Site icon Blue O'Clock

สาเหตุที่ ธนาคาร Silicon Valley Bank ล้มละลาย | Blue O’Clock Podcast EP. 51

Silicon Valley Bank Shutdown

Silicon Valley Bank เป็นธนาคารที่สองที่ล้มละลายต่อจาก Silvergate Bank ที่ปิดกิจการไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดการณ์ว่า มันอาจจะรุนแรงกว่าในวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ ที่ธนาคาร Lehman Brothers ล้มลงในปี 2008 และมันอาจจะรุนแรงกว่าวิกฤต Covid-19

โดยเนื้อหาในตอนนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากช่อง Youtube ที่ชื่อว่า All-in Podcast ที่เป็นเพื่อนนักลงทุน 4 คน ที่มานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการลงทุน โดยเฉพาะเหล่าบรรดาบริษัทสตาร์ทอัพ

ซึ่งการที่ Silicon Valley Bank ล้มลงนั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจสตาร์ทอัพนับพันราย ที่ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานภายในบริษัทของพวกเขาได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ เพราะเงินของพวกเขาติดอยู่ที่ธนาคาร Silicon Valley ถอนออกมาไม่ได้ เพราะติดอยู่ภายใต้การพิทักษ์ทรัพย์

ดังนั้นนั่นมันจึงทำให้ระบบนิเวศน์ของวงการสตาร์ทอัพตกอยู่ในอันตราย ซึ่งสตาร์ทอัพในที่นี้หมายถึงสตาร์ทอัพที่มีขนาดเล็กนับพันราย ที่มีพนักงานในบริษัทราว ๆ 10-100 คน อาจจะหายไปจากระบบนิเวศน์นี้ โดยที่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดเลย

ส่วนบริษัท Tech บิ๊กเบิ้มอย่าง Google หรือ Facebook นั้น ไม่ได้รับผลกระทบขนาดนั้น เพราะพวกเขามีเงินสดอยู่ในมืออย่างมหาศาลอยู่แล้ว

ซึ่งวิกฤตการล่มสลายของ Silicon Valley Bank ในครั้งนี้ อาจจะทำให้วงการสตาร์ทอัพหน้าใหม่หยุดหรือถอยหลังไปราว ๆ 10 ปีได้เลย

ซึ่งบริษัทสตาร์ทอัพหน้าใหม่เหล่านี้ คืออนาคตของ GDP ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จะทำให้สามารถแข่งขันประเทศคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่างประเทศจีน และประเทศอื่น ๆ ในโลกได้

และนี่ถือได้ว่าเป็นวิกฤตของธนาคารอย่างแท้จริง ที่ผู้คนส่วนใหญ่หมดความเชื่อมั่นในการฝากเงินเอาไว้ในธนาคาร SVB หรือ Silicon Valley Bank นั้น ที่ถือได้ว่าเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ติด Top 20 ของสหรัฐอเมริกา

และหน่วยงาน FDIC หรือสถาบันของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ให้ประกันเงินฝากจากความล้มเหลวของธนาคาร นั้น ก็รับประกันเงินฝากเฉพาะบัญชีมีเงินฝากไม่เกิน $250,000 เท่านั้น

โดยจำนวนเงินกว่า 50% ใน Silicon Valley Bank นั้นถูกใช้กับการร่วมลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ และร่วมลงทุนกับพวก Venture Capital ถือเป็นกลุ่มบริษัทที่ทำการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ

และก็มีบริษัท Venture Capital ที่เป็นบริษัทกองทุนนั้น พวกเขาก็ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนที่มีเงินฝากอยู่ในบัญชีมากกว่า $1M ดอลล่าร์ฯ ได้

รวมไปถึง Silicon Valley Bank นั้นยังได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่มีหลักทรัพย์มาค้ำประกันด้วย

ซึ่งนั่นก็คือเรื่องหลัก ๆ ที่ทาง Silicon Valley นั้นเกี่ยวข้องกับบริษัทต่าง ๆ ในวงการสตาร์ทอัพ

ทีนี้ เรามาค่อย ๆ ไล่เรียงเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหากันว่า จริง ๆ แล้ว มันเกิดอะไรขึ้นกับ Silicon Valley Bank กันแน่

