จาก Episode 1 ทาง Michael Saylor ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า Bitcoin มันคือหนทางในการแก้ไขปัญหา โดย Bitcoin มันจะมา Fix The Money มันจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในส่วนของการเงิน
แล้ว Bitcoin คืออะไร?
อย่างที่บอกได้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ว่า Bitcoin มันเป็นระบบการเงินแรกของโลกที่ถูกออกแบบขึ้นมาจากมนุษย์ ซึ่งก่อนที่มันจะถือกำเนิดขึ้นมานั้น ในปี 2008 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกก็คือวิกฤตซับไพรม์ หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่เป็นการบริหารงานที่ผิดพลาดของนายธนาคารและพวกไม่กี่คน แต่กลับทำให้คนนับล้านคนต้องเผชิญกับวิกฤตในครั้งนี้ ซึ่งมันไม่แฟร์กับประชาชนคนทั่วไปเอาซะเลย ดังนั้นจึงมีเหล่าบรรดา Engineer ที่ช่วยกันออกแบบระบบการเงินใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา โดยอาศัยเทคโนโลยีอยู่ด้วยกัน 2 สิ่งก็คือ
- Internet – ที่ช่วยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลกได้ภายในเวลาพริบตาเดียว
- Cryptography – คือเทคโนโลยีการเข้ารหัส ที่คนภายนอกจะไม่สามารถเข้าใจ ผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสและเข้าใจความหมายได้
ซึ่งคนที่ออกแบบระบบการเงินนี้ ได้ใช้สองเทคโนโลยีนี้ในการสร้าง Ledger ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อที่จะสร้างระบบบัญชีธนาคารบนโลกไซเบอร์ โดยอาศัย Network จากเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ในช่วงแรกได้รวบรวมเครือข่ายนับร้อยคนเพื่อที่จะเปิดระบบธนาคารบนโลก cyber space เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บสะสม Money โดยที่ไม่ต้องเชื่อใจใครเลยสักคนในระบบ เพราะทุกคนในระบบอยู่ภายใต้กฎเดียวกันก็คือโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ตั้งต้นที่ถูกเขียนซอร์ดโค้ดเอาไว้ตั้งแต่วันแรก โดยที่ทุกคนสามารถร่วมตรวจสอบโค้ดนั้นได้อย่างโปร่งใส เพราะมันเป็นซอร์ดโค้ดแบบ Opensource ที่ใคร ๆ ก็สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องเชื่อใจใครหน้าไหนทั้งสิ้น เพราะระบบมันรันภายใต้โค้ดคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกัน
โดยระบบธนาคารนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีจำนวนเงินอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ ซึ่งสามารถแบ่งแยกย่อยเป็นหน่วยเล็ก ๆ ได้ถึง 8 จุดทศนิยม โดยหน่วยย่อยนั้นจะมีชื่อเรียกว่า satoshi ที่เรียกตามชื่อนามแฝงของผู้ก่อตั้ง Bitcoin นามว่า Satoshi Nakamoto ยกตัวอย่างเช่น 1 BTC = 100,000,000 satoshi เป็นต้น
ซึ่งสิ่งที่คุณควรรู้ก็คือ Bitcoin มันถูกออกแบบมาให้มีจำนวนเหรียญในระบบเพียงแค่ 21 ล้านเหรียญ BTC เท่านั้น ไม่สามารถสร้างเพิ่มขึ้นได้เกินนี้ และทุกครั้งที่การทำธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น นาย A ส่ง bitcoin ไปให้นาย B จำนวน 0.001 BTC ในระบบ Ledger มันก็จะบันทึกเอาไว้ว่าเงินไหลไปอยู่ที่ใครบ้าง ซึ่งเมื่อธุรกรรมต่าง ๆ ถูกบันทึกลงบนระบบแล้ว จะไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลนั้นได้
และนอกจากนั้นเราสามารถเก็บ bitcoin ได้เป็นร้อยเป็นพันปี โดยที่มันไม่มีการเสื่อมสลาย
