Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Bitcoin and Cryptocurrency

Bitcoin คืออะไร by Michael Saylor

Bitcoin คืออะไร? ใครหลายคนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่ามันเอาไว้ใช้ทำอะไร มันเป็นเงินดิจิตอลที่จะมาเปลี่ยนอนาคตทางการเงินใช่หรือไม่ แล้วมันต่างอย่างไรกับ cryptocurrency สกุลอื่น ๆ หรือมันจะมาแทนที่ทองคำที่หลายคนเริ่มให้ฉายามันว่าเป็น Digital Gold มันจะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีหรือไม่อย่างไร แล้วเราจะสามารถได้รับประโยชน์จากการมาของ bitcoin อย่างไรได้บ้าง

โดยในคอนเท้นต์นี้ทาง Michael Saylor CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Microstrategy บริมหาชนที่มี Bitcoin มากที่สุด ณ ขณะนี้ ที่มี Bitcoin ในครอบครองมากกว่า 1 แสนเหรียญ BTC โดยในปัจจุบันเขามีทรัพย์สินอยู่ที่ $2.3 พันล้านดอลล่าร์ฯ เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 1362 ของโลก จะมาอธิบายว่า Bitcoin มันคืออะไร

โดย Michael Saylor ได้เริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่า “Bitcoin is the first engineered monetary system in the history of the human race full stop.” บิตคอยน์มันเป็นระบบวิศวกรรมทางการเงินแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติโดยสมบูรณ์

โดยการที่จะอธิบายประโยคดังกล่าวได้นั้น เราสามารถหาคำตอบด้วยการเริ่มต้นตั้งคำถามอยู่ด้วยกัน 3 ข้อดังนี้ก็คือ

  1. What is money? – เงินคืออะไร?
  2. What is the problem? – แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร?
  3. What is the solution? – และอะไรคือวิธีในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

ซึ่ง bitcoin คือ solution คือสิ่งที่มาช่วยแก้ไขปัญหา ดังนั้นให้ย้อนกลับไปที่คำถามแรกก่อนว่าจริง ๆ แล้ว ‘MONEY’ คืออะไร?

โดย Michael Saylor ได้บอกว่าระบบเศรษฐกิจนั้นปกติแล้วจะประกอบไปด้วยสองสิ่งก็คือ สินค้าบริการ(good services) กับทรัพย์สิน(property) ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขามีความต้องการซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากคุณ เขาต้องการให้คุณช่วยผลิตสินค้า เขาต้องการจ้างงานคุณ เขาต้องการซื้อบ้านซื้อที่ดินจากคุณ ซึ่งนี่คือส่วนที่เป็นครึ่งเดียวของ economy หรือระบบเศรษฐกิจ ในฝั่งของสินค้าและบริการ

มาดูในด้าน property กันบ้าง ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ แล้วถ้าสมมติว่าเขามีคอกม้าอยู่ในครอบครองแล้วเขาต้องการส่งฝูงม้าจำนวน 37 ตัวให้กับคุณ แล้วเราจะต้องลงบัญชีใน balance sheet หรืองบดุลอย่างไร คำตอบก็คือ คุณก็ต้องส่ง ‘MONEY’ หรือเงินกลับมาให้กับเขาว่าเป็นจำนวนตัวเลขเท่าใด

ดังนั้น MONEY หน้าที่ของมันก็คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสะสมพลังงานสะสมมูลค่าในตัวของมัน เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกันของคนในสังคม ยกตัวอย่างเช่น หากเขาส่งเมล็ดข้าวโพดให้คุณเป็นจำนวน 10 กระสอบ คุณก็จะต้องส่งเงินให้เขาที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเมล็ดข้าวโพดจำนวน 10 กระสอบนั้น เราถึงจะเริ่มทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันได้

ซึ่งจากประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านของมนุษย์เรานั้น ผ่านการใช้เงินในหลากหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น การใช้เปลือกหอย การใช้หินศิลาขนาดยักษ์ การใช้ยาสูบ การใช้เหรียญทองแดง การใช้เหรียญเงิน การใช้เหรียญในรูปแบบก้อนหิน การใช้ลูกปัดแก้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เคยถูกใช้เป็น MONEY หรือเงินมาก่อนในอดีต

จนกระทั่งมนุษย์เราก็มาพบกับทองคำและเหรียญทองคำที่ใช้ทำหน้าที่เป็น MONEY แต่ข้อเสียของทองคำก็คือมันเคลื่อนย้ายยาก ส่งมอบช้า เช่น สมมติว่าหากต้องการที่จะย้ายทองคำจำนวน 10 ตัน จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น ค่อนข้างทำได้ยากและขนย้ายได้ช้ามากด้วย ดังนั้นจึงมีเหล่าบรรดาพ่อค้า นายกเทศมนตรีหรือแม้แต่กระทั่งจักรพรรดิ จึงเลือกที่จะจัดทำ Ledger คือบัญชีแยกประเภทขึ้นมาเพื่อบันทึกว่า ใครมีทองคำหรือทรัพย์สินอะไรจำนวนเท่าไหร่บ้าง ซึ่งคุณสามารถหาดูได้จากในยุค Sumerian ที่มีการบันทึกการเทรดสินค้าลงบนแผ่นดินเหนียวเมื่อหลายพันปีมาแล้ว นั่นคือ ledger การบันทึกลงบนบัญชีแยกประเภท

ดังนั้น MONEY มันก็คือการแชร์ข้อมูล ledger ซึ่งกันและกันว่าใครเป็นเจ้าของทรัพย์สินใด อะไร เท่าไหร่บ้างนั่นเอง

ส่วนในทวีปแอฟริกาในสมัยก่อนนั้นมีการนำลูกปัดแก้วมาใช้เพื่อเป็นเงินในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน ซึ่งเมื่อชาวยุโรปเดินทางมาเห็นเข้าพวกเขาที่มีความสามารถในการผลิตลูกปัดแก้วได้ ก็กลับไปยังยุโรปเพื่อผลิตลูกปัดแก้วจำนวนมหาศาลแล้วนำไปจับจ่ายใช้สอยบนทวีปแอฟริกาทำให้ชาวแอฟริกาต้องสูญเสียที่ดิน บ้านเรือน ฟาร์ม ปศุสัตว์ และความมั่งคั่งทั้งหมดที่พวกเขามี ทำให้ทวีปแอฟริกานั้นมีความยากจนข้นแค้น เพราะดันไปใช้ลูกปัดแก้วในการเป็น MONEY