เริ่มต้นกันที่ปัญหาอย่างแรก ที่เกิดขึ้นทันที หลังจากที่ธนาคารปิดตัวลงก็คือ เส้นทางการเงินจะถูกปิดตัวลงด้วย

ซึ่งมีเงินฝากหลายพันล้านดอลล่าร์ฯ ในธนาคารแห่งนี้ ซึ่งทำให้ผู้คนไม่มีเงินไปจ่ายค่าบิลต่าง ๆ , ไม่สามารถเข้าถึงเงินฝากในบัญชีได้, ไม่สามารถนำไปชำระเครดิตได้ ทำให้ต้องผิดนัดชำระและเสียเครดิตทางการเงิน, ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนพนักงานได้

โดยก่อนหน้าที่ธนาคารจะปิดตัวลงนั้น ทาง CEO ของ Silicon Valley ก็ได้ส่งจดหมายถึงผู้ถือหุ้นว่า ทางธนาคารจะทำการขาย US treasury หรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นมูลค่ากว่าหมื่นล้านดอลล่าร์ฯ เพื่อทำการปรับ Balance Sheet ให้สมดุล

และทำการประกาศขายหุ้นบางส่วนของตัว Silicon Valley Bank เพิ่มเติม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมหุ้นของธนาคารจึงร่วงลงกว่า -60% ในทันทีที่ตลาดหุ้นทำการเปิดการซื้อขายในวันแรก และวันที่สองก็ติดลบอีก -60%

นั่นจึงทำให้ผู้คนทั้งโลกพุ่งความสนใจมายังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Silicon Valley Bank ในทันที ซึ่งทำให้เกิดการบอกปากต่อปากของนักลงทุนและผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพทั้งหลายว่า ให้รีบถอนเงินฝากออกจากธนาคาร Silicon Valley โดยด่วนเลย

นั่นมันจึงทำให้เกิดเหตุการณ์คลาสสิคแบบธนาคารดั้งเดิมทั่วไปก็คือการเกิด BANK RUN คือการที่มีผู้คนแห่ถอนเงินฝากเป็นจำนวนมากพร้อม ๆ กัน แล้วธนาคารก็ไม่มีเงินสดมากพอให้ถอนได้ เพราะเงินสดนั้นถูกนำไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ในการลงทุนเพื่อหาผลกำไรไปเกือบหมดแล้ว

ดังนั้น ทาง FDIC หรือสถาบันของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ให้ประกันเงินฝากจากความล้มเหลวของธนาคาร นั้น ก็รีบทำการสั่งปิดกิจการของ Silicon Valley Bank ในทันทีที่เกิดเหตุดังกล่าวภายใน 48 ชั่วโมง

ซึ่งถ้าดูข้อมูลจากเมื่อสิ้นปี 2022 ที่ผ่านมานั้น Silicon Valley Bank มีหนี้สินอยู่ประมาณ $22B ล้านดอลล่าร์ฯ และมีเงินฝากของลูกค้าอยู่ที่ $173B ดอลล่าร์ หรือปลายปี 2022 นั้น Silicon Valley Bank มีหนี้สินรวมอยู่ที่ประมาณ $195B ดอลล่าร์ฯ

ซึ่งโดยปกติแล้วการทำเงินของธนาคารนั้น พวกเขาก็จะนำเงินฝากจากลูกค้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระะยาว เพื่อที่จะให้คลอบคลุมและได้กำไรจากการที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้แก่ลูกค้า ซึ่งในทางบัญชีแล้ว พวกเขาจะมีมูลค่าทรัพย์สินที่นำไปลงทุนอยู่ที่ $208B ดอลล่าร์ฯ ซึ่งมูลรวมในทางบัญชีนั้นมากกว่าหนี้ที่มีอยู่ $195B ดอลล่าร์ฯ หรือเป็นบวกอยู่ที่ประมาณ $13B ดอลล่าร์ฯ

