Theory_of_multiple_intelligences
- http://thetutorreport.com/howard-gardners-9-types-intelligence/
- https://www.jenx67.com/2014/05/stem-steam-theres-one-kind-smart.html