หรือตัวอย่างจากหมู่เกาะแยป(Yap)ในอดีตที่มีการใช้หินราย(Rai Stone) ที่เป็นหินขนาดใหญ่มีรูตรงกลาง ในการเป็น ledger เพื่อบันทึกบัญชีแยกประเภท ซึ่งหินดังกล่าวหาได้ยากมากในหมู่เกาะนั้น แต่พอชาวยุโรปเดินเรือมาเห็นเข้า พวกเขาก็ออกไปหาหินดังกล่าวนอกเกาะที่สามารถหาหินได้ง่าย(แหม่…หามาง่ายหยั่งกับผลิตโดนัทกันเลยทีเดียว) แล้วจากนั้นพวกเขาก็เดินเรือเพื่อขนหินดังกล่าวมาใช้เป็นเงินเพื่อซื้อเกาะทั้งเกาะ ทำให้ชาวเกาะตกเป็นทาสการเงิน ส่วนใครไม่จ่ายก็จะถูกขับไล่ออกจากเกาะ ทำให้ระบบการเงินนี้ล่มสลายไปในที่สุด ไม่ต่างจากเคสของลูกปัดแก้วของชาวแอฟริกา

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คนที่ถือครอง Weak Money คือผู้แพ้ และคนที่ถือครอง Strong Money คือผู้ชนะ

และปัญหาของ MONEY ที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วเราจะจดบันทึกติดตามอย่างยุติธรรมอย่างไรได้บ้าง ว่าใครมีทรัพย์สินเท่าไหร่ หรือตรวจสอบอย่างไรได้บ้างว่า ใครแอบผลิตเงินขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมบ้าง

มาดูตัวอย่างปัญหาระดับมหภาคกันบ้าง โดย Michael Saylor ได้สมมติว่า หากระบบเศรษฐกิจหนึ่งมีมูลค่าตลาดทั้งหมดรวมกันได้อยู่ที่ $100 ล้านดอลล่าร์ฯ แล้วเขาก็สร้างเหรียญเพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจนี้เป็นจำนวนเท่ากับระบบนี้คือจำนวน $100 ล้านดอลล่าร์ฯ เช่นกัน แล้วจู่ ๆ วันหนึ่งเขาก็ทำการผลิตเหรียญขึ้นมาเพิ่มจำนวน 10% นั่นหมายถึงจู่ ๆ ทำให้เขามีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเป็น $10 ล้านดอลล่าร์ฯ โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากผลิตเหรียญนั้นออกมา แต่ในขณะที่เหล่าบรรดาคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจนี้ กลับมี Inflation rate หรือค่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 10% เพราะจำนวนเงินที่ถูกผลิตออกมานั้น มันมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าของทั้งตลาด

ซึ่งถ้าหากเขาทำการผลิตเหรียญเพิ่มเป็นสองเท่าตัว ในขณะที่ขนาดเศรษฐกิจยังมีมูลค่าเท่าเดิม จะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น สินค้าหายากขึ้น เพราะเมื่อเงินในระบบมีเยอะขึ้น ผู้คนก็ออกไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ผู้คนมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นั่นก็หมายความว่า การผลิตเงินได้ตามใจชอบ โดยที่ระบบเศรษฐกิจไม่ได้เติบโตตามไปด้วยนั้น จะทำให้มูลค่าของเงินสกุลนั้น ๆ เสื่อมค่าลง

โดย Michael Saylor จึงบอกว่า MONEY นั้นคือ Economic Energy คือพลังงานในทางเศรษฐกิจ และปัญหาของเงินก็คือ ‘Inflation’ คือค่าเงินเฟ้อ

ซึ่งเงินเฟ้อนั้น เกิดมาตั้งแต่ในสมัยอดีตกาล จะเห็นได้จากในช่วงยุคโรมันที่ผลิตเหรียญที่ผสมทองคำ แต่ในเวลาต่อมากลับลดจำนวนปริมาณทองคำที่ผสมให้น้อยลง จนกระทั่งไม่หลงเหลือทองคำผสมอยู่ในเหรียญเลย และโดยปกติจักรพรรดิก็จ่ายเงินให้กับเหล่าบรรดาทหารรับจ้างที่รักษาพระองค์อยู่นั้น พวกเขาก็ไม่อยากรับเหรียญที่ไม่มีทองคำผสมเป็นค่าจ้าง เพราะมันทำให้มูลค่าในตัวเหรียญนั้นลดลง นั่นทำให้เหรียญดังกล่าวไม่มีใครต้องการมันอีกต่อไป นั่นก็ทำให้ยุครุ่งเรืองของโรมันนั้นจบลง

ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเงินสกุลใดก็ตามนั้นก็คือ ‘Trust’ คือความเชื่อใจที่ว่าผู้ออกสกุลเงินนั้น ๆ จะไม่ผลิตเงินเองเพิ่มตามใจชอบหรือมีการลดทอนมูลค่าในเงินสกุลดังกล่าวลง ซึ่งในปัจจุบันเราก็จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลสหรัฐฯ นั้นมีการปริ้นท์เงินดอลล่าร์ออกมาอย่างมหาศาล และทำให้เกิดค่าเงินเฟ้ออย่างรุนแรง นั่นคือประชาชนให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกับรัฐบาลเพื่อให้พวกเขาเข้ามาบริหารประเทศและออกนโยบายทางการเงินที่ส่งผลให้มูลค่าเงินในกระเป๋าของประชาชนถูกลดทอนมูลค่าของเงินลงไป

โดยมีข้อมูลจาก Saifedean Ammous ผู้เขียนหนังสือ The Bitcoin Standard นั้นได้บอกว่าการคำนวณ Inflation ในยุคใหม่นี้เมื่อถ่วงกับค่าเงินดอลล่าร์แล้วนั้น ตลอดสิบปีล่าสุดที่ผ่านมาทั่วโลกจะมีค่าเงินเฟ้อที่ประมาณ 14% ต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้นั้นมันเท่ากับอัตราการเติบโตในดัชนีตลาดหุ้น S&P 500 ที่ตลอดสิบปีล่าสุดนี้นั้นก็มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 14% ต่อปีเช่นกัน นั่นเท่ากับว่าลงทุนในตลาดหุ้นก็แค่เสมอตัวกับค่าเงินเฟ้อที่รุนแรงในยุคปัจจุบัน

คำถามต่อมาก็คือ แล้ว Inflation หรือค่าเงินเฟ้อนั้นมันหมายถึงอะไรกันแน่ ซึ่งคนโดยทั่วไปมักจะรับรู้ค่าเงินเฟ้อในค่า CPI : Consumer Price Index คือดัชนีราคาผู้บริโภค ว่าราคาสินค้าและบริการในตลาดนั้นมีการปรับตัวขึ้นเท่าไหร่ ซึ่งรัฐบาลก็เป็นคนนำเสนอข้อมูลชุดนี้ดังนั้นพวกเขาสามารถเลือกสินค้าบางอย่างที่ไม่มีการปรับราคาสินค้าขึ้นมานำเสนอก็ได้

แต่ถ้าหากลองดูดัชนีอย่าง Case–Shiller index ที่เป็นดัชนีการปรับราคาขึ้นของราคาบ้านในสหรัฐฯ ก็จะพบว่ามันสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 27% หรืออย่างในประเทศ Canada ราคาบ้านปรับสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 15% ดังนั้นมันแล้วแต่ว่าคุณจะเลือกที่จะดูค่า Inflation ในตลาดใดก็ได้แล้วแต่คุณจะเลือกมอง