โดยทรัพย์สินของ Silicon Valley Bank ที่มีอยู่ $208B ดอลล่าร์ฯ นั้นแบ่งออกเป็น

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีเงินสดในแบงค์ $14B และมีหลักทรัพย์ที่พร้อมขายเพื่อเป็นเงินสดทันทีอีกประมาณ $26B ก็เสมือนว่า ธนาคารจะมีเงินสดให้ลูกค้าถอนในทันทีอยู่ที่ราว ๆ $40B

ซึ่งกลับไปดูเงินฝากของลูกค้าที่ทั้งหมดมีอยู่ที่ $173B นั้น ถ้าวันใดวันหนึ่งเกิดลูกค้าจำนวนกว่า 1 ใน 4 ต้องการถอนเงินพร้อมกัน หรือคิดเป็นตัวเลขได้ที่ประมาณ $43.25B หรือในทางเทคนิคแล้วก็น่าจะพอมีให้ถอนเพียงพออยู่

ดังนั้น ปัญหาจะเกิดขึ้นกับธนาคารทันทีที่มีลูกค้าถอนเงินจำนวนมากกว่า 25% ของเงินฝากทั้งหมด จะเกิดการ BANK RUN ในทันที เพราะทางธนาคารมีเงินสดไม่พอให้ลูกค้าถอนได้ทั้งหมด

ซึ่งปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับ Silicon Valley Bank จะมีอยู่ด้วยกันสองอย่างหลัก ๆ ก็คือ

อย่างแรก – เงินฝากของธนาคารนั้นได้ลดลงอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากธรรมชาติของสตาร์ทอัพ ที่ในช่วงตั้งไข่นั้น พอได้รับเงินทุนก้อนใหญ่จาก VC หรือนักลงทุนมาแล้ว พวกเขาจะทำ Burn Money เผาเงิน หรือใช้จ่ายเงินอย่างรวดเร็วในการดำเนินกิจการให้เติบโตอย่างรวดเร็วตามสไตล์ของสตาร์ทอัพนี่เน้นการเติบโตแบบรวดเร็วในช่วงแรก

และอย่างต่อมาก็คือ – หลักทรัพย์อย่าง Bond ที่พวกเขาถือไว้เป็น Asset หรือเป็นสินทรัพย์นั้น มีมูลค่าลดลงอันเนื่องมาจากการที่ Interest Rates หรือดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มสูงขึ้น

หรือ Bond ตอนที่ซื้อไว้เมื่อตอนอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% นั้นจะมีมูลค่าลดลงราว ๆ 25% ทันที เมื่อทาง FED หรือทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ทำการขึ้นเรทอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็น 5%

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือทาง Silicon Valley นอกจากจะพบกับปัญหาเงินฝากลดลงอย่างรวดเร็วแล้วนั้น ยังพบกับปัญหามูลค่าทรัพย์สินที่ลดลงอีกด้วย

และเมื่อเงินสดลดลงอย่างรวดเร็ว ทางธนาคารก็จำเป็นที่จะต้องรีบขายทรัพย์สินที่ถือครองอยู่แบบขาดทุน เพราะขายออกก่อนถึงเวลาที่กำหนดเอาไว้

และ Silicon Valley Bank ก็คืออีกธนาคารหนึ่งที่เกิด BANK RUN ที่ผู้คนแห่กันไปถอนเงินจำนวนมหาศาลพร้อม ๆ กันอย่างรวดเร็ว จนถูกปิดกิจการลง

ซึ่งเหตุการณ์นี้ เป็นผลกระทบที่มาจากการที่ FED หรือทางธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้น ได้ทำการขึ้นเรทอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา

และการที่ทาง Sillicon Valley Bank ได้ทำการลงทุนใน Bonds ที่เป็นการลงทุนในระยะยาวถึง 10 ปี เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายรายวัน รายเดือน ที่วิ่งอยู่ตลอด มันก็ค่อนข้างเป็นการลงทุนที่เสี่ยงเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กว่าจะได้ผลตอบแทนกลับคืนมา ซึ่งอาจมองในมุมหวังผลกำไรมากเกินกว่าความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ซึ่งเป็นการการกับความเสี่ยงหรือ Risk Management ได้ไม่ดีเอาซะเลย

Resources

Exit mobile version