ดังนั้นหากพูดโดยรวม ๆ แล้วก็คือ แนวคิดการออกแบบระบบของ Bitcoin นั้น มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็น Asset เพื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้รับการปกป้องและคุ้มครองความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบ cryptography โดยมันถูกเก็บในรูปแบบของ ledger หรือบัญชีแยกประเภทที่จะบันทึกทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อ bitcoin ย้ายจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง โดยที่ไม่สามารถใครสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ เพราะทุก ๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์นับพันนับหมื่นเครื่องทั่วโลกที่เข้าร่วม network นี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า node ที่เอาไว้เก็บข้อมูล ledger คือการเก็บข้อมูลการทำทุกธุรกรรมที่ทำสำเนาเอาไว้เหมือนกันแบบเป๊ะ ๆ ตั้งแต่ครั้งแรกในทุก ๆ เครื่อง ดังนั้น หากมีใครพยายามเข้าไปแก้ไข ledger แก้ไขตัวเลข ระบบก็จะรับรู้ทันทีว่ามันมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
และการที่จะปกป้อง Network นี้ทางผู้สร้างก็ได้ออกแบบให้มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนก็คือ
- คนที่ทำการรัน bitcoin full node เพื่อบันทึก ledger บันทึกแบบบัญชีแยกประเภท ที่เป็นประวัติการทำทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย bitcoin มันเป็น database หรือฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในโลก และมันจะไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ตามใจชอบ มันจะเป็นแบบนั้นเสมอไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- Miner คนที่ทำเหมืองขุด Bitcoin ที่ใช้การเข้ารหัสแบบ SHA-256 ที่เป็นระบบอัลกิลิทึ่ม โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้าง hash function ที่เป็นกลไกในการแปลงข้อมูล โดยการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ มาทำการเข้ารหัสเพื่อให้เกิดข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ ที่มีค่าไม่ซ้ำ และไม่สามารถแฮ็คหรือแก้ไขมันได้ขึ้นมา เพื่อปกป้อง bitcoin network ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้นับล้านเครื่องกระจายอยู่ทั่วโลก เพื่อแข่งขันกันแก้ไขสมการ โดยคอมพิวเตอร์ที่สามารถแก้ไขสมการนี้ได้ก็จะเป็นผู้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเหรียญ BTC คืนมา ซึ่งเป็นเสมือนแรงจูงใจให้ผู้คนเข้ามาร่วม network นี้ โดยแลกกับการใช้พลังงานไฟฟ้ามารันคอมพิวเตอร์ มารันสมการคณิตศาสตร์ ซึ่งเหมืองขุดก็คือระบบรักษาความปลอดภัย ที่คอยรักษา Money ที่อยู่ภายใน Ledger หรือบัญชีแยกประเภทแบบ Decentralization หรือแบบกระจายอำนาจ ที่ไม่มีใครมีอำนาจควบุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ เป็นการถ่วงดุลอำนาจที่กระจายไปทั่วโลก
- และ Lightning node ที่เป็น node ใน layer 2 ของ bitcoin ซึ่งก็เป็นแบบ Decentrazation หรือแบบกระจายศูนย์อำนาจเช่นเดียวกัน โดยหน้าที่ของมันนั้น สามารถช่วยในการเคลื่อนย้าย bitcoin ที่มีจำนวนขนาดเล็กได้รวดเร็วอย่างกับสายฟ้าแล่บ และค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมนั้นก็ถูกที่ชนิดเรียกได้ว่าเกือบฟรีอีกด้วย