ซึ่งถ้าหากเขาต้องการเป็นคนรวย เขาก็ต้องเลือกซื้อในสิ่งที่หาได้ยากและสิ่งนั้นมีการปรับตัวของราคาที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ภาพวาด Picasso หรือภาพวาดของ Leonardo Da Vinci, หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ ๆ อย่าง New York City ที่มีค่า Inflation ที่สูง

แต่ถ้าหากเขาอยากเป็นแค่คนธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่อาศัยอยู่ห้องใต้ดินของบ้านคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ที่สามารถอาศัยอยู่ได้ด้วยอาหารพื้น ๆ ไม่ติดหรู ดู Youtube ดู Netflix ไม่ต้องซื้อรถส่วนตัว อาศัยเรียกรถ Uber หรือ Grab เอาแทน ซึ่งค่าสินค้าและบริการในกลุ่มนี้ไม่ได้มีค่า Inflation ที่สูง ราคาปรับขึ้นไม่แรงนัก ซึ่งมันก็จะมีค่าเฉลี่ยพอ ๆ กับที่เห็นในค่า CPI ก็ปรับขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 3%-4% ต่อปี

ดังนั้นในมุมมองของนักลงทุนที่ต้องการที่จะรักษา Purchasing Power หรืออำนาจในการจับจ่ายใช้สอย หรือหากคุณต้องการที่จะรักษาความมั่งคั่งไม่ให้ลดลงหรือต้องการเพิ่มความมั่งคั่งให้มากขึ้นแล้วล่ะก็ คุณจำเป็นต้องเลือกที่จะถือครองทรัพย์สินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นในทุก ๆ ปี

ทีนี้มาดูการปริ้นท์เงินดอลล่าร์ที่ออกมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ กันบ้าง ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิด Covid-19 นั้น ทางรัฐบาลสหรัฐฯ มีการปริ้นท์เงินดอลล่าร์เพิ่มเฉลี่ยราว ๆ 10% ต่อปี ตลอดทศวรรษล่าสุด และดัชนี S&P นั้นมีการปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 10% ต่อปี เช่นกัน แต่พอเกิดเหตุการณ์ covid-19 ขึ้น ทางรัฐบาลได้ปริ้นท์เงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้นเป็น 30% และดัชนี S&P ปรับราคาขึ้นเป็น 34% ต่อปี ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นอกจากค่าเงินดอลล่าร์จะถูกลดทอนมูลค่าลงแล้ว ราคาทรัพย์สินดันสูงขึ้นอีกต่างหาก ทำให้ซื้อทรัพย์สินได้ยากเข้าไปใหญ่

ซึ่งถ้าแค่นี้ว่าแย่แล้ว แต่หากไปดูประเทศในกลุ่มแถบอเมริกาใต้อย่างประเทศอาร์เจนตินานั้น อัตราค่าเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการอยู่ที่ 45% ต่อปี และอย่างไม่เป็นทางการอยู่ที่ 85% ต่อปี และอย่างประเทศเวเนซุเอลานั้นค่าเงินได้ลดมูลค่าลงไปกว่า 99% ต่อปีไปแล้ว เรียกได้ว่าเดินไปซื้อกระดาษทิชชู่ม้วนเดียวจะต้องขนเงินไปเป็นตั้งถึงจะพอจ่าย จะเห็นได้ว่าสกุลเงินต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังล่มสลายและพังทลายลง

ดังนั้นหากมีข้อมูลออกมาว่า ค่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 3%-4% ต่อปี มันไม่เมคเซ็นต์เอาซะเลย เพราะเวลาเราหันไปดูราคาบ้านกลับขึ้นเฉลี่ยปีละ 15%-20% หรือให้คุณลองถามใครก็ได้ในสายการผลิตก็จะพบว่ามีการปรับตัวของราคาสินค้าสูงขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 20%-25% ต่อปี แทบทั้งสิ้น

ซึ่งค่า Inflation มันก็เกิดจากการที่รัฐบาลได้ปริ้นท์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก ถ้าถามว่าทำไมพวกเขาถึงต้องปริ้นท์เงินออกมาเป็นจำนวนมากนั่นก็เป็นเพราะ การปริ้นท์เงินมันง่ายกว่าการไปตามเก็บภาษีจากประชาชน ดังนั้นในระหว่างตามเก็บภาษีจากประชาชนก็ปริ้นท์เงินไปด้วยก็จะได้มีเงินเพิ่มทั้งสองทาง

ซึ่งสาเหตุการล่มสลายของเงินในอดีตที่ผ่านมาก็ถูกบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในอดีตกาลมาทุกยุกต์ทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นยุค Sumerian, Persia, Greek หรือยุค Roman ที่พฤติกรรมการผลิตเงินของพวกเขาก็มักจะเป็นเหมือน ๆ กันก็คือการลดทอนมูลค่าทองคำในเหรียญรุ่นใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมา จนกระทั่งไม่มีส่วนผสมของคำ ก็เปลี่ยนไปเป็นผสมแร่เงิน พอลดจำนวนการใช้แร่เงิน ก็หันไปใช้แร่ทองแดง แล้วพอเลิกใช้แร่ทองแดง ก็หันไปใช้การเคลือบทองเหลือง พอเลิกใช้การเคลือบทองเหลือง ก็หันไปใช้นิกเกิล และก็เป็นกระดาษ ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่มีคุณค่าในตัวมันเองแล้ว แต่ที่มันยังดูเหมือนมีค่าอยู่ก็เป็นเพราะรัฐบาลยังรับรองให้มันสามารถใช้ชำระหนี้ได้ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ก็เท่านั้นเอง

ดังนั้นปัญหาของเงินคือ Inflation อย่างไม่ต้องสงสัย

ยกตัวอย่างเช่น หากเมื่อ 12 เดือนที่แล้วคุณมีเงินในธนาคาร 1 ล้านบาท ผ่านมา 12 เดือนอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยคุณจะลดลงกว่า 34% แต่หากเมื่อ 12 เดือนที่แล้วคุณเลือกที่จะเปลี่ยนจากเงินสดในธนาคารไปอยู่ในรูปของหุ้น S&P 500 ผ่านไปหนึ่งปีความมั่งคั่งคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.34 ล้านบาท

ดังนั้นคุณจะสังเกตได้ว่าเหล่าบรรดามหาเศรษฐีและนักลงทุนต่าง ๆ นั้น มักจะไม่เก็บเงินสดเอาไว้มากนัก แต่มักจะเก็บเอาไว้ในรูปแบบของ Property หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นที่สามารถเอาชนะค่าเงินเฟ้อได้ เช่น เอาไปลงในอสังหาริมทรัพย์, ลงในธุรกิจ, ลงในของหายากของสะสม ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เหล่าบรรดาคนรวยนั้น พวกเขาไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน แต่พวกเขาทำเพื่อสั่งสมความมั่งคั่งผ่านทรัพย์สิน