ดังนั้น Bitcoin มันคือระบบการเงินแบบ Decentralized หรือแบบกระจายศูนย์ มันคือธนาคารบนโลก cyberspace ที่ไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้ ไม่มีใครทำการทุจริตหรือ corruption มันได้ มันเป็นธนาคารที่รันด้วยซอร์ฟแวร์ที่ปลอดจากการทุจริต เป็นแหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยสูงสำหรับคนทั่วโลก สำหรับทุก ๆ บัญชี ไม่ว่าบัญชีนั้นจะมีมูลค่า 10 บาท หรือ 10 ล้านบาท ก็อยู่ในระดับการรักษาความปลอดภัยเดียวกัน
โดย Bitcoin นั้นมันถูกออกแบบให้ใครก็ตามบนโลกใบนี้ ที่มีประชากรทั้งโลกกว่า 7,xxx ล้านคน สามารถเข้าร่วมได้ สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ซึ่งมีคนจำนวนกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก ที่ไม่มีแม้กระทั่งบัญชีธนาคารด้วยซ้ำ แต่หากพวกเขามี smartphone android เครื่องหลักร้อยหลักพันบาท พวกเขาก็สามารถเป็นเจ้าของ bitcoin ได้ คุณสามารถมีธนาคารบนโลก cyber เป็นของคุณเองได้ มีทรัพย์สิน ที่ไม่มีใครสามารถยึดหรือริดรอนมันไปจากคุณได้
ซึ่งเรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนถ่ายทางเทคโนโลยีของโลก ซึ่งคุณจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้จาก การเปลี่ยนฟิล์มถ่ายรูปมาเป็นรูปดิจิตอล, การเปลี่ยนม้วนฟิล์มวีดีโอมาเป็นไฟล์วีดีโอออนไลน์, การเปลี่ยนหนังสือรูปเล่มมาเป็นอีบุ๊ค, การเปลี่ยนการติดต่อสื่อสารจากอนาล็อกมาเป็นดิจิตอล
และเราก็มาถึงตาของเงินที่กำลังเปลี่ยนเข้าสู่ยุคเงินดิจิตอล โดย ณ ตอนนี้ในตลาดทองคำมีมูลค่าอยู่ที่ $10 Trillion, ตลาดทรัพย์สินมีขนาดอยู่ที่ $100 Trillion หรืออย่างตลาดสกุลงิน/currency ที่มีขนาด $100 Trillion ในขณะที่ ณ ตอนนี้ bitcoin มีขนาดตลาดอยู่ที่ราว ๆ $1 Trillion ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่า ในยุคที่มีการเปลี่ยนถ่ายการเงินเข้าสู่ยุคดิจิตอลแล้วนั้น มูลค่าตรงนี้มันมหาศาลมากแค่ไหน
ซึ่งไอเดียในการสร้าง Bitcoin นั้น มักจะถูกเปรียบเทียบให้มันเป็น Gold Digital หรือ Gold 2.0 ที่ Bitcoin นั้นสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาการเงินที่ทองคำนั้นยังมีจุดบกพร่องอยู่ไม่ว่าจะเป็น
Bitcoin ได้ออกแบบให้มีจำนวนปริมาณ supply จำกัดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ BTC เท่านั้น ไม่สามารถสร้างไปได้มากกว่านี้ แต่ในขณะที่ทองคำนั้น สามารถขุดเพิ่มขึ้นมาได้ตลอด และเหล่าบรรดาธนาคารต่าง ๆ ก็สามารถสร้างทองคำกระดาษเพื่อปั่นราคาทองคำโดยสามารถปั่นขึ้นหรือปั่นลงได้ตามใจชอบ ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทองคำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในทรัพย์สินอื่น ๆ ก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกันนั่นก็คือ เวลาที่ทรัพย์สินใดก็ตามที่เริ่มมีการปรับราคาที่สูงขึ้น ก็จะมีการผลิตมันเพิ่มขึ้น เช่น อสังหาริมทรัพย์, หุ้น, พันธบัตร และอย่างที่เรารู้กันดี เวลาที่มีการผลิตจำนวน supply ที่เพิ่มขึ้น คุณค่าในตัวมันจะลดลง
ดังนั้น Bitcoin เป็นทรัพย์สินเดียวบนโลกใบนี้ ที่เมื่อราคามีการปรับตัวที่สูงขึ้น ก็ไม่มีใครสามารถผลิตมันเพิ่มขึ้นได้
โดย Michael Saylor ได้ให้ไอเดียในการออกแบบระบบในรูปแบบของ Engineering ว่า การออกแบบระบบใด ๆ ก็ตามจะต้องมีการกักเก็บหรือรักษาพลังงานของระบบนั้น ๆ เอาไว้ให้ได้ โดยหากอุปมาอุปมัยในการออกแบบตามหลักของวิศกรกับหลักของคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องแล้วนั้น 10+10 จะต้องเท่ากับ 20 อยู่วันยังค่ำ เพราะถ้าหากออกแบบแล้วได้ว่า 10+10 = 18 นั่นแสดงว่าการออกแบบนั้นกำลังมีปัญหาอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าออกแบบอ่างอาบน้ำแล้วมันมีรอยรั่วยังไงมันก็ยากที่จะรักษาน้ำเอาไว้ได้ หรือหากออกแบบระบบไฟฟ้าถ้าไฟฟ้ามันลัดวงจรมันก็ไม่เวิร์ค นั่นคือการออกแบบระบบนั้น ๆ มันรักษาพลังงานเอาไว้ไม่ได้
และค่า Inflation หรือค่าเงินเฟ้อ มันก็เป็นการออกแบบสกุลเงิน(currency)ที่ไม่เคารพกฎการอนุรักษ์หรือรักษาพลังงานเอาไว้ เพราะถ้ามันออกแบบมาดีจะต้องไม่มีการปริ้นท์เงินเพิ่มขึ้นในระบบ
ในขณะที่การออกแบบระบบของ Bitcoin นั้นออกแบบให้มีจำนวน supply ที่จำกัด ไม่สามารถผลิตเกินจากที่กำหนดเอาไว้ได้ นั่นคือมันถูกออกแบบมาให้เคารพกฎการอนุรักษ์พลังงานเอาไว้ มันเคารพกฎคณิตศาสตร์ ซึ่งตราบใดที่ 1+1 ยังเท่ากับ 2 อยู่ล่ะก็ระบบของ Bitcoin ก็เป็นไปตามนั้น
ดังนั้นเมื่อคนเราเจอสิ่งที่บริสุทธิ์ เจอสิ่งที่โปร่งใส เจอสิ่งที่เป็นไปตามหลักความเป็นจริงอย่างถูกต้อง และสิ่งนั้นยังอยู่ได้อย่างคงทนไม่เสื่อมสลายแล้ว มนุษย์เราก็จะสามารถสร้างครอบครัว สร้างบริษัท สร้างอารยธรรมรอบ ๆ ตัวเรา
ซึ่งที่ผ่านมาคุณเริ่มจะพอเข้าใจแล้วว่าคุณค่ามักถูกเก็บในรูปแบบของ Energy ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการที่จะสร้างตึกระฟ้าคุณก็จะต้องสร้างด้วยเหล็กกล้าที่มันกักเก็บพลังงานเอาไว้อย่างเข้มข้น ทำให้เมื่อนำเหล็กกล้าไปสร้างตึกนั้นก็จะสามารถอยู่ได้นับร้อยปีโดยที่ไม่พุกร่อนหรือพังทลายลงมา
ในขณะที่หากเลือกที่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างมันก็จะมีการเสื่อมสลายเร็วกว่า เช่น เรือไม้ย่อมเสื่อสลายและพังเร็วกว่าเรือเหล็ก เพราะไม้กักเก็บพลังงานได้ไม่ดีเท่าเหล็กกล้า
คำถามก็คือ แล้วเราจะเก็บเงินเป็นแสนเป็นล้านบาทยังไงได้เป็นร้อยปีเพื่อส่งมอบให้รุ่นลูกรุ่นหลานของเราได้ ซึ่งถ้าหากคุณคิดจะเก็บเงินเอาไว้ในรูปของเงิน fiat หรือเงินดอลล่าร์แล้วล่ะก็ ในท้ายที่สุดเงินนั้นจะมูลเสีย economic energy หรือพลังงานทางเศรษฐกิจไปมากกว่า 99%
หรือหากคุณคิดที่จะเก็บเงินเอาไว้ในรูปของทองคำ ตามสถิติแล้วปริมาณ supply จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 30 ปี และนายธนาคารก็พยายามเพิ่มค่า Inflation ให้กับทองคำ ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตทองคำอาจสูญเสีย economic energy ไปมากกว่า 90% ก็เป็นได้ และไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องบังเอิญหรืออย่างไร ที่ทั่วโลกในช่วงร้อยปีที่ผ่านมานี้ ที่ทางรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกได้เคยมีการยึดทองคำจากเหล่าบรรดาประชาชนมาแล้วแทบทั้งสิ้น ดังนั้นคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ในรอบร้อยปีนี้คุณจะไม่ถูกยึดทองคำไปก่อนที่จะส่งมอบให้ถึงมือแก่รุ่นลูกรุ่นหลานได้
หรือคุณคิดที่จะลองใส่เงินเอาไว้ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสมมติว่าคุณใส่เงินไว้ 1 ล้านบาท(ซึ่งเงินแค่นี้ไม่น่าจะซื้อที่ดินผืนใดได้ในเมืองใหญ่ ๆ แต่สมมติว่าได้ละกัน) สิ่งที่คุณจะเจอระหว่างถือครองที่ดินอย่างในรัฐ Florida ทุก ๆ ปีคุณจะโดนภาษีที่ดิน 2% และค่าบำรุงรักษาปีละ 2% ดังนั้นคุณจะโดนหักไปแล้ว 4% ถ้าคิดจากเงินต้น 1 ล้านบาท มูลค่าของเงินก็จะหายไปเฉลี่ยราว ๆ 40,000 บาทต่อปี ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงร้อยปีหรอก แค่ครึ่งชีวิตคน ๆ หนึ่งมูลค่าก็หายไปเยอะแล้ว