ส่วนคนชนชั้นกลางธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่ทำงานเพื่อเงินสดนั้น จะลำบากมากยิ่งขึ้น ทั้งคนที่เก็บเงินสดไว้ในธนาคารเฉย ๆ ไม่ได้ลงทุนอะไร หรือคนที่ไม่ค่อยมีเงินสดมากนัก จะพบกับค่าเงินเฟ้อที่ทำให้อำนาจในการจับจ่ายใช้สอยลดลงเฉลี่ยราว 20% ต่อปี อย่างมากเงินเดือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5% ปีนี่ก็เก่งแล้ว ดังนั้นถ้าเรทเงินเดือนในแต่ละปีคุณไม่ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% แล้วล่ะก็ คุณก็จะต้องทำงานหนักไปตลอดชีวิตการทำงานที่เหลือ เพราะโตไม่ทันค่าเงินเฟ้อ ไม่เว้นแม้กระทั่งเหล่าบรรดาคุณหมอ วิศวกร ที่แม้มีเงินเดือนที่สูงแต่หากเอาแต่เก็บออมทุกบาททุกสตางค์ โดยไม่ได้นำเงินสดไปเปลี่ยนให้อยู่ในรูปทรัพย์สินแล้วล่ะก็ พวกเขาก็ต้องทำงานอย่างหนักเพียงเพื่อได้รับค่าตอบแทนที่นับวันมีแต่ด้อยค่าลง นั่นคือการทำงานเพื่อเงิน

Money/Energy(Oxygen) > Currency(Blood) > Economy(Body)

โดยทาง Michael Saylor ได้เปรียบเทียบว่า หากเปรียบระบบเศรษฐกิจกับร่างกายของเราแล้วก็จะพบว่า Money/Energy นั้นเปรียบดั่งออกซิเจนที่คอยล่อเลี้ยงเม็ดเลือดแดงที่เปรียบเป็นสกุลเงิน และเม็ดเลือดแดงก็คอยล่อเลี้ยงร่างกายที่เปรียบดั่งระบบเศรษฐกิจ

ดังนั้น หากมีการนำออกซิเจนออกจากระบบก็คือ Money/Energy สูญเสียไป ก็จะส่งผลให้เลือดเสีย สกุลเงินล่มสลายและร่างกายหยุดทำงานระบบเศรษฐกิจก็พังพินาศ

ซึ่งถ้า ณ ตอนนี้เขาบอกว่า ในห้องที่เราอยู่ มีคนกำลังดูดออกซิเจนออกจากห้องจนเกือบหมดจะหายใจไม่ออกอยู่แล้ว แล้วจู่ ๆ ก็มีหน้ากากออกซิเจนหล่นลงมาจากเพดาน สิ่งที่คุณจะทำในทันทีก่อนที่อากาศภายในห้องจะหมดนั่นก็คือ การดึงหน้ากากออกซิเจนนั้นมาสวมใส่ในทันที และหน้ากากนั้นก็เปรียบดั่ง Bitcoin นั่นเอง

ดังนั้น Michael saylor ได้สรุปสั้น ๆ อีกครั้งว่าที่ผ่านมาเรารู้แล้วว่า

  • Money = Energy
  • Problem = Inflation
  • Solution = Bitcoin

Michael Saylor พูดว่า Bitcoin มันคือหนทางในการแก้ไขปัญหา โดย Bitcoin มันจะมา Fix The Money มันจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในส่วนของการเงิน

แล้ว Bitcoin คืออะไร?

อย่างที่บอกได้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ว่า Bitcoin มันเป็นระบบการเงินแรกของโลกที่ถูกออกแบบขึ้นมาจากมนุษย์ ซึ่งก่อนที่มันจะถือกำเนิดขึ้นมานั้น ในปี 2008 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกก็คือวิกฤตซับไพรม์ หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่เป็นการบริหารงานที่ผิดพลาดของนายธนาคารและพวกไม่กี่คน แต่กลับทำให้คนนับล้านคนต้องเผชิญกับวิกฤตในครั้งนี้ ซึ่งมันไม่แฟร์กับประชาชนคนทั่วไปเอาซะเลย ดังนั้นจึงมีเหล่าบรรดา Engineer ที่ช่วยกันออกแบบระบบการเงินใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา โดยอาศัยเทคโนโลยีอยู่ด้วยกัน 2 สิ่งก็คือ

  • Internet – ที่ช่วยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลกได้ภายในเวลาพริบตาเดียว
  • Cryptography – คือเทคโนโลยีการเข้ารหัส ที่คนภายนอกจะไม่สามารถเข้าใจ ผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสและเข้าใจความหมายได้

ซึ่งคนที่ออกแบบระบบการเงินนี้ ได้ใช้สองเทคโนโลยีนี้ในการสร้าง Ledger ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อที่จะสร้างระบบบัญชีธนาคารบนโลกไซเบอร์ โดยอาศัย Network จากเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ในช่วงแรกได้รวบรวมเครือข่ายนับร้อยคนเพื่อที่จะเปิดระบบธนาคารบนโลก cyber space เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บสะสม Money โดยที่ไม่ต้องเชื่อใจใครเลยสักคนในระบบ เพราะทุกคนในระบบอยู่ภายใต้กฎเดียวกันก็คือโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ตั้งต้นที่ถูกเขียนซอร์ดโค้ดเอาไว้ตั้งแต่วันแรก โดยที่ทุกคนสามารถร่วมตรวจสอบโค้ดนั้นได้อย่างโปร่งใส เพราะมันเป็นซอร์ดโค้ดแบบ Opensource ที่ใคร ๆ ก็สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องเชื่อใจใครหน้าไหนทั้งสิ้น เพราะระบบมันรันภายใต้โค้ดคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกัน

โดยระบบธนาคารนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีจำนวนเงินอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ ซึ่งสามารถแบ่งแยกย่อยเป็นหน่วยเล็ก ๆ ได้ถึง 8 จุดทศนิยม โดยหน่วยย่อยนั้นจะมีชื่อเรียกว่า satoshi ที่เรียกตามชื่อนามแฝงของผู้ก่อตั้ง Bitcoin นามว่า Satoshi Nakamoto ยกตัวอย่างเช่น 1 BTC = 100,000,000 satoshi เป็นต้น

ซึ่งสิ่งที่คุณควรรู้ก็คือ Bitcoin มันถูกออกแบบมาให้มีจำนวนเหรียญในระบบเพียงแค่ 21 ล้านเหรียญ BTC เท่านั้น ไม่สามารถสร้างเพิ่มขึ้นได้เกินนี้ และทุกครั้งที่การทำธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น นาย A ส่ง bitcoin ไปให้นาย B จำนวน 0.001 BTC ในระบบ Ledger มันก็จะบันทึกเอาไว้ว่าเงินไหลไปอยู่ที่ใครบ้าง ซึ่งเมื่อธุรกรรมต่าง ๆ ถูกบันทึกลงบนระบบแล้ว จะไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลนั้นได้

และนอกจากนั้นเราสามารถเก็บ bitcoin ได้เป็นร้อยเป็นพันปี โดยที่มันไม่มีการเสื่อมสลาย