ดังนั้นในช่วงปีที่ผ่านมาของ Michael Saylor นั้น เขาจึงต้องเริ่มมองหาว่ามีทรัพย์สินใดบ้างที่จะสามารถรักษาความมั่งคั่งทางใดได้บ้าง เพราะเขากำลังมองหา สิ่งที่เปรียบเหมือนเหล็กกล้าที่สามารถสะสมพลังเหล็ก พลังงานโลหะที่มีความเข้มข้น ซึ่ง Bitcoin นั้นก็มีการสะสมพลังงานดิจิตอลอย่างเข้มข้นในตัวมันอยู่ โดยไม่สูญเสียพลังงาน ยกตัวอย่างเช่น หากพลังงานไฟฟ้าเลือกที่จะเก็บพลังงานอย่างเข้มข้นเอาไว้ในแบตเตอร์รี่ แล้วเมื่อปล่อยแบตเตอร์รี่เอาไว้เฉย ๆ พลังงานไฟฟ้านั้นจะรั่วไหลออกไปจากแบตเตอร์รี่เฉลี่ยราว ๆ 2% ในทุก ๆ เดือน แถมในกระบวนการการผลิตไฟฟ้าก่อนจะลงบรรจุเอาไว้ในแบตเตอร์รี่นั้น จะมีพลังงานที่สูญเสียไประหว่างผลิตอีกกว่า 24% ดังนั้นถ้าคุณจ่ายค่าไฟเป็นจำนวน 1 ล้านบาท แล้วจะเก็บมันเอาไว้ในรูปของแบตเตอร์รี่แล้วล่ะก็ มันก็จะอยู่ได้ไม่นาน ดังนั้นภายในเวลาอันใกล้ เงินล้านของคุณก็จะหมดลงอย่างรวดเร็ว เพียงแค่เก็บพลังงานนั้นเอาไว้เฉย ๆ
และถ้าถามว่าจะส่งไฟฟ้าที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทจาก New York City ไปยัง Tokyo ได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เพราะทุก ๆ ระยะทางการส่งไฟฟ้า 500 ไมล์ จะสูญเสียพลังงานไปราว ๆ 6% ดังนั้น หากส่งไกลถึง 5,000 ไมล์ คุณจะสูญเสียพลังงานไฟฟ้ากว่า 60% ดังนั้นการเคลื่อนย้ายพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบโรงงานไฟฟ้าแบบนี้ไม่สามารถส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นหากเราเปลี่ยนมาเป็นการส่งพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบดิจิตอลผ่านการทำเหมือง bitcoin เพราะเหมืองขุด bitcoin นั้น สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจำนวน 1 Megawatt ไปเป็น bitcoin ที่มีมูลค่ากว่า $5 ล้านดอลล่าร์ฯ ได้ และมันสามารถกักเก็บมูลค่านั้นได้ตลอดไปโดยที่ไม่สูญเสียพลังงานในตัวมัน ทีนี้คุณก็จะสามารถส่งมูลค่าจาก America ไปยัง Japan ได้แล้วอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จะส่ง 10 บาท หรือ 10 ล้านบาท ก็มีการสูญเสียพลังงานอันน้อยนิด
ซึ่งในช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมานี้ bitcoin มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยราว ๆ 170% ต่อปี ในขณะที่ดัชนีหุ้น S&P 500 นั้นเติบโตในช่วงทศวรรษล่าสุดอยู่ที่ 14% ต่อปี ส่วนทองคำตลอดทศวรรษล่าสุดมีการเติบโตอยู่ที่ 0% ต่อปี หรือหากคุณซื้อทองคำเอาไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มันไม่มีการเติบโตเลย และยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคไซเบอร์ คุณก็ไม่สามารถใส่ทองคำลงบนสมาร์ทโฟนที่อยู่ในมือของคุณได้ และทองคำมันก็ยังถูกผูกขาดจากธนาคารและเจ้าของเหมืองขุดทอง ทองคำมันกำลังจะตาย
ดังนั้น Bitcoin มันเป็นพลังงานทางเศรษฐกิจที่บริสุทธิ์
แล้วก็จบกันไปใน EPISODE 2 แล้วมาติดตามกันในตอนต่อไปกันนะครับ
กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin & Cryptocurrency
อันดับ 1 ของไทย คนส่วนใหญ่นึงถึง Bitkub
อันดับ 1 ของโลก คนส่วนใหญ่นึกถึง Binance
*หมายเหตุ : คอนเท้นต์นี้ไม่ใช่การแนะนำในการลงทุน เป็นการจัดทำเพื่อเป็นกรณีศึกษาจาก Raoul Pal เท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาและตัดสินใจลงทุนด้วยตัวท่านเอง
Resources