ดังนั้นหากพูดโดยรวม ๆ แล้วก็คือ แนวคิดการออกแบบระบบของ Bitcoin นั้น มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็น Asset เพื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้รับการปกป้องและคุ้มครองความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบ cryptography โดยมันถูกเก็บในรูปแบบของ ledger หรือบัญชีแยกประเภทที่จะบันทึกทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อ bitcoin ย้ายจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง โดยที่ไม่สามารถใครสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ เพราะทุก ๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์นับพันนับหมื่นเครื่องทั่วโลกที่เข้าร่วม network นี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า node ที่เอาไว้เก็บข้อมูล ledger คือการเก็บข้อมูลการทำทุกธุรกรรมที่ทำสำเนาเอาไว้เหมือนกันแบบเป๊ะ ๆ ตั้งแต่ครั้งแรกในทุก ๆ เครื่อง ดังนั้น หากมีใครพยายามเข้าไปแก้ไข ledger แก้ไขตัวเลข ระบบก็จะรับรู้ทันทีว่ามันมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

และการที่จะปกป้อง Network นี้ทางผู้สร้างก็ได้ออกแบบให้มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนก็คือ

  • คนที่ทำการรัน bitcoin full node เพื่อบันทึก ledger บันทึกแบบบัญชีแยกประเภท ที่เป็นประวัติการทำทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย bitcoin มันเป็น database หรือฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในโลก และมันจะไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ตามใจชอบ มันจะเป็นแบบนั้นเสมอไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  • Miner คนที่ทำเหมืองขุด Bitcoin ที่ใช้การเข้ารหัสแบบ SHA-256 ที่เป็นระบบอัลกิลิทึ่ม โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้าง hash function ที่เป็นกลไกในการแปลงข้อมูล โดยการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ มาทำการเข้ารหัสเพื่อให้เกิดข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ ที่มีค่าไม่ซ้ำ และไม่สามารถแฮ็คหรือแก้ไขมันได้ขึ้นมา เพื่อปกป้อง bitcoin network ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้นับล้านเครื่องกระจายอยู่ทั่วโลก เพื่อแข่งขันกันแก้ไขสมการ โดยคอมพิวเตอร์ที่สามารถแก้ไขสมการนี้ได้ก็จะเป็นผู้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเหรียญ BTC คืนมา ซึ่งเป็นเสมือนแรงจูงใจให้ผู้คนเข้ามาร่วม network นี้ โดยแลกกับการใช้พลังงานไฟฟ้ามารันคอมพิวเตอร์ มารันสมการคณิตศาสตร์ ซึ่งเหมืองขุดก็คือระบบรักษาความปลอดภัย ที่คอยรักษา Money ที่อยู่ภายใน Ledger หรือบัญชีแยกประเภทแบบ Decentralization หรือแบบกระจายอำนาจ ที่ไม่มีใครมีอำนาจควบุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ เป็นการถ่วงดุลอำนาจที่กระจายไปทั่วโลก
  • และ Lightning node ที่เป็น node ใน layer 2 ของ bitcoin ซึ่งก็เป็นแบบ Decentrazation หรือแบบกระจายศูนย์อำนาจเช่นเดียวกัน โดยหน้าที่ของมันนั้น สามารถช่วยในการเคลื่อนย้าย bitcoin ที่มีจำนวนขนาดเล็กได้รวดเร็วอย่างกับสายฟ้าแล่บ และค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมนั้นก็ถูกที่ชนิดเรียกได้ว่าเกือบฟรีอีกด้วย

ดังนั้น Bitcoin มันคือระบบการเงินแบบ Decentralized หรือแบบกระจายศูนย์ มันคือธนาคารบนโลก cyberspace ที่ไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้ ไม่มีใครทำการทุจริตหรือ corruption มันได้ มันเป็นธนาคารที่รันด้วยซอร์ฟแวร์ที่ปลอดจากการทุจริต เป็นแหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยสูงสำหรับคนทั่วโลก สำหรับทุก ๆ บัญชี ไม่ว่าบัญชีนั้นจะมีมูลค่า 10 บาท หรือ 10 ล้านบาท ก็อยู่ในระดับการรักษาความปลอดภัยเดียวกัน

โดย Bitcoin นั้นมันถูกออกแบบให้ใครก็ตามบนโลกใบนี้ ที่มีประชากรทั้งโลกกว่า 7,xxx ล้านคน สามารถเข้าร่วมได้ สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ซึ่งมีคนจำนวนกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก ที่ไม่มีแม้กระทั่งบัญชีธนาคารด้วยซ้ำ แต่หากพวกเขามี smartphone android เครื่องหลักร้อยหลักพันบาท พวกเขาก็สามารถเป็นเจ้าของ bitcoin ได้ คุณสามารถมีธนาคารบนโลก cyber เป็นของคุณเองได้ มีทรัพย์สิน ที่ไม่มีใครสามารถยึดหรือริดรอนมันไปจากคุณได้

ซึ่งเรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนถ่ายทางเทคโนโลยีของโลก ซึ่งคุณจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้จาก การเปลี่ยนฟิล์มถ่ายรูปมาเป็นรูปดิจิตอล, การเปลี่ยนม้วนฟิล์มวีดีโอมาเป็นไฟล์วีดีโอออนไลน์, การเปลี่ยนหนังสือรูปเล่มมาเป็นอีบุ๊ค, การเปลี่ยนการติดต่อสื่อสารจากอนาล็อกมาเป็นดิจิตอล

และเราก็มาถึงตาของเงินที่กำลังเปลี่ยนเข้าสู่ยุคเงินดิจิตอล โดย ณ ตอนนี้ในตลาดทองคำมีมูลค่าอยู่ที่ $10 Trillion, ตลาดทรัพย์สินมีขนาดอยู่ที่ $100 Trillion หรืออย่างตลาดสกุลงิน/currency ที่มีขนาด $100 Trillion ในขณะที่ ณ ตอนนี้ bitcoin มีขนาดตลาดอยู่ที่ราว ๆ $1 Trillion ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่า ในยุคที่มีการเปลี่ยนถ่ายการเงินเข้าสู่ยุคดิจิตอลแล้วนั้น มูลค่าตรงนี้มันมหาศาลมากแค่ไหน

ซึ่งไอเดียในการสร้าง Bitcoin นั้น มักจะถูกเปรียบเทียบให้มันเป็น Gold Digital หรือ Gold 2.0 ที่ Bitcoin นั้นสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาการเงินที่ทองคำนั้นยังมีจุดบกพร่องอยู่ไม่ว่าจะเป็น

Bitcoin ได้ออกแบบให้มีจำนวนปริมาณ supply จำกัดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ BTC เท่านั้น ไม่สามารถสร้างไปได้มากกว่านี้ แต่ในขณะที่ทองคำนั้น สามารถขุดเพิ่มขึ้นมาได้ตลอด และเหล่าบรรดาธนาคารต่าง ๆ ก็สามารถสร้างทองคำกระดาษเพื่อปั่นราคาทองคำโดยสามารถปั่นขึ้นหรือปั่นลงได้ตามใจชอบ ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทองคำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในทรัพย์สินอื่น ๆ ก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกันนั่นก็คือ เวลาที่ทรัพย์สินใดก็ตามที่เริ่มมีการปรับราคาที่สูงขึ้น ก็จะมีการผลิตมันเพิ่มขึ้น เช่น อสังหาริมทรัพย์, หุ้น, พันธบัตร และอย่างที่เรารู้กันดี เวลาที่มีการผลิตจำนวน supply ที่เพิ่มขึ้น คุณค่าในตัวมันจะลดลง

ดังนั้น Bitcoin เป็นทรัพย์สินเดียวบนโลกใบนี้ ที่เมื่อราคามีการปรับตัวที่สูงขึ้น ก็ไม่มีใครสามารถผลิตมันเพิ่มขึ้นได้

โดย Michael Saylor ได้ให้ไอเดียในการออกแบบระบบในรูปแบบของ Engineering ว่า การออกแบบระบบใด ๆ ก็ตามจะต้องมีการกักเก็บหรือรักษาพลังงานของระบบนั้น ๆ เอาไว้ให้ได้ โดยหากอุปมาอุปมัยในการออกแบบตามหลักของวิศกรกับหลักของคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องแล้วนั้น 10+10 จะต้องเท่ากับ 20 อยู่วันยังค่ำ เพราะถ้าหากออกแบบแล้วได้ว่า 10+10 = 18 นั่นแสดงว่าการออกแบบนั้นกำลังมีปัญหาอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าออกแบบอ่างอาบน้ำแล้วมันมีรอยรั่วยังไงมันก็ยากที่จะรักษาน้ำเอาไว้ได้ หรือหากออกแบบระบบไฟฟ้าถ้าไฟฟ้ามันลัดวงจรมันก็ไม่เวิร์ค นั่นคือการออกแบบระบบนั้น ๆ มันรักษาพลังงานเอาไว้ไม่ได้

และค่า Inflation หรือค่าเงินเฟ้อ มันก็เป็นการออกแบบสกุลเงิน(currency)ที่ไม่เคารพกฎการอนุรักษ์หรือรักษาพลังงานเอาไว้ เพราะถ้ามันออกแบบมาดีจะต้องไม่มีการปริ้นท์เงินเพิ่มขึ้นในระบบ

ในขณะที่การออกแบบระบบของ Bitcoin นั้นออกแบบให้มีจำนวน supply ที่จำกัด ไม่สามารถผลิตเกินจากที่กำหนดเอาไว้ได้ นั่นคือมันถูกออกแบบมาให้เคารพกฎการอนุรักษ์พลังงานเอาไว้ มันเคารพกฎคณิตศาสตร์ ซึ่งตราบใดที่ 1+1 ยังเท่ากับ 2 อยู่ล่ะก็ระบบของ Bitcoin ก็เป็นไปตามนั้น

ดังนั้นเมื่อคนเราเจอสิ่งที่บริสุทธิ์ เจอสิ่งที่โปร่งใส เจอสิ่งที่เป็นไปตามหลักความเป็นจริงอย่างถูกต้อง และสิ่งนั้นยังอยู่ได้อย่างคงทนไม่เสื่อมสลายแล้ว มนุษย์เราก็จะสามารถสร้างครอบครัว สร้างบริษัท สร้างอารยธรรมรอบ ๆ ตัวเรา

ซึ่งที่ผ่านมาคุณเริ่มจะพอเข้าใจแล้วว่าคุณค่ามักถูกเก็บในรูปแบบของ Energy ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการที่จะสร้างตึกระฟ้าคุณก็จะต้องสร้างด้วยเหล็กกล้าที่มันกักเก็บพลังงานเอาไว้อย่างเข้มข้น ทำให้เมื่อนำเหล็กกล้าไปสร้างตึกนั้นก็จะสามารถอยู่ได้นับร้อยปีโดยที่ไม่พุกร่อนหรือพังทลายลงมา

ในขณะที่หากเลือกที่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างมันก็จะมีการเสื่อมสลายเร็วกว่า เช่น เรือไม้ย่อมเสื่อสลายและพังเร็วกว่าเรือเหล็ก เพราะไม้กักเก็บพลังงานได้ไม่ดีเท่าเหล็กกล้า

คำถามก็คือ แล้วเราจะเก็บเงินเป็นแสนเป็นล้านบาทยังไงได้เป็นร้อยปีเพื่อส่งมอบให้รุ่นลูกรุ่นหลานของเราได้ ซึ่งถ้าหากคุณคิดจะเก็บเงินเอาไว้ในรูปของเงิน fiat หรือเงินดอลล่าร์แล้วล่ะก็ ในท้ายที่สุดเงินนั้นจะมูลเสีย economic energy หรือพลังงานทางเศรษฐกิจไปมากกว่า 99%

หรือหากคุณคิดที่จะเก็บเงินเอาไว้ในรูปของทองคำ ตามสถิติแล้วปริมาณ supply จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 30 ปี และนายธนาคารก็พยายามเพิ่มค่า Inflation ให้กับทองคำ ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตทองคำอาจสูญเสีย economic energy ไปมากกว่า 90% ก็เป็นได้ และไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องบังเอิญหรืออย่างไร ที่ทั่วโลกในช่วงร้อยปีที่ผ่านมานี้ ที่ทางรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกได้เคยมีการยึดทองคำจากเหล่าบรรดาประชาชนมาแล้วแทบทั้งสิ้น ดังนั้นคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ในรอบร้อยปีนี้คุณจะไม่ถูกยึดทองคำไปก่อนที่จะส่งมอบให้ถึงมือแก่รุ่นลูกรุ่นหลานได้

หรือคุณคิดที่จะลองใส่เงินเอาไว้ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสมมติว่าคุณใส่เงินไว้ 1 ล้านบาท(ซึ่งเงินแค่นี้ไม่น่าจะซื้อที่ดินผืนใดได้ในเมืองใหญ่ ๆ แต่สมมติว่าได้ละกัน) สิ่งที่คุณจะเจอระหว่างถือครองที่ดินอย่างในรัฐ Florida ทุก ๆ ปีคุณจะโดนภาษีที่ดิน 2% และค่าบำรุงรักษาปีละ 2% ดังนั้นคุณจะโดนหักไปแล้ว 4% ถ้าคิดจากเงินต้น 1 ล้านบาท มูลค่าของเงินก็จะหายไปเฉลี่ยราว ๆ 40,000 บาทต่อปี ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงร้อยปีหรอก แค่ครึ่งชีวิตคน ๆ หนึ่งมูลค่าก็หายไปเยอะแล้ว

ดังนั้นในช่วงปีที่ผ่านมาของ Michael Saylor นั้น เขาจึงต้องเริ่มมองหาว่ามีทรัพย์สินใดบ้างที่จะสามารถรักษาความมั่งคั่งทางใดได้บ้าง เพราะเขากำลังมองหา สิ่งที่เปรียบเหมือนเหล็กกล้าที่สามารถสะสมพลังเหล็ก พลังงานโลหะที่มีความเข้มข้น ซึ่ง Bitcoin นั้นก็มีการสะสมพลังงานดิจิตอลอย่างเข้มข้นในตัวมันอยู่ โดยไม่สูญเสียพลังงาน ยกตัวอย่างเช่น หากพลังงานไฟฟ้าเลือกที่จะเก็บพลังงานอย่างเข้มข้นเอาไว้ในแบตเตอร์รี่ แล้วเมื่อปล่อยแบตเตอร์รี่เอาไว้เฉย ๆ พลังงานไฟฟ้านั้นจะรั่วไหลออกไปจากแบตเตอร์รี่เฉลี่ยราว ๆ 2% ในทุก ๆ เดือน แถมในกระบวนการการผลิตไฟฟ้าก่อนจะลงบรรจุเอาไว้ในแบตเตอร์รี่นั้น จะมีพลังงานที่สูญเสียไประหว่างผลิตอีกกว่า 24% ดังนั้นถ้าคุณจ่ายค่าไฟเป็นจำนวน 1 ล้านบาท แล้วจะเก็บมันเอาไว้ในรูปของแบตเตอร์รี่แล้วล่ะก็ มันก็จะอยู่ได้ไม่นาน ดังนั้นภายในเวลาอันใกล้ เงินล้านของคุณก็จะหมดลงอย่างรวดเร็ว เพียงแค่เก็บพลังงานนั้นเอาไว้เฉย ๆ

และถ้าถามว่าจะส่งไฟฟ้าที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทจาก New York City ไปยัง Tokyo ได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เพราะทุก ๆ ระยะทางการส่งไฟฟ้า 500 ไมล์ จะสูญเสียพลังงานไปราว ๆ 6% ดังนั้น หากส่งไกลถึง 5,000 ไมล์ คุณจะสูญเสียพลังงานไฟฟ้ากว่า 60% ดังนั้นการเคลื่อนย้ายพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบโรงงานไฟฟ้าแบบนี้ไม่สามารถส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นหากเราเปลี่ยนมาเป็นการส่งพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบดิจิตอลผ่านการทำเหมือง bitcoin เพราะเหมืองขุด bitcoin นั้น สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจำนวน 1 Megawatt ไปเป็น bitcoin ที่มีมูลค่ากว่า $5 ล้านดอลล่าร์ฯ ได้ และมันสามารถกักเก็บมูลค่านั้นได้ตลอดไปโดยที่ไม่สูญเสียพลังงานในตัวมัน ทีนี้คุณก็จะสามารถส่งมูลค่าจาก America ไปยัง Japan ได้แล้วอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จะส่ง 10 บาท หรือ 10 ล้านบาท ก็มีการสูญเสียพลังงานอันน้อยนิด

ซึ่งในช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมานี้ bitcoin มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยราว ๆ 170% ต่อปี ในขณะที่ดัชนีหุ้น S&P 500 นั้นเติบโตในช่วงทศวรรษล่าสุดอยู่ที่ 14% ต่อปี ส่วนทองคำตลอดทศวรรษล่าสุดมีการเติบโตอยู่ที่ 0% ต่อปี หรือหากคุณซื้อทองคำเอาไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มันไม่มีการเติบโตเลย และยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคไซเบอร์ คุณก็ไม่สามารถใส่ทองคำลงบนสมาร์ทโฟนที่อยู่ในมือของคุณได้ และทองคำมันก็ยังถูกผูกขาดจากธนาคารและเจ้าของเหมืองขุดทอง ทองคำมันกำลังจะตาย

ดังนั้น Bitcoin มันเป็นพลังงานทางเศรษฐกิจที่บริสุทธิ์

ในตอนนี้ทาง Michael Saylor จะมาแชร์ว่า แล้วตัวของเขากับบริษัท Microstrategy นั้น เข้ามาสู่วงการ Bitcoin ได้อย่างไร?

โดย Michael Saylor ได้เริ่มต้นเล่าว่า บริษัท Microstrategy นั้น มีเงินสดในบริษัทอยู่ราว ๆ $500 ล้านดอลล่าร์ฯ โดยฝากเอาไว้ในธนาคารที่ให้ดอกเบี้ย 0%

Image credit – https://www.businessinsider.com/k-shaped-recovery-definition

โดยจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบของการมาของโรคระบาดอย่าง Covid-19 นั้น เขาได้สังเกตเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นรูป K-shape คือการที่ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวแบบไม่สมดุลกัน คือกลุ่มคนที่มีรายได้สูงอย่างพวกที่อยู่ในตลาดหุ้น Wall Street ใส่สูทผูกไทนั้น พอเศรษฐกิจฟื้นตัวพวกเขากลับรวยขึ้น 30% เพียงแค่นั่งอยู่เฉย ๆ แต่ในขณะที่คนระดับรากหญ้าทำงานหาเช้ากินค่ำนั้น พวกเขาต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นอีก 30% หรือหากเป็นพ่อค้าแม่ค้าทั่วไปก็จะต้องอัพราคาขายเพิ่มขึ้นอีก 30% เพื่อที่จะให้ตนเองอยู่ในระดับความสะดวกสบายเท่าเดิมก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

ดังนั้น มันทำให้ตัวของ Michael Saylor เองนั้น เขาเห็นว่า พนักงานในบริษัทของเขากว่า 2,000 คน ที่พยายามทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อหาเงินเข้าบริษัทเฉลี่ยปีละ 50 ล้านดอลล่าร์ฯ กำลังสูญเสียมูลค่าที่เกิดจากค่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นกับเงินสดทั้งหมดในบริษัท ที่ทำให้ Purchasing Power หรืออำนาจในการจับจ่ายใช้สอยลดลงเฉลี่ยราว ๆ 100 ล้านดอลล่าร์ฯ ต่อปี นั่นเท่ากับว่า มันกำลังเหมือนเรากำลังเดินถอยหลังยังไงยังงั้น เพราะเราหาเงินไม่ทันค่าเงินเฟ้อที่รุนแรง หากเราไม่ยอมทำอะไรสักอย่างกับเงินสดจำนวน 500 ล้านดอลล่าร์ก้อนนี้ของบริษัท

ลองนึกภาพตามว่า หากเราคือเรือลำหนึ่งที่กำลังแล่นเพื่อข้ามน่านน้ำทะเล แต่จู่ ๆ ก็มีลมพัดเข้าใส่หน้าจนทำให้เรือต้องถอยหลัง เพราะต้านทานแรงลมไม่ไหว ซึ่งแรงลมนั้นก็เปรียบเสมือนค่า Inflation หรือค่าเงินเฟ้อทางการเงิน ซึ่งคนที่จะต้านค่าเงินเฟ้อได้นั้น ก็จะต้องหากระแสเงินสดเพิ่มให้ได้เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเงินเฟ้อ ซึ่งมีน้อยคนมากที่จะหาเงินเพิ่มให้ได้มากกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ดังนั้นหากเรือเล็กไม่สามารถต้านแรงลมได้ สิ่งที่เขาจะทำก็คือ การหาเรือลำใหญ่ที่สามารถต้านแรงลมนั้นไปได้นั่นเอง

ยกตัวอย่างในปัจจุบันที่ราคาหมูนั้นมีการปรับราคาขึ้นอย่างรุนแรง เช่น จาก กิโลกรัมละ 150 บาท ตอนนี้พุ่งขึ้นเป็น 250 บาท/กิโลกรัม นั่นหมายถึง มันมีการปรับราคาสูงขึ้นกว่า 66.67% ดังนั้น หากคุณมีงบซื้อหมูอยู่ที่ 1,000 บาท จากเดิมเคยซื้อได้ถึง 6.67 กิโลกรัม แต่ตอนนี้ซื้อได้แค่ 4 กิโลกรัมเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่มีเงินเท่าเดิม แต่อำนาจในการจับจ่ายใช้สอยนั้นลดลง นี่คือความน่ากลัวของค่าเงินเฟ้อที่นับวันมีแต่จะด้อยค่าลง

ดังนั้น ปัญหาของ Microstrategy ที่มีเงินสดอยู่ในมือจำนวน 500 ล้านดอลล่าร์ฯ นั้นก็คือ การเผชิญกับค่าเงินเฟ้อราว ๆ ร้อยละ 20 ต่อปี นั่นหมายถึงว่า เพียงแค่เขาเก็บเงินสดไว้ในบริษัทเฉย ๆ เงินก้อนนี้จะสูญเสียมูลค่าในตัวมันเองเฉลี่ยราว ๆ 100 ล้านดอลล่าร์ฯ ต่อปี

ดังนั้น สิ่งที่ Michael Saylor คิดได้ตอนนั้นก็คือ เขาจะต้องซื้อ Asset อะไรสักอย่างในทันที ที่มันสามารถเอาชนะค่าเงินเฟ้อได้ โดยเขาก็เคยพิจารณามาหมดแล้วไม่ว่าจะเป็น ทองคำ, หุ้นบริษัท Tech company ต่าง ๆ, พันธบัตร, อสังหาริมทรัพย์ และสุดท้ายเขาก็เลือกที่จะลงทุนใน bitcoin

โดยเขาได้นำเงินสดจำนวน $250 ล้านดอลล่าร์ ไปซื้อ bitcoin ณ ขณะนั้น ส่วนเงินสดที่เหลือเขาก็ทำการยื่นข้อเสนอขอซื้อหุ้นบริษัท Microstrategy คืนจากผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบไอเดียในซื้อ bitcoin ของเขาในครั้งนี้ และหลังจากที่ซื้อหุ้นบริษัทคืนมาแล้ว เขายังคงเหลือเงินสดอีก $175 ล้านดอลล่าร์ เขาก็เอาไปซื้อ bitcoin เพิ่มขึ้นอีก จึงทำให้ ณ ตอนที่เขาซื้อ bitcoin ไว้นั้น มีมูลค่ารวมอยู่ที่ $425 ล้านดอลล่าร์ฯ และหลังจากที่เขาได้ทำการซื้อ bitcoin ไป ในเวลาไม่นานราคาของ bitcoin ก็ทำ All Time Hight หรือทำราคาสูงสุด ทำให้เขาสามารถทำกำไร ณ จุด ๆ นั้นได้มากกว่าพันล้านดอลล่าร์

ซึ่งสิ่งที่ขึ้นไม่ใช่ราคาของ bitcoin เพียงอย่างเดียว แต่มันส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัท MicroStrategy นั้นมีราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้เขาตัดสินใจที่จะออกหุ้นกู้ของบริษัท เพื่อเอาเงินกู้ในครั้งนี้ไปซื้อ bitcoin เพิ่มขึ้น ซึ่งการกู้ในครั้งนี้ เขากู้มามากว่าพันล้านดอลล่าร์ โดยที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ถึง 1% นั่นหมายถึงว่า เมื่อคุณสามารถกู้เงินจำนวนมากได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก สิ่งที่คุณควรทำก็คือ นำเงินกู้เหล่านั้น ไปซื้อทรัพย์สินบางอย่างที่มันมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าเรทดอกเบี้ยเงินกู้

ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมาจนถึงวันที่เขาให้สัมภาษณ์ ณ ขณะนี้ เขากู้เงินไปแล้วร่วม ๆ $2.2 พันล้านดอล่าร์ฯ โดยที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่แค่เพียง 1.5% ต่อปี ซึ่งเงินดังกล่าวเขาได้นำไปซื้อ bitcoin ทั้งหมด โดยที่ ณ ตอนที่ bitcoin ทำราคาสูงสุดนั้น บริษัทของเขาก็มี bitcoin ที่ตีมูลค่าได้เป็น $7.5 พันล้านดอลล่าร์ฯ โดย สามารถทำกำไรได้ราว ๆ $4 พันล้านดอลล่าร์ฯ แถมหุ้นบริษัท Microstrategy ยังพุ่งจาก หุ้นละ $120 ไปเป็น $850 ต่อหุ้น(แม้ว่าตอนที่ทำเนื้อหานี้ราคาหุ้นจะตกมาอยู่ที่ราว ๆ $500 ต่อหุ้น) ซึ่งเขาสามารถทำกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ราว ๆ $8 พันล้านดอลล่าร์ฯ ภายในเวลาเพียง 12 เดือน จากการลงทุนใน bitcoin

ซึ่งผู้ที่เคยถือหุ้นและขายหุ้นของบริษัท Microstrategy เมื่อตอนราคา $120 ต่อหุ้นนั้น ได้แต่มองตาปริบ ๆ

โดยหลักการคิดของ Michael Saylor ที่ตัดสินใจลงทุนใน Bitcoin ก็คือ เขามีบริษัท Micrcostrategy ที่มีมูลค่าทั้งบริษัทราว ๆ $500 ล้านดอลล่าร์ฯ และสามารถสร้างกระแสเงินได้ราว ๆ $80 – $100 ล้านดอลล่าร์ฯ ต่อปี ซึ่งมีอัตราการเติบโตของบริษัทที่เริ่มจากศูนย์มาเป็น 10% ต่อปี แล้วจากนั้นเขาก็นำเอาบริษัทไปเป็นเสมือนวางเงินดาวน์ในการลงทุนใน bitcoin ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น $7.5 พันล้านดอลล่าร์ฯ โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 170% ต่อปี ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า เขาใช้บริษัท Microstrategy เป็น Vehicle หรือใช้เป็นยานพาหนะในการนำไปลงทุนต่อยอดในทรัพย์สินที่มีอัตราการเติบโตที่สูงอย่างใน bitcoin มันยิ่งทำให้บริษัทของเขาเติบโตเร็วขึ้นอีกหลายสิบเท่าภายในเวลาเพียงแค่ไม่ถึง 1 ปี

Resources

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *